งานเขียนตอนอยู่ ม.3 ครับ


ผมได้เขียนเล่าเรื่องวงดนตรีของผมในวารสาร "หนึ่งเดียว" ของโรงเรียน เขียนตอนอยู่ ม.3 ลักษณะการเขียนเป็นกึ่งเล่ากึ่ง documentary ครับ

เราเข้าวงได้ตอนอยู่ ป.4 หรือ ป.5 เนี่ยแหละ ความจริงเราก็ไม่อยากเล่นดนตรีหรอก แต่เล่นเพราะทนเพื่อนชวนไม่ได้ ตัวเราเองก็ชอบฟังเพลงด้วย เราก็เลยมาสมัครเล่น ตอนแรกก็มานั่งฟังรุ่นพี่เล่นกัน เกะกะมาก เสียงที่เล่นก็ดังมากด้วย ยืนอยู่หน้าโรงเรียนยังได้ยินเลย รุ่นน้องเองยังแทบไม่ได้จับเครื่องเลย มาสเตอร์ประทิน (ครูผู้ฝึกสอน) จึงกำหนดเวลาให้รุ่นน้องซ้อมวันจันทร์ พุธ ศุกร์ แล้วรุ่นพี่ซ้อมวัน อังคาร กับ พฤหัส แต่ว่าเราพยายามมาซ้อมทุกวันเพราะอยากเป็นเร็วๆ เวลามีงานรุ่นพี่ก็ชอบให้เราขนเครื่องให้ รุ่นพี่ไม่ค่อยทำอะไร ม.ประทินบอกว่าพวกนี้เล่นได้ไม่กี่คน แกไม่ค่อยชอบพวกนี้เลยและรุ่นพี่ก็ไม่ค่อยชอบ ม.ประทิน ด้วย

ไม่นานรุ่นพี่ที่อยู่ ม.3 ก็ต้องออกเพราะเขาต้องเตรียมตัวไปสอบต่อที่อื่น (ตอนนั้นโรงเรียนมีแค่ ม.3 และเป็นโรงเรียนชายล้วนครับ) ทำให้รุ่นน้องมีโอกาสใช้เครื่องมากขึ้น เราก็ได้เล่นฮอร์น (Horn) กับเพื่อนอีก 3 คน เราเล่นฮอร์นได้ไม่ดีเท่าไร จึงเปลี่ยนมาเล่นฟลุท (Flute) ตอนนั้นการซ้อมเพลงเป็นแบบที่ว่า ม.ประทินแจกโน๊ตให้ไปท่องกันเอง แล้วจึงนัดมาซ้อมรวมวง บางเพลงใช้เวลาเป็นเดือน

 ม.ประทินไม่ชอบการแข่งขัน ม.เองอยากให้เล่นคอนเสิร์ท (Concert) มากกว่าเพราะพวกเราเดิน (Marching) ไม่ค่อยดี ต่อมา ม.ประทินไม่สบาย ไม่ค่อยได้มาสอน ช่วงนั้น ม.ปรีชา บุญญะสิทธิ์ (ครูใหญ่ของโรงเรียนสมัยนั้น และเป็นที่รักของพวกเราทุกคน) ได้ไปขอร้องพี่ต๊อก (พี่บัณฑิต ชาญณรงค์) ให้มาสอนเดิน วันแรกที่พี่ต๊อกมาฝนก็ตกพวกเราจึงซ้อมกันใต้อาคารอัสสัมชัญ พี่ต๊อกสั่งให้ซ้ายหัน ขวาหัน สอนให้ตบเท้า แล้วก็บอกว่าปิดเทอมจะเริ่มสอนใหม่ พอปิดเทอมพวกเราก็มากันไม่ถึงครึ่งวงพี่ต๊อกก็ไม่ว่าอะไร ตอนนั้นพี่ต๊อกพูดจาสุภาพมากเลย พอเปิดเทอมพี่ต๊อกก็ให้ซ้อมเพลง และก็ช่วยปรับเพลง พี่ต๊อกพยายามหาเพลงใหม่ๆ มาให้เล่น พวกผมเริ่มเล่นเพลงได้ดีขึ้น จาก 1 เพลง ใช้เวลาเป็นเดือนๆ เหลือเพียง 1 เพลง ใช้เวลา 1 สัปดาห์ จากที่พี่ต๊อกอยู่ทำให้เรารู้อะไรมากมายเช่นการตั้งเสียง การเล่นเป็นคอร์ดระยะ 2-3 เดือน วงของเราดีขึ้นมาก พี่ต๊อกพยายามกระตุ้นให้พวกเราพัฒนาตัวเอง

จนกระทั่งวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ม.ปรีชา ประกาศว่าวงของเราจะลงแข่งวงโยธวาทิตของเขตการศึกษา 1 (การเข้าร่วมแข่งขันนี้น่าจะเป็นความฝันของพวกนักดนตรีในวงโยธวาทิตทุกคนในสมัยนั้นครับ) ตั้งแต่วันนั้น ม.ปรีชาก็พยายามติดต่อวิทยากรมาฝึกสอนพวกเรา พวกพี่ที่มาฝึกสอนก็มี พี่ประณต เลิศมีมงคลชัย (ปัจจุบันเป็น ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) พี่เขาสอนพวกที่เล่นเครื่องทองเหลือง และพี่เขาก็ช่วยพี่ต๊อกคุมวงด้วย พี่สมนึกก็ช่วยสอนพวกกลอง พี่ชุมพล ช่วยสอน คาริเนต (Clarinet) พี่สุรสิทธิ์ เป็นทรัมเปต (Trumpet) มือหนึ่งของมงฟอร์ต และเป็นหัวหน้าวงด้วยพี่เขามีน้ำใจมาสอนทรัมเปตของวงเรา พี่วีรยุทธก็มีน้ำใจ มาช่วยพี่ต๊อกสอนเดินและแปรขบวน (Marching and Display) พี่ประโยชน์สอน ซูซ่า (Sousa) กับดรัมเมเยอร์ พี่ถาวร สอนวิธีดูแลครื่อง อาจารย์พลากรช่วยปรับเพลงและสอนเรื่องเกี่ยวกับดนตรีด้วย อาจารย์ฑีฆา เป็นอาจารย์มาจากกรมตำรวจ อาจารย์นำเพลงไทยเดิมและเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์ "แสงเทียน" ให้ใหม่ อาจารย์ใจดีมาก อาจารย์สอนให้พวกกลองรู้จักตีกลองทอม  กับกลองทิมพานี (Timpani) ที่อาจารย์นำมาให้ตอนที่เข้าค่าย เราซ้อมแปรขบวนและพี่ประโยชน์ก็ฝึกดรัมเมเยอร์ ตอนนี้ดรัมเมเยอร์ของเราทำงานหนักกว่าเพื่อนเลย พี่ประโยชน์ยังเหลา คฑาให้ด้วย ตอนไปศรีราชา งานกีฬาเครือ (ตอนนั้น อัสสัมชัญ มี 14 โรงเรียน และจัดให้มีการแข่งขันระหว่างโรงเรียนในเครือทุกปี) เราเล่นเต็มที่เลย เราพยายามทำให้ดีที่สุด อย่างน้อยเราก็แสดงให้คนอื่นเห็นว่าเราไม่ใช่เด็กตัวเล็กๆ

ติดตามเนื้อหาที่เหลือได้จาก website ของพวกเราครับ

http://acsrband86.wordpress.com/2009/01/17/อยากให้ทุกคนรู้-โดย-flute/

หมายเลขบันทึก: 240008เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

โอโห นานมาก สงสัยต้องไปหามาบ้าง เยี่ยมจริงๆๆ

สวัสดีเพื่อน..

ตามมาอ่านบทความนี้ที่นี่อีกที...

กรุณาจ่ายตังค์ค่าช่วยพิมพ์มาซะดีๆ..

รออยู่ blog โน้นนะครับอาจารย์..

ขอเก็บไว้ในแพลนเน็ต ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

นำเรื่องที่เขียนสมัยเด็ก ๆ หรือ เขียนเล่าแนวทางความคิดอาจารย์สมัยยังเด็กกว่านี้ อ่านแล้วเก็บไว้เล่าให้ พ่อลูก ที่บ้านฟังค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ  

เรื่องเล่าแบบนี้ชอบอ่านค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท