นวัตกรรมหลักสูตร "เรารักบ้านเกิด"


หลักสูตรท้องถิ่น "เรารักบ้านเกิด"

ผลงานหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม

(ONE SCHOOL ONE INNOVATION : OSOI)

รางวัลระดับเหรียญเงินของคุรุสภา

ประจำปี ๒๕๔๙

เรื่อง

การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

เรารักบ้านเกิด

โรงเรียนบ้านหนองมะม่วง  

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต ๒

            การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง เรารักบ้านเกิด เป็นความมุ่งมั่นที่โรงเรียนต้องการที่จะหล่อหลอมสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่โรงเรียนได้ศึกษาและพัฒนาตามลำดับต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๔  เริ่มจากการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นเรื่องราวต่างๆตามบริบทของแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา สภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและชุมชนสู่การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามแนวทางการการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔   (Basic education curriculum)     

ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งจะต้องพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (School curriculum) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดประมวลความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน วิถีชีวิตในชุมชนและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันอย่างมีความสุขบนพื้นฐานแห่งความพอเพียง      รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

 

ô ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง สพท.นฐ.เขต๒

     

 

บทสะท้อนที่เกิดจากการพัฒนานวัตกรรม

หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

เรื่อง เรารักบ้านเกิด

การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง เรารักบ้านเกิด เป็นผลงานนวัตกรรมด้านหลักสูตร ที่โรงเรียนได้วิจัยและพัฒนาจากฐานความคิดการพัฒนาหลักสูตรที่ผสมผสานระหว่างประสบการณ์การปฏิบัติของครูผู้สอนกับ           การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management)  ด้านการพัฒนาหลักสูตรแบบ        อิงมาตรฐาน (Standard – Based  Curriculum) ตามแนวคิดของ เกลทธอร์น  (Allan  A  Glatthorn) ภายใต้พื้นฐานกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research “Deming cycle : PDCA )

ดำเนินการศึกษาและพัฒนาระหว่างปีการศึกษา ๒๕๔๘ - ๒๕๔๙ มีการออกแบบการพัฒนานวัตกรรม จำแนกเป็น ๔  ขั้นตอน ประกอบด้วย

                ขั้นที่ ๑ การวางแผน : PLAN  ได้แก่

๑. การเตรียมความพร้อม

 C สำรวจวิเคราะห์สภาพปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น

 C ระดมความคิดเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตร

 C  แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร

๒. การวางแผนพัฒนาหลักสูตร  

  C ศึกษาสภาพชุมชนและแหล่งการเรียนรู้

  C ศึกษาเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา/และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔   

   C การออกแบบร่างหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

ขั้นที่ ๒ การดำเนินการ : DO  ได้แก่

๑. การดำเนินการพัฒนาหลักสูตร

  C กำหนดหัวเรื่อง(Theme) และประเด็นการเรียนรู้

   C วิเคราะห์ความสอดคล้องของสาระและมาตรฐาน

   C กำหนดขอบข่ายเนื้อหาสาระการเรียนรู้

   C ออกแบบการเรียนรู้

  C  จัดทำแผนการเรียนรู้รายหน่วยการเรียน

   C จัดทำคำอธิบายรายวิชา , คำอธิบายรายหน่วย

.  การกำหนดแนวการจัดการเรียนรู้

 C กำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน

 C กำหนดโครงการและกิจกรรมสนับสนุน      การเรียนการสอน

 C กำหนดแนวทางการจัดหาและพัฒนาสื่อ      การเรียน

 C กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล       การเรียน

๓. การดำเนินการใช้หลักสูตร

   C จัดการเรียนการสอนตามแผนรายหน่วย   การเรียน

 C จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน         รายหน่วย

ขั้นที่ ๓ การตรวจสอบ : CHECK   ได้แก่

 C นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินการใช้หลักสูตร

C ตรวจสอบและประเมินผลการใช้หลักสูตร

ขั้นที่ ๔ การปรับปรุงแก้ไข  : ACTION     ได้แก่

C วิเคราะห์/ สรุปผลการดำเนินงานการใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

C สะท้อนความคิดเพื่อการปรับปรุงหลักสูตร   โดยจัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)

C การทบทวนและปรับปรุงหลักสูตร

5

                หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาครั้งนี้ ส่งผลให้ครูผู้สอนได้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหล่อหลอมสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่ครูได้มีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้มาบ้างแล้วผสมผสานกับหลักการพัฒนาหลักสูตรเชิงวิชาการ โดยการตรวจสอบและปรับเข้าสู่มาตรฐานหลักสูตรช่วงชั้น ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ จำแนกเป็น ๘ หน่วยการเรียนรู้บนความพอเพียงด้วยบริบทและสภาพปัญหาด้านบุคลากร  ได้แก่

    หน่วยที่ ๑   ประชาธิปไตยในโรงเรียนและชุมชน

    หน่วยที่ ๒   วิถีพุทธ...วิถีธรรม

    หน่วยที่ ๓    การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและ

                       ประเพณีท้องถิ่น

     หน่วยที่ ๔    เกษตรพอเพียง

     หน่วยที่ ๕    คติ ความคิด ความเชื่อในชุมชน

     หน่วยที่ ๖    งานสานสร้างสรรค์

     หน่วยที่ ๗    สมุนไพรในท้องถิ่น

     หน่วยที่ ๘    รู้รักษ์...พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

      

 

แนวการจัดการเรียนรู้

คณะกรรมการดำเนินงานจัดทำหลักสูตรของโรงเรียน  ได้ร่วมกันกำหนดแนวการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสอนแบบรวมชั้นเรียน (ช่วงชั้น)และการสอนแบบ Group  Based  Learning โดยจำแนกนักเรียนเป็นกลุ่มละ ๔-๕ คน เพื่อศึกษาเรียนรู้และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  รวมถึงการนำแนวคิดการสอนแบบ ๕ Ps ที่โรงเรียนได้สังเคราะห์และพัฒนาขึ้นเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง (ยุทธนา  ปฐมวรชาติ  ๒๕๔๘ : ๑๑)  การดำเนินการจัดการเรียนการสอนมีขั้นตอนที่สำคัญ ประกอบด้วย

 P : Pre-Learning  (ขั้นก่อนการเรียนรู้) เป็นขั้นตอนเริ่มต้นจากการแจ้งจุดประสงค์และขอบข่ายการเรียนรู้ในหน่วยการเรียน  มีการสอบถามความต้องการ ความสนใจเพิ่มเติมของนักเรียน เพื่อนำไปปรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียนโดยใช้เทคนิคคำถามที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้ หรือคำถามที่นำเข้าสู่บทเรียน รวมถึงการทดสอบก่อนเรียน

P : Presentation (ขั้นนำเสนอบทเรียน) เป็นขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการที่ครูนำเสนอบทเรียนใหม่โดยให้นักเรียนศึกษาข้อมูล / ความรู้ / ใบงาน ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เป็นกลุ่มย่อย จากนั้นให้นักเรียนสรุปความรู้ และนำเสนอแนวคิด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนเพื่อเป็นฐานความคิดสู่การศึกษาค้นคว้าต่อไป

P : Participation  (ขั้นเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม) โดยครูเชื่อมโยงและขยายการเรียนรู้สู่สากลและท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในสาระการเรียนรู้โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้ในรูปแบบของใบงาน ใบกิจกรรม  จากนั้นครูจะซักถามความรู้ที่นักเรียนได้รับและให้นักเรียนร่วมกันวางแผนการเรียน   รวมถึงครูจะเชื่อมโยงและขยายการเรียนรู้สู่สากลและท้องถิ่นโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตาม (ใบงาน/ ใบความรู้ / ใบกิจกรรม) จากนั้นครูซักถามความรู้ที่ได้รับ และให้นักเรียนร่วมกันวางแผนการเรียนต่อไป  โดยให้นักเรียนร่วมกันศึกษาเรื่องที่เรียนในสภาพจริงจากแหล่งเรียนรู้  โดยใช้กิจกรรมสำรวจชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ได้รับจากประสบการณ์การเรียนรู้

6

P: Practice (ขั้นการเรียนรู้โดยฝึกปฏิบัติ / สร้างสรรค์ผลงาน) เป็นขั้นที่มุ่งให้นักเรียนขยายประสบการณ์การเรียนรู้สู่สาระการเรียนรู้อื่นๆ ฝึกปฏิบัติและสร้างสรรค์ผลงาน / นำความรู้ไปใช้ในวิถีชีวิตจริง ด้วยกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เช่น (การสร้างงานศิลปะ / การเขียนสร้างสรรค์ / ฝึกการดำเนินงานตามขั้นตอน  / ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ  ค้นคว้าเพิ่มเติม  ฯลฯ)  

P :  Performance  Assessment  (ขั้นประเมินผลการเรียนรู้)  เป็นขั้นตอนที่ให้นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้ประจำหน่วย โดยนำเสนอเป็นแผนผังความคิด  และให้นักเรียนนำเสนอผลการเรียนรู้ที่ได้รับ / หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆโดยเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ถ่ายทอดสู่ผลงานด้านศิลปะ ด้านภาษา  ด้านคณิตศาสตร์ หรือผลงานเชิงสร้างสรรค์องค์รวม เช่น สมุดภาพ หนังสือเล่มเล็ก   การทำโครงงาน Mini project  เป็นต้น โดยครูจะใช้การประเมินผลจากการตรวจผลงาน / สังเกตการณ์ปฏิบัติของนักเรียน / สัมภาษณ์ความคิดเห็น ฯลฯ  รวมถึงการทดสอบหลังเรียน (Posttest)

นอกจากนี้ ในการบริหารจัดการหลักสูตรยังได้มีการผสมผสานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมเสริมหลักสูตร) ที่สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำสัปดาห์  เช่น  กิจกรรมวันสำคัญ  กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน   กิจกรรมวิถีพุทธ  กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น 

โรงเรียนจัดการเรียนการสอนทุกวันศุกร์ เวลา ๑๓.๓๐น. ๑๕.๓๐น. ผลที่ได้รับนอกจากนักเรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับท้องถิ่นแล้ว  ยังช่วยส่งเสริมให้ครูได้ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน  จากเดิมสอนแต่ในห้องเรียนมาสอนนอกห้องเรียนมากขึ้น  นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเสริมโอกาสให้ชุมชนได้ข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้นส่งผลให้การดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรมีความเป็นระบบยิ่งขึ้น  

ผลสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนา

บทสะท้อนจากการพัฒนาหลักสูตร ครั้งนี้สร้างคุณค่ายิ่งต่อการสานฐานปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยังยืนให้มีความเป็นรูปธรรมสูงยิ่งขึ้นยิ่งก้าวหนึ่งของทศวรรษแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง  นักเรียนมีคุณภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รักและภาคภูมิใจท้องถิ่นบ้านเกิด ส่งผลให้โรงเรียนมีผลการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน     รอบสอง เมื่อวันที่ ๑๙-๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา ในมาตรฐานที่ ๑๓  สถานศึกษามีหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมากได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ จากสมศ. และได้รับการยอมรับจาก สมศ.ว่าเป็นผลงานที่เป็นแนวคิดเชิงปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice) ที่ควรต่อยอดและนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนและแก้ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรของโรงเรียนให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นรวมถึงเผยแพร่ขยายผลในโอกาสต่อไป

โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านเกิดหลังที่สองของผู้เรียนที่จะช่วยปลูกฝังและพัฒนาให้นักเรียนพัฒนาเติบโตขึ้นเป็นเยาวชนคนเก่ง  คนดี             มีความสุข มีความรักและภาคภูมิใจท้องถิ่น      บ้านเกิด   ผลแห่งความพยายามในการพัฒนานวัตกรรมด้านหลักสูตรในครั้งนี้  นอกจากจะเป็นการแสวงหาแนวทางการสร้างพลังขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรของโรงเรียนเป็นฐานแล้ว ยังช่วยให้บุคลากรของโรงเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และได้สร้างแก่นพลังขุมความรู้ด้านหลักสูตรสถานศึกษาในอีกแง่มุมหนึ่ง ที่หลายๆโรงเรียนก็สามารถดำเนินการให้มีประสิทธิผลได้เช่นกัน

   เอกสารอ้างอิง

               กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารประกอบ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๔๔. แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  กรุงเทพมหานคร :  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๕.

                โรงเรียนบ้านหนองมะม่วง.รายงานการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. ประจำปีการศึกษา 2546. เอกสารลำดับที่ ๕/๒๕๓๗.

ยุทธนา   ปฐมวรชาติ.การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น : แนวคิดเชิงปฏิบัติที่เป็นพื้นฐานสำคัญสู่การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา.  วารสารวิชาการปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕   (พฤษภาคม ๒๕๔๕) ๑๑-๑๘

                  ยุทธนา   ปฐมวรชาติ. รายงานการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง         เรารักบ้านเกิด  เอกสารโรงเรียนบ้านหนองมะม่วง   ลำดับที่  ๓/๒๕๔๘.

                 Glatthorn et.al.  Performance  Assessment and Standards – Based Curricular.  Eye  on

หมายเลขบันทึก: 239128เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท