การจัดการเรียนรู้


การบริหาร

การบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเกิดขึ้นได้ในสองลักษณะ คือ
1. การเปลี่ยนแปลงที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอก (Outside – In) หรือจากการบริหารแบบบนสู่ล่าง (Top- Down)
2. และการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลจากปัจจัยภายในของโรงเรียนเอง (Inside –Out) หรือจากรูปแบบการบริหารแบบล่างขึ้นบน ( Bottorn –Up )

        ในการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนทัศน์เก่าสู่กระบวนทัศน์ใหม่นั้นผู้บริหารต้องเจอกับสิ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance of Changes) ที่แสดงโดยเปิดเผยหรือไม่เปิดเผย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของเปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งต่อต้านที่ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอารมณ์หรือพฤติกรรมของคนในองค์กร ผู้บริหารต้องให้ความเอาใจใส่เพื่อหาทางขจัดหรือลดให้เหลือน้อยลง

การที่จะทำให้การต่อต้านหมดไปนั้น ผู้บริหารอาจกระทำโดย
1. ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงแก่ครูให้ชัดเจนและต่อเนื่อง
2. การพัฒนาระบบติดต่อสื่อสาร การให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ
3. การสร้างความหวังในการเปลี่ยนแปลงและลดความหวั่นวิตกในสถานะที่จะสูญเสียไป
4. ผู้บริหารที่จะต้องมีความตื่นตัวและมีบทบาทในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง
5. ผู้บริหารจะต้องไม่มุ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างแยกส่วน ต้องคำนึงการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ (System) ทั้งระบบโครงสร้าง ระบบเทคโนโลยี ระบบที่เป็นบุคคล และระบบที่เป็นวัฒนธรรมองค์กร
6. ผู้บริหารไม่ควรมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่เป็นอยู่เดิม ควรให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ขึ้นด้วย เพราะการเกิดสิ่งใหม่ๆเป็นสภาพที่พึงประสงค์ขององค์กรแห่งการเรียนรู้

 

หมายเลขบันทึก: 239132เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท