นวัตกรรมการเรียนรู้


การเรียนการสอน

บทความเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ จึงขออนุญาตคัดลอกนำมาแบ่งปันกันค่ะ

เรื่องความแตกต่างของนวัตกรรมการเรียนรู้ของแนวคิด Constructivism และ Constructionism

แนวคิดการเรียนรู้ของเด็กในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ที่มาในอดีต นั่นคือในอดีตนั้นเด็กส่วนใหญ่เรียนรู้จากการที่มีครูคอยป้อนความรู้ให้ เด็กจะเรียนรู้โลกจากผ่านประสบการณ์ของครู โดยครูจะเป็นผู้ชี้นำให้เด็กคิดตามและกำหนดว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่ถูกสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ตามแนวคิดที่ว่าเด็กทุกคนนั้นมีความเหมือนกันเมื่อเข้ามาในชั้นเรียน การเรียนรู้ในลักษณะนี้เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบที่เรียกว่าครูเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

เมื่อการศึกษาได้พัฒนามากขึ้นการเรียนรู้ในโลกปัจจุบันจึงหันไปให้ความสำคัญต่อเด็กหรือผู้เรียนมากกว่าครูผู้สอน แนวคิดใหม่นี้แตกต่างจากความเชื่อเดิมๆ โดยเชื่อว่าเด็กแต่ละคนนั้นเรียนรู้ได้ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นการเรียนรู้ของเด็กที่ได้เกิดขึ้นจากตัวของแต่ละคนเอง แนวคิดการเรียนรู้โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้จึงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักการศึกษา แนวคิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันสำหรับการให้เด็กเป็นศูนย์การของการเรียนรู้คือแนวคิดที่ชื่อว่า “การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา” หรือ Constructionism

แนวคิดเรื่อง Constructionism นั้นได้รับการพัฒนามาจากแนวคิด Constructivism ที่มีต้นความคิดมาจากนักจิตวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ชื่อ
ศาสตราจารย์ Jean Piaget (1986-1980) แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา Paiget ได้แสดงทัศนะของเขาเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กว่า เด็กนั้นมีพัฒนาการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาขีดความสามารถของตนเป็นระดับตามแต่ละช่วงเวลาที่เขาเติบโตขึ้น Piaget เชื่อว่าเด็กจะสามารถจัดระบบโครงสร้างองค์ความรู้และโลกทัศนะที่เป็นของตัวเองผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ภายในตัวเมื่อได้ลงมือทำงาน (Learning-by-Making) และได้สื่อสารกับตัวเองเกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น Piaget ให้ทัศนะว่าการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้นคือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

ศาสตราจารย์ Saymour Papert นักคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และการนักศึกษาชาวอเมริกันแห่งสถาบัน Media Lab, MIT ได้พัฒนาแนวคิดต่อจาก Constructivism และได้นำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า Constructionism Papert นั้นซึ่งเคยทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ศาสตราจารย์ Piaget อยู่ระยะหนึ่ง Papert มีความคิดเห็นเหมือนกับศาสตราจารย์ Piaget ในเรื่องของการเรียนรู้จากการกระทำและการสื่อสารภายในของเด็กแต่ละคน แต่ Papert มีความคิดเห็นในบางมุมมองที่แตกต่างออกไปจากความเชื่อของ Piaget ที่ว่าการเรียนรู้นั้นในบางเรื่องนั้นเด็กยังไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากความรู้นั้นๆ มีความสลับซับซ้อน ซึ่งเด็กยังต้องใช้เวลาเติบโตเมื่อถึงเวลาก็จะพร้อมที่จะเข้าใจเรื่องราวเหล่านั้นได้ แต่ Papert เชื่อว่าการที่เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้นั้นเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ขาดแคลนของเครื่องมือและโอกาส ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนเครื่องมือที่จะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้ หรือความไม่สามารถใช้เครื่องมือให้อย่างมีประสิทธิภาพที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นหากเราสามารถประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่มาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สำหรับเด็กก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสที่จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างเต็มที่ Papert ยังเชื่อว่าการที่เด็กเรียนจะเรียนเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างถ่องแท้นั้นควรจะต้องผลักดันให้ตัวเองไปอยู่ในสภาพการณ์นั้น มากกว่าที่จะเป็นการสังเกตุการณ์อยู่ห่างๆ การนำตัวเองเข้าสู่สถานการณ์ (Situated Constructionism) เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เนียนจะได้สัมผัสกับเหตุการณ์ตรง สำหรับครูจะอยู่บริบทการผู้ช่วยสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้และหาเหตุผลของสิ่งต่างๆ จากตัวของเด็กเอง (Self-directed Learning)

การเรียนรู้ในระบบ Constructionsim นั้นเริ่มได้มีการทดลองใช้กันในประเทศไทยอย่างจริงจังโดยมูลนิธิศึกษาพัฒน์และมูลนิธิไทยคม โดยได้จัดตั้งโครงการประภาคารแสงสว่าง (Light House) เป็นโครงการนำร่องของการเรียนรู้แบบ Constructionism จากนั้นก็ได้มีการจัดตั้งโครงการนำร่องขึ้นมาหลายโครงการอาทิเช่น โครงการส่งเสริมเยาวชนในชุมชนเมือง โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชน และโครงการสำหรับเป้าหมายเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนนำร่องการเรียนการสอนแบบ Constructionism เช่นโรงเรียนบ้านสันกำแพง นอกจากนี้ยังได้จัดการฝึกอบรมทั้งในระดับครู และนักการศึกษา ต่างๆ ในหลายพื้นที่

บุริม โอทกานนท์
18-07-06

 

หมายเลขบันทึก: 238100เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2009 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท