สุริยุปราคาวันตรุษจีน..วิทยาศาสตร์ใกล้ตัว


สุริยุปราคา วิทยาศาสตร์ใกล้ตัว
วันนี้เป็นวันเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคาบางส่วน หรือสุริยุปราคาวงแหวน ตั้งแต่เวลาประมาณ 15 นาฬิกาเป็นต้นไป  ตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีนพอดี  ไม่รู้จะเกี่ยวกับโหราศาสตร์หรือคำทำนายรึเปล่า

คำเตือน : อย่าจ้องดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าหรือผ่านกล้องดูดาวที่ไม่มีแผ่นกรองแสง เพราะจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อดวงตาของคุณและอาจทำให้ตาบอดได้!

 

ตอนแรกไม่รู้จะใช้วิธีดูยังไง  กล้องดูก็ไม่มี อีกอย่างเค้าไม่ให้ดูด้วยตา อันตรายกับสายตา จะทำให้ตาบอดได้ ฟิล์มดำก็ไม่มี โชคดีที่อ่านใน เว็บของเดลินิวส์และสมาคมดาราศาสตร์ไทย เขาให้ใช้กระดาษเจาะรูน้อยๆสี่เหลี่ยมขนาด 1 ซม แล้วผิดทับกระจกเงา สะท้อนไปลงฉากหลังสีขาว 

ห้องเราที่หอพักหลังห้องและบานเกล็ดห้องน้ำ ตอนบ่ายๆ จะรับแสงแดดเต็มๆ จนถึงเย็น ทดลองทำแล้วใช้เป็นอุปกรณ์ดูง่ายๆ แทนการดูด้วยตาเปล่าได้ดีทีเดียวค่ะ  แต่ว่าภาพสะท้อนที่ไปลงฉากหลังจะกลับด้านที่พระอาทิตย์แหว่งจากซ้ายเป็นขวา

ตามเว็บไซต์ของ ดาราศาสตร์ไทย (ดูที่นี่) บอกว่า

 

ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้ได้โดยต้องใช้แผ่นกรองแสงเพื่อป้องกันอันตรายจากแสงอาทิตย์ หรือสังเกตการณ์ทางอ้อม เช่น ดูภาพสะท้อนบนผนังผ่านกระจกที่ทำหน้าที่คล้ายกล้องรูเข็ม ดวงจันทร์เริ่มบังดวงอาทิตย์ในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่สูงประมาณ 30-40 องศา และดำเนินไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ใกล้ตกลับขอบฟ้า ภาคใต้ตอนล่างเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ ซึ่งตรงข้ามกับสุริยุปราคาเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ที่เงามืดพาดผ่านเหนือประเทศไทยขึ้นไป เวลาที่เกิดปรากฏการณ์ก็จะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยเริ่มเวลาประมาณ 16.00 น. และสิ้นสุดในเวลาประมาณ 18.00 น. ขณะบังเต็มที่ในเวลาประมาณ 17.00 น. โดยจะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งทางซ้ายมือค่อนไปทางด้านบน หลายจังหวัดทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน จะยังคงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งอยู่เล็กน้อยในจังหวะที่ดวงอาทิตย์ตกดิน

ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคา 26 มกราคม 2552

สถานที่

เริ่ม

บังเต็มที่

สิ้นสุด

 

 

 

เวลา

มุมเงย

เวลา

มุมเงย

ขนาด

เวลา

มุมเงย

ขนาด

 

 

 

กรุงเทพฯ

15.53 น.

31°

17.00 น.

16°

0.452

17.59 น.

-

 

 

 

ขอนแก่น

15.59 น.

26°

17.02 น.

13°

0.413

17.58 น.

-

 

 

 

เชียงใหม่

16.05 น.

27°

17.02 น.

15°

0.304

17.54 น.

-

 

 

 

นครราชสีมา

15.56 น.

28°

17.01 น.

14°

0.442

17.59 น.

-

 

 

 

นครศรีธรรมราช

15.41 น.

36°

16.56 น.

20°

0.576

18.00 น.

-

 

 

 

นราธิวาส

15.38 น.

36°

16.54 น.

19°

0.650

18.00 น.

-

 

 

 

ประจวบคีรีขันธ์

15.49 น.

33°

16.58 น.

18°

0.491

18.00 น.

-

 

 

 

ภูเก็ต

15.40 น.

38°

16.55 น.

22°

0.568

18.00 น.

-

 

 

 

ระยอง

15.51 น.

31°

16.59 น.

16°

0.489

18.00 น.

-

 

 

 

สงขลา

15.39 น.

38°

16.54 น.

21°

0.615

18.00 น.

-

 

 

 

สุโขทัย

16.01 น.

28°

17.01 น.

15°

0.360

17.56 น.

-

 

 

 

อุบลราชธานี

15.56 น.

26°

17.01 น.

11°

0.469

17.56 น.

0.042

 

 

 

 

แต่เนื่องจากนักวิชาการรายงานว่าบางจังหวัดในภาคอีสาน ตะวันจะตกดินก่อนสิ้นสุดปรากฎการณ์ ผู้เขียนเลยกะว่าจะถ่ายภาพตะวันใกล้ตกดินสีแดงๆ ที่ปกติหลังห้องจะมองเห็นได้เวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำ

ตารางเวลาสำหรับอำเภอเมืองของทุกจังหวัดทั่วประเทศ

และนี่คือภาพจาก Oknation ที่ ช่างภาพเอ้ ได้ถ่ายไว้ค่ะ

ส่วนอันนี้เป็นวิธีโลว์เทค ของผู้เขียน 555

    

ที่ขอนแก่นดูไม่ทันสิ้นสุดปรากฎการณ์เลย พระอาทิตย์ชิงตกไปซะก่อน ถ่ายตอนโพล้เพล้ก็ไม่ชัดด้วย

หมายเลขบันทึก: 237779เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2009 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ได้ข้อมูลและรูปภาพไปให้เด็กๆ ได้ดูด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

ถ่ายได้ภาพดีมากครับ.. ไม่มีโอกาสได้ดูของจริง ก็ได้อาศัยดูจากภาพถ่ายนี้และครับ

ภาพครูอ้อย เห็นไม่ชัด ไม่มีฟิลเตอร์

แต่เห็นด้วยตาตัวเอง..รู้สึกดีดีค่ะ

ตะวันชิงพลบ...ไปก่อนค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

  • ภาพสุริยุปราคาที่เห็นชัดนั้น มีช่างภาพมืออาชีพเอามาลงใน Blog Oknation โดยใช้กล้อง Nikon D80 ถ่ายซูมเต็มที่ 300 mm. แล้วใช้ PL สองอันหันหน้ากันบังหน้าเลนส์
  • ตัวเองไม่มีความรู้เรื่องกล้องเลยค่ะ PL คืออะไรใครพอทราบช่วยบอกที ใช่ที่เค้าเรียกว่าฟิลเตอร์รึเปล่าคะ
  • หากท่านใดสนใจยังมีปฏิทินที่ สมาคมดาราศาสตร์ ลงข่าวไว้ให้ติดตามเรื่อยๆนะคะ

 

  • ตามมาดู
  • พอดีแม่ไม่ให้ดู
  • เดี๋ยวไม่มีคู่
  • ฮ่าๆๆๆๆๆ
  • กลับมาอยู่ที่ มน หรือยังครับ

ใช่แล้ว อย่างคุณครูพี่อ้อย ว่าไว้ พิษณุโลก ก็ตะวันชิงพลบ เสียก่อน หน้า web บอก กลืนเต็มดวง 17.00 น อันที่จริง กลืนไปแค่เงาแค่เสี้ยวเดียว แสงเลยจ้า ตกดินไป มืดเลย

ปี 2538 มั้งคะ พี่คนอง พาพวกเราโดดงาน 1 วัน ไปดูที่เขาหน่อ นครสวรรค์ เพื่ออยากเห็นค้าวคาวบินออกจากถ้ำ เวลาเกิดปีนั้นประมาณใกล้เที่ยงวัน ปุ้ก ไปด้วยป่าว พี่จำไม่ได้ 55555 แก่เลี้ยว

C-PL filter เป็น filter ที่ใช้กรองแสงน่ะครับ ทำให้สีเข้มขึ้นเพราะแสงที่ไม่ต้องการจะถูกต้ดออกไป ตัวอย่างที่เห็นบ่อยๆ ก็คือ ทำให้ท้องฟ้าสีเข้มขึ้นเพราะแสงฟุ้งกระจายจะถูกตัดออกไป :)

  • ดีจังเลยที่อจ P จะได้เอาไปสอนเด็กๆด้วย
  • ขอบคุณคุณ P สำหรับคำอวยพรวันตรุษจีน นะคะ
  • ขอบคุณคุณ P , ครูอ้อยและอจ ขจิตด้วยค่ะที่แวะมาเยี่ยม
  • พี่นิด ปีนั้นปุ๊กไม่ได้ไปค่ะ แต่ได้ยินพี่ๆ เค้าเล่าเหมือนกัน แต่ปีนี้มันใกล้ค่ำพอดีนิ นกและค้างคาวก็เลยไม่งง 555
  • ขอบคุณคุณ P  ที่แนะนำความรู้ใหม่ให้ค่ะ  

ไม่ได้ดูเหมือนกัน เพราะต้องรีบส่งเกรดก่อนไปบาหลีครับ

ขำตัวเองค่ะพี่ปุ๊ก ...แบบว่าวันนั้นอยู่กลางทะเล

แหงนหน้ามองท้องฟ้าตั้งแต่ 4 โมงเช้า..ฝรั่งมองตาม...

แป่ว...น่าขายหน้าชะมัด ของจริงประมาณ 4 โมงเย็น

อายคนจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท