การจัดทำแผนวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ (ตอนที่ 2)


แนวคิดการจัดทำแผนวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง

ทีมเจ้าหน้าที่ภาคีระดับอำเภอ จัดเวทีการเีรียนรู้ร่วมกับวิสาหกิจชุมชน เพื่อกำหนดแผน/แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน โดยนำข้อมูลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ประกอบกับข้อมูลสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

สิ่งสำคัญ คือ ทีัมเจ้าหน้าที่ภาคีระดับอำเภอจะต้องกระตุ้นให้วิสาหกิจชุมชนได้ตระหนัก และเล็งเห็นความสำคัญของแผนวิสาหกิจชุมชนต้องเกิดจากความต้องการของวิสาหกิจชุมชน ไม่ใช่แผนที่เกิดจากการชี้นำของเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นแผนที่สามารถแก้ไขปัญหาและัพัฒนาศักยภาพกิจการของวิสาหกิจชุมชนได้อย่างแท้จริง ในลักษณะของการพึ่งตนเอง คือ การปรับแนวคิดของวิสาหกิจชุมชน จากการรอคอยเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นแนวคิดที่จะใช้ทุนความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตนมีอยู่มาใช้ในการดำเนินงาน กล่าวคือ ให้เกิดการช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด เกิดจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของ เกิดการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบในการดำเนินกิจการ โดยให้เริ่มจากกิจการที่เล็กๆ เมื่อเข้มแข็งแล้วจึงขยายกิจการให้ใหญ่โตต่อไป และหากประเด็นใดที่ยากเกินกำลังหรือความสามารถของวิสาหกิจชุมชน ที่จะดำเนินการได้ ให้เจ้าหน้าที่คอยเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และประสานหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเป้าหมายตามแผนที่กำหนด ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะนำไปสู่ความยั่งยืนในที่สุด

หลักการและแนวทางเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ตามหลักทางสังคมวิทยา มี 5 ประการ คือ

(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)

1. การพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยี หมายถึง การมีปริมาณและคุณภาพของเทคโนโลยีทางวัตถุ เช่น เครื่องไม้ เครื่องมือ เครื่องจักรกล และเทคโนโลยีทางสังคม เช่น การจัดวางโครงการ การจัดการ เป็นต้น การรู้จักใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

2. การพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ หมายถึง ความสามารถในการทำมาหากิน เลี้ยงชีพที่มีความมั่นคงสมบูรณ์พูนสุขพอสมควร หรืออย่างมีสมดุล

3. การพึ่งตนเองได้ทางทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง ความสามารถในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เิกิดประโยชน์สูงสุด และความสามารถในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ดำรงอยู่ ไม่ให้เสื่อมเสียไปจนหมดสิ้น หรือไม่ให้เสียสมดุลธรรมชาติ

4. การพึ่งตนเองได้ทางจิตใจ หมายถึง การมีสภาพจิตใจที่กล้าแข็ง เพื่อที่สามารถต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทั้งการเลี้ยงชีพ การพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้า การยึดมั่นปฏิบัติตนตามหลักทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา

5. การพึ่งตนเองได้ทางสังคม หมายถึง การที่คนกลุ่มหนึ่ง มีความเป็นปึกแผ่นเหนียวแน่น มีผู้นำที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำกลุ่มคนเหล่านี้ให้ดำเนินการใดๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้วยตนเอง หรือ สามารถ หาความช่วยเหลือจากภายนอกเข้ามาช่วย ทำให้ชุมชนช่วยตนเองได้

(เอกสารประกอบคำบรรยาย)

ส่วนบริหารจัดการงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

....

สำหรับกิจกรรมและรูปกิจกรรมของจังหวัดนครสวรรค์จะนำเสนอในตอนต่อไปครับ...

 

 

หมายเลขบันทึก: 239378เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2009 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท