บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


วิจัย ศึกษาเอกสาร

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการคิดสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

                1.  ทักษะกระบวนการคิด

                2.  แบบฝึกเสริมทักษะ

                3.  หลักสูตร

                4.  การวัดผลและประเมินผล

 

ทักษะกระบวนการคิด  เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการศึกษา  วัยเด็กเป็นวัยที่สมองกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  จึงควรได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง  และจริงจัง      เพื่อให้เด็ก

มีพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ  เด็กควรได้รับการพัฒนาสมองเรื่องความคิด  โดยอาศัยปัจจัยหลายด้านมากระตุ้น เช่น  สภาพแวดล้อม  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  สื่อการสอนการวัดผลและประเมินผล     หากเด็กได้รับการพัฒนาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม  จะทำให้สมอง

ไม่สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ   ด้วยเหตุนี้ครูผู้สอนควรได้ทราบถึงทฤษฎี   หลักการ และแนวคิดที่เกี่ยวกับการคิดและการสอน    เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด  ซึ่งมีรูปแบบ

การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อฝึกเสริมทักษะให้นักเรียนได้พัฒนา  และ

เกิดกระบวนการคิด  ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550) ได้แก่

1.       การจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 

2.       การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา

3.       การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

4.       การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้

5.       การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

6.       การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และเน้นการปฏิบัติ

7.       การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา

8.       การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้

9.       การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิดด้วยการใช้คำถามหมวก 6 ใบ

 

12

              สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547)      ได้จัดประมวลความรู้เกี่ยวกับ

การสอนพัฒนาทักษะกระบวนการคิด  และสื่อประเภทพัฒนาทักษะกระบวนการคิด  ว่าควรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง  ได้แก่  การสังเกต   การเปรียบเทียบ   การตั้งคำถาม   การคาดคะเน  การสรุป  การนำไปประยุกต์   ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของกานิเย (Gagne,1974) ที่เป็นลักษณะกระบวนการ  โดยเริ่มต้นจากสัญลักษณ์ทางภาษา   จนกระทั่งสามารถโยงเป็นความคิดรวบยอด     เป็นกฎเกณฑ์ และการที่จะนำกฎเกณฑ์ไปใช้ การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดในขั้นพื้นฐานนี้   ขึ้นอยู่กับกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ผ่านขั้นตอนย่อยทุกขั้นตอน   เช่นเดียวกับทิศนา แขมมณี และคณะ (2544)   ได้อธิบายเกี่ยวกับการคิดว่าเกิดจากการสังเกต       

การอธิบาย  การรับฟัง  การเชื่อมโยงความสัมพันธ์  การวิจารณ์  และการสรุป

 

การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนาทักษะกระบวนการคิดด้วยการใช้คำถาม   ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550)   ได้ให้เทคนิค Six thinking hats   เพื่อให้ช่วยจัดระเบียบการคิด  ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น     และในปัจจุบันวิธีการดังกล่าวนี้ได้มีการนำไปใช้ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง   โดยหมวกแต่ละใบได้นำเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้     ตามมุมมองต่าง ๆ ของปัญหา    โดยวิธีการสวมหมวกทีละใบในแต่ละครั้ง เพื่อพลังของการคิดจะได้มุ่งเน้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นการเฉพาะ        ซึ่งจะทำให้ความเห็นและความคิดสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ    ทำให้ผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นได้ และ

ยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนโดยไม่รู้ตัว

 

อุษณีย์  โพธิ์สุข (2540) ได้กล่าวถึงการส่งเสริมแนวความคิดของผู้เรียน สามารถทำได้

ทั้งทางตรงและทางอ้อม  ในทางตรงส่งเสริมโดยการฝึกสอน   ฝึกฝนและอบรม   และทางอ้อมส่งเสริมโดยการสร้างบรรยากาศ   และการจัดสิ่งแวดล้อม   ส่งเสริมการเป็นอิสระในการเรียนรู้ การพัฒนาความคิดมีองค์ประกอบที่สำคัญที่ควรดำเนินการในการจัดกระบวนการเรียนรู้   ดังนี้

1.  กระบวนการคิด  เป็นการเพิ่มทักษะความคิดด้านต่าง ๆ  เช่น    ความคิดจินตนาการ

ความคิดเอกนัย  อเนกนัย     ความคิดวิจารณญาณ    ความคิดวิเคราะห์         ความคิดสังเคราะห์  ความคิดแปลกใหม่    ความคิดหลากหลาย    ความคิดยืดหยุ่น   ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  และ

การประเมินผล

หมายเลขบันทึก: 238309เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2009 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท