อบรมการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐาน


ฝึกอบรมการให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐานแก่บุคลากร CUP วังน้ำเขียว

เก็บตกจากการอบรม การให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐาน

 

การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้คำปรึกษาขั้นพื้นฐาน แก่เจ้าหน้าที่ใน CUP วังน้ำเขียว ในวันที่ 26-27 มกราคมที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่สนใจและเข้ารับการอบรมมากกว่าเป้าหมาย และแต่ละคนให้ความสนใจเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้อย่างดี ขอปรบมือดังๆ ให้แก่ผู้เข้าร่วมทุกคนครับ

ในความเป็นจริง เราใช้วิธีการให้คำแนะนำ การสอนสุขศึกษาเป็นปกติในเนื้องานของเราอยู่แล้ว แต่ความแตกต่างของการให้คำแนะนำ การสอนสุขศึกษา กับ การให้คำปรึกษานั้นมีความแตกต่างกัน พอจะสรุปให้เห็นความแตกต่างได้ดังนี้

การให้คำแนะนำและการสอนสุขศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อการชี้แนะความรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้รับบริการ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับโรคหรือความเสี่ยงที่ประสบอยู่ ซึ่งสามารถตัดสิน หรือชี้ถูก ชี้ผิดได้ มีหลักฐานทางวิชาการรองรับ มีเหตุผลอ้างอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ วิธีการนี้สามารถให้บริการได้ทุกที่ ทุกเวลาหากมีความเหมาะสม ไม่เป็นความลับ บุคคลทั่วไปก็สามารถรับรู้ รับฟังได้

ส่วนการให้คำปรึกษา มีกระบวนการ ขั้นตอนเฉพาะ และส่วนใหญ่จะให้บริการเฉพาะบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีสภาพปัญหาคล้ายๆ กัน (การให้การปรึกษาแบบกลุ่ม) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจสภาพปัญหา ค้นหาศักยภาพของผู้รับบริการจนสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการเผชิญปัญหาได้อย่างเหมาะสม ใช้การสื่อสาร อาศัยสัมพันธภาพที่ดีต่อกันโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เน้นเรื่องอารมณ์ ความรู้สึก มีความเข้าใจ เห็นใจต่อสภาพปัญหาของผู้รับบริการ ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล และเป็นความลับ ผู้ให้คำปรึกษาจะไม่เอาทฤษฎี ความรู้ และความรู้สึกไปตัดสินเขา ไม่ตัดสินว่าอะไรผิด อะไรถูก แต่ผู้ให้คำปรึกษาต้องนำเขาค้นหาศักยภาพของเขาเพื่อเผชิญกับปัญหานั้นๆ ด้วยตัวของเขาเอง เขาเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาของเขาเอง

ขั้นตอนในการให้คำปรึกษา มี 5 ขั้นตอน สรุปสั้นๆ ได้ดังนี้

1.      การสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความไว้วางใจ และร่วมมือในการปรึกษา

2.   การตกลงบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจกระบวนการให้การปรึกษาและมีส่วนร่วม รวมทั้งเกิดการเรียนรู้ และทำให้การช่วยเหลือสัมฤทธิ์ผล โดยตีกรอบว่าจะคุยกันเรื่องอะไร ใช้เวลาเท่าไร บทบาทหน้าที่ของผู้ให้ และผู้รับเป็นอย่างไร  ประโยชน์ที่จะได้รับมีอะไร และจะรักษาความลับหรือเปิดเผยอะไรกับใครได้บ้าง

3.   สำรวจ ทำความเข้าใจปัญหา สาเหตุ ความต้องการของผู้รับบริการ เป็นขั้นตอนที่ผู้ให้คำปรึกษาจัดเรียงและเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการสำรวจปัญหาร่วมกับผู้รับบริการ เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพปัญหาที่แท้จริงอย่างกระจ่างแจ้ง เพื่อเป็นแนวทางในขั้นตอนการวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป

4.   การแก้ไขปัญหา เป็นขั้นตอนการจัดลำดับความสำคัญ การพิจารณาทางเลือก ค้นหาศักยภาพของผู้รับบริการ มีการให้ข้อมูล การเสนอแนะเพิ่มเติม และการให้กำลังใจ

5.   การยุติการให้คำปรึกษา เพื่อยุติการให้การปรึกษาแต่ละครั้ง หรือยุติเพื่อสิ้นสุดการให้ความช่วยเหลือ เราจะยุติเมื่อหมดเวลา, เกินขอบข่ายการให้ความช่วยเหลือทางจิตใจ, เกิดภาวะพึ่งพิง, สถานการณ์อาจก่อให้เกิดอันตราย ผู้รับคำปรึกษาไม่ให้ความร่วมมือใดๆ ทั้งสิ้น หรือเมื่อเกินขีดความสามารถของผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งอาจต้องมีการส่งต่อให้ผู้ที่มีความสามารถมากกว่า

การให้คำปรึกษานอกจากจะนำไปใช้ในการให้บริการแก่ผู้ป่วย ญาติที่มาขอรับบริการอย่างเป็นทางการแล้ว เราสามารถประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ กับการประสานงาน และพัฒนากระบวนการคิดอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 239555เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2009 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ดีจังค่ะ ครูแตนเป็นครูอนามัยโรงเรียนสามารถนำวิธีการให้คำปรึกษาไปใช้ได้ ทุกวันนี้สังคมเสื่อมลงเพราะครอบครัวไม่เป็นครอบครัว พ่อแม่ต้องไปทำมาหากินต่างจังหวัด ลูกๆ ต้องอยู่กันเอง บางคนก็อยู่กับป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย แล้วแต่สภาพ เด็กๆ ต้องตัดสินใจทุกเรื่องด้วยตนเอง ใครมีภูมิ หรือบุญมากหน่อยก็เดินถูกทาง บางคนเชื่อเพื่อน เพื่อนพาไปไหนก็ไป ปัญหามากมาย ขอบคุณคะ

ขอบคุณครับ ครูแตน

นักเรียนของคุณครูโชคดีจังที่มีคุณครูคอยเป็นที่ปรึกษาให้

ถ้าเขาค้นพบเป้าหมายในชีวิตของเรา และค้นหาศักยภาพของตัวเองได้

เขาคงเอาตัวรอดในสังคมทุกวันนี้ได้ครับ

สวัสดีค่ะ

- ตามมาชื่นชมงานดี ๆ ค่ะ เป็นกำลังใจค่ะ

- การให้คำปรึกษา เทคนิคที่ใช้บ่อย ๆ คือ silent นิ่งสงบความเคลื่อนไหว แต่เปล่าหรอกค่ะ คิดไม่ออกต่างหาก อิ อิ อิ ล้อเล่นค่ะ

ขอบคุณครับ

ก็มีบ้าง นึกอะไรไม่ออก ก็บอกใช้ทักษะการเงียบ

เหนื่อยมั๊ย ซ้อมอุบัติเหตุหมู่ที่โนนไทย

ขอบคุณอาจารย์นาตยา ทฤษฎิคุณ ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 นครราชสีมา

อาจารย์ดรุณี พัฒนขจร และอาจารย์กังสดาล จิรอุไรพงษ์ จากโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ที่เสียสละเวลามาให้ความรู้และฝึกปฏิบัติให้พวกเราครับ

เจ้อ้อยครับ

มีไฟล์เกี่ยวกับ RQ ส่งมาให้ศึกษาบ้างนะครับ จะได้เผยแพร่และนำมาใช้บ้าง

หรือจะเป็น Co.wangnamkheaw Version 2 ก็ดีนะครับ

สวัสดีค่ะ

- ตามมาอีกแย้วค่ะ

- ไม่เหนื่อยหรอกค่ะ แค่ทำตามที่เขาบอกเท่านั้น 555 ล้อเล่นค่ะ

- ทำอะไรทำด้วยใจ สนุกไปค่ะ

คุณเพชรน้อย

ดีจังน๊อ ทำแล้วสนุก ก็อยากจะทำอีก ไม่รู้เบื่อ เหนื่อยนักพักก็หาย

จะ Re-Acc เมื่อไหร่ครับ

หนูเข้าอบรมค่ะ สนุกมากๆเลย ได้ทดลองเป็น Case เป็นผู้ให้คำปรึกสลับกัน ได้แก้แค้นกันเองระหว่างกลุ่ม บางคน in มากๆเลยค่ะร้องไห้สมบทบาทมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท