ราชภัฏไหนสนใจคิดวิชา "ทำให้ชาวบ้านเห็นหัวซึ่งกันและกัน" คือราชภัฏแท้


 

 

           
                                  ราชภัฏไหนสนใจ
        คิดวิชา "ทำให้ชาวบ้านเห็นหัวซึ่งกันและกัน" คือราชภัฏแท้

click to comment

ระยะนี้มีข่าวเกษตรกร
              -เทนมทิ้งกลางถนน

              -เผาข้าวโพด 
              -บรรทุกมันหัวแดงใส่
                อีแต๋นมาขวางทาง

 

        ผู้เขียนเชื่อว่า  ไม่มีราชภัฏไหนสนใจข่าวนี้จริงจัง  ถึงขนาดมองเห็นว่านี่คืออาการของการที่ชาวบ้านเองไม่เห็นหัวซึ่งกันและกัน

        ผู้เขียนมีความเห็นว่าถ้าชาวบ้าน  เห็นหัวกันและกัน  ปัญหานี้ไม่เกิด  ปัญหาอื่น ๆอีกหลายปัญหาที่เกิดกับชาวบ้านก็จะไม่เกิด  เช่น 

 

·       ได้รับแจกปลากระป๋องเน่า

·       ถูกไล่ออกจากที่ดินที่อยู่กินกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย

·       ไปตัดไม้มาปลูกกระท่อมอยู่ ถูกจับขังคุก

·       ถูกตำรวจจับขังคุก จนตายในคุก ทั้ง ๆที่จริง ๆแล้วไม่เคยทำความผิดใด ๆ

·       โรงเรียนสำหรับลูกชาวบ้านคุณภาพต่ำ

·       ได้รับพาราเซตามอลเพื่อรักษาทุกโรค

·       ทุกหมู่บ้านมีหนี้หมู่บ้านละห้าหกล้าน

·       ญาติพี่น้องในหมู่บ้าน/ ชุมขนเดียวกันลุกขึ้นห้ำหั่นกัน เช่นที่ บ่อนอก และบางสะพาน  เป็นต้น

                                                    ฯลฯ 

        ราชภัฏที่ประกาศตนว่าเป็นอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  ต้องสนใจปัญหาเหล่านี้

           และต้องคิดวิชาที่จะให้ชาวบ้าน เห็นหัวซึ่งกันและกันให้ได้  
       วิชาแบบนี้ชาวบ้านต้องได้เรียน ตั้งแต่แรกเกิด  นั่นคือ  ต้องได้เรียนตั้งแต่อยู่ในบ้าน  ในชุมชน  ในโรงเรียน ในไร่ในนา  และ ในโรงงานเป็นต้น 
        ต้องได้เรียนทุกคน  ราชภัฏต้องเอาวิชาเหล่านี้ไปสอน  นักศึกษา ไปสอนครู  ไปสอนผู้นำชุมชน  ไปสอนเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเอกชน  ไปสอนคนเป็นพ่อเป็นแม่  และไปสอนคนที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นต้น
        ถ้าคนได้เรียนรู้วิชานี้กันอย่างทั่วถึง และอย่างเป็นผล
           -
คนจะเข้มแข็ง

                -ครอบครัวจะเข้มแข็ง

                -ชุมชนจะเข้มแข็ง

           -ประเทศจะเข้มแข็ง

        เพราะคนและชุมชนที่เป็นฐานของบ้านเมืองเข้มแข็ง ประเทศจึงเข้มแข็งอย่างไม่ต้องสงสัย

        หมอประเวศ  พยายามชี้ตรงจุดนี้มาหลายสิบปี  แต่ยังไม่มีใครทำให้เป็นจริง 

        ราชภัฏ  30  กว่าแห่งมีศักยภาพที่จะทำเรื่องนี้ให้เป็นจริงได้

        ปัญหาของราชภัฏอยู่ที่หัวหูยังมืดมึนอยู่  
     คิดอะไรไม่ออก  มองอะไรไม่เห็น  ไม่สดับตรับฟังอะไร
   
ไม่แน่ใจว่า ขณะนี่ราชภัฏกำลัง
   คิดอะไร  มองอะไร  เงี่ยหูฟัง  
   อะไรอยู่
!?!?!?!?!?!!!

              click to comment
                         
Paaoobtong
                                                                      22/1/52

               

หมายเลขบันทึก: 236612เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2009 02:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ขอบคุณหลาย ๆ เด๊อครับที่แวะไปทักทายผม ท่านอาจารย์ครับ ผมคึดว่า บ่แม่นราชภัฏอย่างเดียวดอกที่สามารถที่จะจัดการศึกษาอย่างที่ท่านอาจารย์เว้า ยังมีหน่วยงานอีกหลายครับที่สามารถพัฒนามนุษย์ให้มีจิตสำนึก มีสายตาที่เห็นธรรม....ให้รู้จักสอนตัวเอง เอาง่าย ๆ เด๊อครับท่านอาจารย์ สถาบันพื้นฐานในชุมชนที่เป็นหน่วยอบรมสั่งสอนชาวบ้านมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ก็คือ วัด ซึ่งผมคิดว่า น่าจะเป็นหน่วยในชุมชนที่สามารถจัดการศึกษาที่สอนคน ให้สอนตัวเองได้ดีกว่าสถาบันใด ๆ เพราะทำหน้าที่นี้มาทุกยุคทุกสมัย แต่มันก็บ่ได้เช่นจั๊งสั่น เพราะหยังล่ะครับ.....ถ้าคนเราไม่มีการเริ่มเรียนที่เรียนรู้ด้วยตนเอง และสอนตนเองแล้ว คงไม่มีหลักสูตรใด ช่วยได้หรอกครับ (ความคิดส่วนตัวนะครับ ไม่เกี่ยวกะส่วนรวม)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท