หนังสือทำมือ "คุณคิดเหมือนผมมั๊ย KM อยู่ในหัวใจ" ตอนที่ 9


การ ทำงานโดยใช้กระบวนการ KM ต้องมองงานให้เชื่อมโยงกับนโยบาย ทำก่อนจึงมองให้เข้าตัวชี้วัด ลดความเป็นราชการลงมาทำร่วมกับชุมชน เรียนรู้ชุมชนเพื่อปรับวิธีการทำงานของหน่วยงาน และต้องไม่คิดครอบครองเป็นเจ้าของเพราะงานที่เกิดต้องเป็นของชุมชน ไม่ใช่ของหน่วยงาน การทำงานแนวนี้ต้องทำร่วมกันชุมชนจึงจะเป็นชุมชนอินทรีย์ อยู่ดีมีสุข ชุมชนจะได้พัฒนาทุกๆ ด้าน เพราะหน่วยงานที่ลงไปทำงานร่วมเป็นเครือข่าย หนุนเสริมชาวบ้าน ชาวบ้านสามารถเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง ในเวทีเดียวกัน เพราะฉะนั้นคนที่จะมาเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายจึงต้องมีการคัดกรองคนที่มี กระบวนการทำงาน โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือ"อยู่ในหัวใจ" ไม่ใช่คนที่มีกระบวนการทำงานโดยใช้ KM เป็นเครื่องมือตามนโยบาย ภาคีเครือข่ายจึงจะขับเคลื่อนการทำงานชุมชนอินทรีย์ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ดับสูญ...

แนวทางการขับเคลื่อนงานภาคีเครือข่ายจังหวัดนครศรีธรรมราช

          ผมคิดว่าการขับเคลื่อนงานชุมชนอินทรีย์ไม่น่าจะหยุดและหมดไปเมื่อท่านผู้ว่าฯ วิชม  ทองสงค์ เกษียณอายุราชการ เราเคยตั้งคำถามกันในทีมทำงานว่าแนวโน้มที่ว่าการทำงานแบบ KM จะจบลงเหมือนที่หลายๆ คนพูดกันหรือเปล่าแต่คำตอบที่ได้คือ พวกเราไม่แน่ใจว่าคนอื่นๆ เขาคิดอย่างไรแต่ทีมของเราต้องเคลื่อนงานต่อไป ชุมชนกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ถูกต้องการขับเคลื่อนจะต้องเดินหน้าต่อไป เมื่อทุกคนมองเห็นเป้าหมายของตนเองว่าจะทำอะไรไปถึงจุดหมายได้อย่างไร จะช่วยเหลือภาคีเครือข่ายอย่างไร ถึงจะทำให้ชุมชนเป็นชุมชนอินทรีย์ อยู่ดีมีสุข ก็หมายความว่า ยังเป็นหน้าที่ เป็นงานของพวกเรา ที่จะต้องทำให้บรรลุ เหมือนกับที่เคยบอกไว้ว่าไม่ว่าใครจะมาเป็นผู้ว่าฯ ไม่ว่าจะมีงบประมาณหรือไม่ แต่พวกเราก็ยังคงต้องทำงานตามหน้าที่อยู่ดี และคิดว่าแนวทางการทำงานโดยการใช้ นวัตกรรม KMกับชุมชนนั้นเป็นการทำงานที่ได้ผล เพราะคนในชุมชนมีความรู้ และนำความรู้ที่มีในชุมชนมาพัฒนาชุมชนของเขาเอง เราเพียงแต่ช่วยให้ชุมชนเกิดกระบวนการการเรียนรู้ก็เท่านั้น

                จากการลงไปจับภาพหมู่บ้านชุมชนอินทรีย์ในหลายอำเภอทำให้เจอกับคน หน่วยงานที่มีความสุขกับการทำงานแนวนี้เยอะแยะทำให้ทีมภาคีรู้สึกไม่โดดเดี่ยวในการทำงานรู้สึกว่ามีเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีกมาก และนี่ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่ยืนยันว่ากระบวนการ KM  จะไม่หายไปจากนครศรีธรรมราช การที่ทีมภาคีเครือข่ายคนทำงานอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ได้เจอคนคอเดียวกันในอำเภอต่างๆ ก็มีความคิดที่จะสร้างภาคีระดับจังหวัดซึ่งก็คงต้องมองหาคนที่จะมาเชื่อมประสานการทำงานร่วมกันระดับจังหวัดซึ่งจากที่เราไปเจอมา 5 อำเภอที่ลงไปจับภาพมองว่าวิธีการ KM กับการพัฒนาจังหวัดนั้นเป็นที่ต้องการของชุมชนและจะเดินกระบวนการนี้ต่อ เช่น ปลัดเกรียงศักดิ์  ปลัดอาวุโส อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  ปลัดวีระ  ปลัดอำเภอพิปูน  น้องเป้า เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอพิปูน  หมอจรูญ อนามัยบ้านทาบทอง อำเภอเชียรใหญ่ น้องครูน้อย ครูศูนย์การเรียนชุมชน ตำบลทาบทอง อำเภอเชียรใหญ่ คุณเกษตร  นักวิชาการเกษตร ที่จะมาประจำที่อำเภอลานสกา และเจ้าหน้าที่ในอีกหลายๆ หน่วยงานที่ได้พบพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และอีกส่วนที่คิดว่าจะทำให้เราเชื่อมกันได้ดีคือในส่วนของโรงเรียนคุณอำนวย

                ภาคีเครือข่ายอำเภอเมืองคิดที่จะประสานบุคคลเหล่านี้ให้เป็นภาคีระดับจังหวัดในการขับเคลื่อนงานพัฒนาจังหวัดให้เดินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง เหมือนที่บอกตั้งแต่ต้นว่าเราต้องค้นหาคนที่ทำงานแนวนี้จริงๆ ต้องเป็นคนที่มองผลประโยชน์ที่เกิดกับประชาชนไม่ใช่ตนเองหรือหน่วยงาน หรือต้องไม่เป็นคนทำงานเชิงนโยบาย หรือทำตามตัวชี้วัด ที่แน่ๆ ต้องเป็นคนที่กล้าจะหลุดออกมานอกกรอบของระบบราชการ โดยเฉพาะการทำงานแบบสั่งการกับชาวบ้าน เพราะมันไม่สอดคล้องกับแนวการทำงาน   แบบนี้

                การทำงานโดยใช้กระบวนการ KM ต้องมองงานให้เชื่อมโยงกับนโยบาย ทำก่อนจึงมองให้เข้าตัวชี้วัด ลดความเป็นราชการลงมาทำร่วมกับชุมชน เรียนรู้ชุมชนเพื่อปรับวิธีการทำงานของหน่วยงาน และต้องไม่คิดครอบครองเป็นเจ้าของเพราะงานที่เกิดต้องเป็นของชุมชน ไม่ใช่ของหน่วยงาน การทำงานแนวนี้ต้องทำร่วมกันชุมชนจึงจะเป็นชุมชนอินทรีย์ อยู่ดีมีสุข ชุมชนจะได้พัฒนาทุกๆ ด้าน เพราะหน่วยงานที่ลงไปทำงานร่วมเป็นเครือข่าย  หนุนเสริมชาวบ้าน  ชาวบ้านสามารถเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง ในเวทีเดียวกัน  เพราะฉะนั้นคนที่จะมาเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายจึงต้องมีการคัดกรองคนที่มีกระบวนการทำงาน โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือ "อยู่ในหัวใจ" ไม่ใช่คนที่มีกระบวนการทำงานโดยใช้ KM เป็นเครื่องมือตามนโยบาย ภาคีเครือข่ายจึงจะขับเคลื่อนการทำงานชุมชนอินทรีย์ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ดับสูญ...

 

หมายเลขบันทึก: 236515เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2009 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท