นวัตกรรมการเรียนรู้


หลักสูตร

 

 

การเรียนรูภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม

ภาษาธรรมชาติ (Whole Language) เป็นคําที่พบครั้งแรกในหนังสือภาพของเด็กที่เขียนโดย จอห์น อามอส โคมินิอุส ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ (กู๊ดแมน : ๒๕๑๓) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่เหมือนย่อโลกไว และภาษาธรรมชาตินั้นเต็มไปด้วยภาพสิ่งต่าง ๆ - ชื่อ - คําอธิบายสิ่งเหล่านั้น ส่วนความหมายของภาษาธรรมชาติของโคมินิอุส จะไม่เหมือนความหมายในปัจจุบันเสียทั้งหมด แต่ก็ได้ชี้ให้เห็นลักษระเด่นสําคัญที่คํานึงถึงวิธีการเรียนรู้แบบเด็ก ๆ ด้วยการใช้ภาษา เช่นเดียวกับปัจจุบันที่เราใช้นี้เอง โคมินิอุสเชื่อว่า เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆ ไดด้วยการนําเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยูแล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมไดโดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจําวันของเด็ก

            นักทฤษฎีสําคัญที่ให้ความเข้าใจเรื่องภาษาธรรมชาติ

ดิวอี้ (๒๔๘๑ , ๒๔๘๖) ไดกล่าวถึงการเรียนรู้ภาษาของเด็กก่อนการพัฒนาเข้าสูการใช้ภาษาอย่างถูกต้องตามหลักภาษา (อารี สัณหฉวี : ๒๕๓๕) ว่าเกิดจากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือกระทําด้วยตนเอง (Learning by doing) และได้สร้างทฤษฎีที่เป็นกุญแจสํ าคัญของความคิดเรื่อง พลังของการสะท้อนความคิดต่อการสอนของครู (Reflective teaching) ที่ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่องในหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ

เพียเจท(๒๔๙๘) ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการสอนภาษาธรรมชาติ โดยกล่าวว่า เด็กจะเรียนรู้จากกิจกรรมโดยการเคลื่อนไหวของตนเอง จากการได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมและสร้างองค์ความรูขึ้นภายในตนกระบวนการเรียนรู้มิใช่เกิดจากการรับเข้ (Passive) แต่เพียงอย่างเดียวเด็กจะเป็นผู้กระทําการเรียนรู (Active) ในการคิดด้วยตนเอง การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่น จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทําร่วมกันและเป็นรายบุคคล

ไวกอตสกี (๒๕๒๑ , ๒๕๒๙) ไดกล่าวถึงการเรียนรู้ภาษาของเด็กว่าเกิดขึ้นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อ แม เพื่อน ครู และอิทธิพลของบริบทสิ่งรอบตัวเด็ก การช่วยเหลือและลงมือทําเป็นขั้นตอน ผ่านการเล่นและกิจกรรม ช่วยให้เกิดการเรียนรูภาษาผานการใช้สัญลักษณ

ฮอลลิเดย (๒๕๑๘) ได้กล่าวถึงพลังของบริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู และการใช้ภาษาของเด็ก การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้อง เด็กจะเป็นผู้ใช้ภาษาจากการเรียนรูทุกสิ่งผ่านภาษา และเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อม ๆ กัน

กู๊ดแมน (๒๕๑๓) ได้รับการยกย่องในฐานะผู้บุกเบิกแนวการสอนภาษาแบบองค์รวมจนมีผู้ให้ความสนใจนําความคิดไปใช้ในประเทศต่าง ๆ และมีผู้ใหการสนับสนุนเผยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงป .. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา เขากล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสําคัญสําหรับชีวิตเด็ก เด็กตองเรียนรู้ภาษา และต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู ครูต้องตระหนักในความสําคัญนี้

          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach) มีวิวัฒนาการมาจากหลายศาสตร และหลายแนวคิดในกลุ่มนักภาษาศาสตร นักสังคมวิทยา นักจิตวิทยาพัฒนาการและการเรียนรู แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นปรัชญาแนวคิดไม่ใชวิธีการสอนภาษาอย่างที่เข้าใจผิดกันเพราะจากแนวคิดนี้ ครู พ่อ แม่หรือผู้ใหญ่สามารถนําไปสู่การสอนด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย

 

 

หมายเลขบันทึก: 239119เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท