( ๔ ) ผญาภาษิต


ผญาภาษิต เป็นคติเตือนใจคนสมัยใหม่ควรรู้

 

             วัฒนธรรมของชาวอีสาน มีการสืบทอดกันมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา ศาสนา สังคม และประเพณีท้องถิ่น จะมีเอกลัษณ์เฉพาะตัว จะมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละท้องถิ่น แต่จุดหมายหรือเจตนารมย์ในการทำมีเป้าหมายอันเดียวกัน

             ในด้านภาษาก็เช่นกันก็จะมีภาษาประจำท้องถิ่น สำเนียงแต่ละท้องถิ่นอาจจะไม่เหมือนกัน แต่คนอีสานด้วยกันก็สามารถฟังเข้าใจได้ และสามารถบอกได้ว่ามาจากจังหวัดใดของอีสาน เพื่อเป็นการ "สืบฮอยตา วาฮอยปู่ " จึงนำมาผญามาเล่า เพื่ออนุชนรุ่นหลังจะได้ตระหนักในคุณค่าดังกล่าว(ผญา มรดกกอีสาน ๓: อ. สวิง บุญเจิม )

             " ผญา " เป็นคำคล้องจองที่นักปราชฌ์โบราณอีสานคิดขึ้น ถ้าใช้เพื่อเกี้ยวพาราสีระหว่างชายและหญิง เรียกว่า " ผญารัก "

              คำพูดที่สำหรับเป็นคำสอน เป็นคติเตือนใจ  มีธรรมสอดแทรก เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติ เรียกว่า " ผญาภาษิต "

            คำพูดที่คล้องจองกัน ฟังแล้วต้องใช้ปัญญาในการขบคิด เพื่อทดสอบปัญญา หรือเชาว์ของกันและกัน เรียกว่า " ผญาปริศนา "

            ผญาภาษิต ที่เป็นคติเตือนใจ และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติและดำรงตนในสังคม เพื่อความสงบ ความร่มเย็น และ ความก้าวหน้าของชีวิต  เช่น

              ๐  แม่นสิมีความฮู้เต็มพุงเพียงปาก กะตามถ่อน คันแม่นสอนตนเองบ่ได้ ไผสิย่องว่าดี ๐

              หมายความว่า แม้จะมีความรู้มากมาย หากไม่สอนตนเอง หรือ ประพฤติตนไม่ดี ดั่งที่ได้เรียนรู้มา จะไม่มีใครยกย่องสรรเสริญ เข้าลักษณะ " ความรู้ คู่คุณธรรม "

               ๐ แม่นว่าหญิงฮูปฮ้ายครองวัตรหากพางาม คันแม่นซายฮูปทราม วิชาหากพาฮุง ๐

             หมายความว่า ผู้หญิงแม้จะไม่สวยงาม แต่หากมีความประพฤตดี มีคุณธรรม ก็จะทำให้เป็นคนสวย เป็นคนดีได้ ผู้ชายก็เช่นกัน หากมีวิชาความรู้ดี มีความสามารถ ก็สามารถจะสร้างชีวิต ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองในชีวิตได้

                ๐ คันเฮาทำความดีแล้ว ไผสิหยันกะตามช่าง คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว สิหยันหย้อกะช่างไผ ๐

               หมายความว่าในการทำความดี  หากเห็นว่าดีแล้ว จึงลงมือทำ ก็ไม่ต้องไปคำนึงว่าคนอื่นจะพูดอย่างไร  ถ้าเรามั่นใจว่าสิ่งที่ทำถูกต้องชอบธรรม ถูกกฎหมาย ศีลธรรม และประเพณีแล้ว ก็ควรมุ่งมั่นกระทำความดีนั้นต่อไป แม้จะมีปัญหา และอุปสรรค

           

คำสำคัญ (Tags): #ผญาภาษิต
หมายเลขบันทึก: 236192เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2009 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เข้ามาอ่านบทความดี ๆ ครับ

เขียนให้อ่านอีกนะครับ

  • ขอบคุณคุณพิมล
  • อยากให้คุณพิมล เพิ่มเติมให้ด้วย เพราะเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญด้านนี้
  • ขอให้มีความสุขนะครับ
  • "ในการทำความดี หากเห็นว่าดีแล้ว จึงลงมือทำ ก็ไม่ต้องไปคำนึงว่าคนอื่นจะพูดอย่างไร ถ้าเรามั่นใจว่าสิ่งที่ทำถูกต้องชอบธรรม ถูกกฎหมาย ศีลธรรม และประเพณีแล้ว ก็ควรมุ่งมั่นกระทำความดีนั้นต่อไป แม้จะมีปัญหา และอุปสรรค" ความหมายนี้ดีนะคะ.. ข้อสังเกตอย่างหนึ่งนะคะ เวลาแปลแล้วจะยาวกว่าภาษาท้องถิ่นจริง ๆ แสดงว่าภาษาดั้งเดิม หากเข้าใจความหมาย ก็จะใช้ถ้อยคำที่สั้นแต่มีความหมายมากกว่าใช่ไหมคะ
  • ขอบพระคุณค่ะ  มาทบทวนกันลืม ...เป็นลูกอีสานค่ะ แต่มาอยู่เมืองกรุงนานกว่ายี่สิบปีแล้วค่ะ

เจริญพร โยมศรีกมล

วัฒนธรรมของอีสาณอาตมาชอบดนตรี

และประเพณีบุญบั้งไฟ

เจริญพร

ผญาภาษิต..เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของคนอีสานนะคะ

  • นมัสการพระคุณเจ้า
  • ขอบพระคุณครับ
  • ขอบคุณคุณศิลา
  • ยินดีด้วย ที่เป็นลูกอีสาน เพราะคนอีสานเป็นคนรักถิ่นครับ
  • ข้อเขียนของคุณศิลา มีคุณภาพจริง ๆ ขอชมเชย
  • ขอให้มีความสุขครับ
  • ขอบคุณคุณแอด
  • อยากให้อนุชนรุ่นหลังได้คุ้นหู คุ้นตาบ้าง เพราะปัจจุบันไม่ค่อยมีคนสนใจ
  • ขอให้มีความสุขครับ
  • นมัสการพระคุณเจ้า
  • ขอบพระคุณครับ

"พ่อแม่แก่เฒ่า เลี้ยงเฮามาก่อน

เลี้ยงลูกได้ใหญ่อฺย้อน เสมอหน้าพร่ำตา

คนเพิ่นเลี้ยงเฮาใหญ่แล้ว เฮาควรเลี้ยงเพิ่นแทนคุณ

คอยอุดหนุนการงาน เปลี่ยนมือแทนท่าน

ดำรงไว้วงศ์ตระกูลพ่อแม่ ประพฤติดีที่แท้ จั่งสิได้สืบมูน"

  • สวัสดีคุณพิมล
  • อย่าลืมแต่เพิ่มอีกเด้อ ม่วนดีครับ
  • อยากให้คุณพิมลเปิดเรียนแต่งผญา บ้าง
  • ขอบคุณ

สวัสดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท