หลักประกัน


หลักประกัน คือ หลักเพื่อความมั่นคง,เงิน,หลักทรัพย์ หรือบุคคล ที่นำมาเพื่อประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย หรือประกันการชำระหนี้ ซึ่งการที่จะเป็นคู่ค้ากับส่วนราชการ หลักประกันก็สำคัญเช่นกัน
    หลักประกัน ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ ประกอบไปด้วยความหมาย
2 ความหมาย คือ 1. หลักประกันเพื่อความมั่นคง และ 2. เงินสด, หลักทรัพย์ หรือบุคคล ที่นำมาประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย หรือประกัน การชำระหนี้ ซึ่งในการปฏิบัติงานตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535
เราจะต้องใช้หลักประกัน เพื่อให้ผู้เสนอราคา/ผู้รับจ้าง/ ผู้ขาย ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ส่วนราชการได้กำหนดไว้ เพราะหากบิดพริ้ว ไม่ทำตาม สิ่งที่ส่วนราชการ จะทำได้คือการริบหลักประกันทั้งหมด หรือบางส่วน ตามส่วนของ
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับส่วนราชการ ถ้าเช่นนั้น เราอาจให้ความหมายของหลักประกันตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุได้ว่า “หลักประกัน เพื่อให้คู่ค้าของส่วนราชการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้”
     
ประเภทของหลักประกันที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุ
      จากการศึกษาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
เราจะได้พบหลักประกัน อยู่ 4 ประเภท คือ
    1. หลักประกันผลงาน
2. หลักประกันซอง
3. หลักประกันสัญญา
4. หลักประกันการรับเงินค่าจ้างหรือค่าพัสดุ
     
วัตถุประสงค์/ภาระการค้ำประกัน
     
    - หลักประกันผลงาน
ใช้เพื่อการประกันผลงานที่ปรึกษา โดยหักเงินที่จ่ายแต่ละครั้ง ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกิน
ร้อยละสิบ ของเงินค่าจ้าง หรือจะใช้หนังสือค้ำประกัน ของธนาคารในประเทศก็ได้ (ระเบียบฯ ข้อ 93)
- หลักประกันซอง
ใช้เพื่อเป็นหลักประกันในการยื่นซองเสนอราคา การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคา ซึ่งระเบียบฯ
ข้อ 142 ได้กำหนดว่า ให้กำหนดเป็นจำนวนเงินเต็ม ในอัตราร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาพัสดุ หรือราคาจ้างที่จ้างในครั้งนั้น โดยนำมามอบให้กับคณะกรรมการ รับและเปิดซองประกวดราคา
ในวันยื่นซองประกวดราคา แต่หากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็น ผู้เสนอราคาไม่ต้องวางหลักประกัน
- หลักประกันสัญญา
ใช้เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้ ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง จะนำมามอบให้แก่ผู้ซื้อ/ผู้ว่าจ้าง ณ วันทำสัญญา หลักประกันสัญญานี้ ระเบียบฯ ข้อ 142 ได้กำหนดว่าให้กำหนดเป็นจำนวนเงินเต็ม ในอัตาร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาพัสดุ หรือราคาที่จ้างตามสัญญา แต่หากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
เป็นคู่สัญญา ไม่ต้องวางหลักประกัน
- หลักประกันการรับเงินค่าจ้างหรือค่าพัสด
ใช้เพื่อเป็นหลักประกันการรับเงินค่าจ้างหรือค่าพัสดุ ที่ผู้รับจ้างหรือผู้ขาย ได้รับไปก่อนการตรวจรับงานจ้าง
หรือตรวจรับพัสดุ ซึ่งกำหนดให้ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนดเท่านั้น
     
ความเหมือน
      ความเหมือนกันของหลักประกันทั้ง 4 ชนิดข้างต้น ได้แก่
1. สามารถนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศมาค้ำประกันได้
2. การคืนหลักประกัน ส่วนราชการจะคืนหลักประกันให้เมื่อหมดภาระผูกพัน และคืนให้ โดยไม่มีดอกเบี้ย
     
ความแตกต่าง
    ความแตกต่างของหลักประกันทั้ง 3 ประเภทนั้น ได้แก่
    1. ภาระการประกัน เช่น หลักประกันซอง รับภาระการประกันเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเสนอราคาเท่านั้น
จะไม่รวมถึง ภาระการประกันการปฏิบัติงานตามสัญญาในอนาคต
    2. หลักประกันผลงาน กำหนดให้ใช้เงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศมาค้ำประกันได้
3. หลักประกันการรับเงินค่าจ้างหรือค่าพัสดุ กำหนดให้ใช้เพียงหนังสือค้ำประกันกันของ ธนาคารภายในประเทศ
มาค้ำประกันเท่านั้น
    4. หลักประกันซอง และหลักประกันสัญญา กำหนดให้ใช้ประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
   
4.1
เงินสด
4.2
เช็คที่ธนาคารสั่งจ่าย
4.3
หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ
4.4
หนังสือค้ำประกัน ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน
หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ และประกอบธุรกิจค้ำประกัน ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อ บริษัทเงินทุน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.5
พันธบัตรรัฐบาลไทย
 


    หลักประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันนั้น เมื่อส่วนราชการได้รับไว้แล้ว สิ่งที่ควรกระทำก็คือ การส่งหนังสือ

ตรวจสอบการออกหนังสือค้ำประกันไปยังผู้ออกหนังสือค้ำประกัน ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจได้ว่า หนังสือค้ำประกันดังกล่าว ออกให้โดยผู้ออกหนังสือจริง และมีภาระการค้ำประกันตามหนังสือจริง บ่อยครั้งที่ส่วนราชการจะเห็น ว่าการทำหนังสือ
สั่งซื้อ/สั่งจ้าง หรือข้อตกลงซื้อ/จ้าง มีความสะดวกต่อการลงนาม เนื่องจากไม่ต้องรอหลักประกันสัญญา หรือเพราะ
ระเบียบเปิดช่องให้ในกรณีที่ผู้ขาย สามารถส่งของได้ภายใน 5 วัน ทำให้ส่วนราชการไม่มีหลักประกัน ในการที่จะบังคับ
ให้ผู้ขาย/ผู้รับจ้างปฏิบัติตามสัญญา เมื่อสินค้าที่ซื้อมา หรือสิ่งก่อสร้างที่ก่อสร้างหรือปรับปรุงไว้เกิดการชำรุดบกพร่อง
ก็ทำได้แค่เพียงตามให้มาซ่อม และเมื่อไม่มา ก็ทำได้แค่ทำใจ และบันทึกไว้เท่านั้นว่าบริษัทนี้ไม่ดี ดังนั้น การทำสัญญา และให้คู่สัญญานำหลักประกันมาวางเป็นประกันไว้ คงจะช่วยให้ส่วนราชการอุ่นใจได้บ้างไม่มากก็น้อย

อ้างอิง

    1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ลงวันที่ 20 มกราคม 2535
2. หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.3/ว 106 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2548
3. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0408.4/ว 401 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2548
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23903เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2006 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากทราบว่า การวางหลักประกันสัญญาระหว่างหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้วยกันนั้น ตามระเบียบสำนักนายกฯ พ.ศ.2535 ระบุว่าไม่ต้องจัดทำ แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีมติคณะรัฐมนตรีตัวอื่นอีกหรือไม่ที่ระบุว่าการทำสัญญาระหว่างรัฐวิสาหกิจด้วยกัน ไม่ต้องมีการวางหลักประกันสัญญา

ขอความกรุณาช่วยตอบคำถามให้ด้วยค่ะ เพราะตอนนี้มีสัญญาเร่งด่วนที่ต้องจัดทำ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท