นวัตกรรมหลักสูตร กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น


กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

ลักษณะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน

      1. การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน

       2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชนและความต้องการของผู้เรียน

       3. การเขียนแผนการสอน

       4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

       5. การประเมินผล

ลักษณะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากหลักสูตรแกนกลาง

       1. การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน

       2. กาจจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน

       3. การเขียนแผนการสอน

       4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

       5. การประเมินผล


ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน

 

     1. ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ หรือข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว

     2. ศึกษาข้อมูลโดยการเข้าไปสำรวจจริง เป็นข้อมูลปฐมภูมิที่รวบรวมโดยตรงจากชุมชน

วิธีการสำรวจสภาพปัญหาชุมชน

1. ศึกษานโยบาย กรมการศึกษานอกโรงเรียนและหรอบเนื้อหาหลักสูตร(ขอบข่ายเนื้อหา)เพื่อกำหนดทิศทางการจัดกิจกรรม

2. ศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมของชุมชนในประเด็นต่างๆของแต่ละรายการ ดังนี้

     2.1 โครงสร้างด้านกายภาพและประวัติชุมชน : การตั้งบ้านเรือนของชุมชน / ประวัติชุมชน / สภาพภูมิศาสตร์ / การคมนาคม

     2.2 โครงสร้างด้านประชากร : รายชื่อครัวเรือน / จำนวนประชากร ชาย - หญิง , กลุ่มอายุ

     2.3 โครงสร้างด้านเศรษฐกิจ : การประกอบอาชีพ / รายได้เฉลี่ย / ทรัพยากร / การใช้แรงงาน / ระบบการไหลเวียนของทรัพยากรในครัวเรือน

     2.4 โครงสร้างทางด้านการศึกษา สังคม และวัฒนธรรม : ระดับการศึกษา / จำนวนนักเรียน ชาย - หญิง,ออกกลางคัน,เรียนต่อ / ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม / การมีส่วนร่วม / ความเชื่อ / การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

     2.5 โครงสร้างทางด้านการเมืองการปกครอง : การแก้ไขปัญหา( การรับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐ/เอกชน) / ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่

     2.6 โครงสร้างทางด้านความต้องการของชุมชน : ความต้องการด้านต่างๆ

 

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชนและความต้องการของผู้เรียน

     สภาพปัญหาของชุมชนที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นปัญหาแค่ระดับความต้องการ (Want) หรือความจำเป็น (Need) ขั้นต่อไปคือการนำสภาพปัญหาทั้งหมดมาแจกแจงจัดหมวดหมู่และพิจารณาองค์ประกอบต่างๆเช่น

     1. ความรุนแรงของปัญหา

     2. ความยากง่ายในการดำเนินการแก้ปัญหา

     3. ความเร่งด่วนของปัญหา

     4. ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน และการนำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชยน์สูงสุด

 

ขั้นตอนที่ 3 การเขียนแผนการสอน
1. การกำหนดหัวข้อเนื้อหา ( Theme ) หัวข้อเนื้อหาของการเรียนการสอน หรือชื่อของหลักสูตร ได้มาจากความต้องการที่ปรากฏในขั้นตอนที่ 2 
2. การเขียนสาระสำคัญ ( Concept ) สาระสำคัญหมายถึงบทสรุป ใจความสำคัญของเรื่อง เน้นถึงความคิดรวบยอด หลักการ ทักษะหรือ ลักษณะนิสัยที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน 
3. การกำหนดขอบเขตเนื้อหา เป็นการระบุว่าหัวข้อเนื้อหานั้นครอบคลุมและสัมพันธ์กับวิชาใดสามารถระบุจำนวนชั่วโมงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ และบูรณาการการเรียนการสอน 
4. การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทาง เป็นจุดประสงค์ที่คาดว่าผู้เรียนเมื่อเรียนจบในเนื้อหาวิชานั้นๆแล้ว จะทำอะไรได้บ้าง หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร 
5. การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง เป็นจุดประสงค์ย่อย หรือเป้าหมายของการเรียนการสอนที่ปราถนาจะให้เกิดกับผู้เรียนในการเรียนการสอนแต่ละหัวข้อเรื่องย่อยโดยมุ่งเน้นที่จะพัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้ความสามารถ ทักษะปฏิบัติ ทัศนคติและกระบวนการจัดการซึ่งนิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประยุกต์สู่การเรียนรู้หรือใช้กับชีวิตจริงได้
6. การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ดำเนินการโดยวิธีของทฤษฎีเชิงระบบ ( System Approach )
     6.1 ครูและผู้เรียน ร่วมกันรวบรวมความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนของการจัดกิจกรรมหรือ Input ( I ) แก่ผู้เรียน
     6.2 ผู้เรียน แสดงผลของความรู้ที่ได้รับไปอภิปรายหรือคิดค้นวิธีปรับ / ประยุกต์ ใช้ในวิถีชีวิตของผู้เรียน ซึ่งถือว่าเป็นขุ้นตอนของกระบวนการหรือ Process ( P )
     6.3 ผุ้เรียน แสดงผลของความรู้ หรือการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ กับชีวิต ซึ่งเป็นขั้นตอนของผลผลิตหรือ Output ( O )
     การเขียนกิจกรรมการเรียนการสอนให้เรียนตามลำดับขั้นตอน I - P - O 
7. สื่อการเรียนการสอน เป็นการระบุว่าในการเรียนการสอนตามหัวข้อเนื้อหา ( Theme ) นั้นๆ จะต้องใช้สื่ออุปกรณ์อะไรบ้าง จะได้สื่อและอุปกรณ์มาด้วย วิธีใด และระบุตามจุดประสงค์เฉพาะเป็นรายข้อ 
8. การประเมินผล เป็นการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้เรียนตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการใช้แฟ้มสะสมงานซึ่งเป็นผลการทำงานที่ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ แล้วเก็บเข้าแฟ้มสะสมงานไว้ ครูให้ผู้เรียนประเมินชิ้นงานของตนเอง โดยการเลือกชิ้นงานที่ดีที่สุดเพื่อไว้ประเมินผลต่อไป 
  
 "กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น .". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ http://pirun.ku.ac.th/ ~g4786027/  download/content/content1/content11/content112/content112.1/content112.1.2.doc  วันที่ 2 ก.พ.2552 
หมายเลขบันทึก: 240263เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2009 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท