268 เล่าภาพจากเรื่อง...รัฐอัสสัม อินเดีย และคนไทผาเก..ญาติเราเอง


ไทในอัสสัม ใช่ใครอื่น

 

 

 

                       

 ตามปรกติ จะเคยแต่เล่าเรื่องจากภาพ แต่คราวนี้ผมจะเล่าภาพจากเรื่อง คือนำเสนอภาพถ่ายเป็นหลักโดยยังไม่ลงในรายละเอียด ด้วยมารยาทบางประการ จึงขอนำภาพจากรัฐอัสสัม หรืออีสานของอินเดียมาให้ชมกัน โดยมีคำบรรยายพอสังเขป สำหรับเรื่องเล่านั้น จะหาโอกาสนำเสนอในเวลาที่เหมาะสมต่อไป 

ก่อนที่จะเล่าภาพ ขอเกรินนิดหน่อยว่ารัฐอัสสัมซึ่งมีประชากรประมาณ 26 ล้านคน (*2001)นั้น ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย ทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย มีเขตอาณาติดกับรัฐอรุณาจัลประเทศ นาคาแลนด์ มณีปุระ  มิโซรัม ตริปุระ และเมฆาลัย ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นรัฐ 7 พี่น้อง (Seven Sister States) โดยอัสสัมเป็นรัฐที่เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ของอินเดียผ่านช่องแคบของรัฐเบงกอลตะวันตก นอกจากนี้ อัสสัมยังมีเขตแดนระหว่างประเทศติดกับบังกลาเทศทางตะวันตกเฉียงใต้ ภูฏานทางเหนือและเมียนม่าหรือพม่าทางตอนใต้

ถือเป็นประตูสู่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ตั้งในจุดยุทธศาสตร์ใกล้กับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศสมาชิก SAARC, เป็นศูนย์กลางของนโยบายมองตะวันออก (Look East) ของรัฐบาลอินเดีย, มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์, เป็นแหล่งวัตถุดิบ, มีแรงงานจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นประเภทกึ่งทักษะและไร้ทักษะ, ประชากรมีการศึกษาดี (อัตราการรู้หนังสือ 64% รัฐบาลอินเดียกำลังส่งเสริมภูมิภาคนี้ตามนโยบายมองตะวันออก 

เมืองกูวาฮาตี เป็นเมืองสำคัญ เพราะเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของรัฐอัสสัม Dispur  มีพลเมือง 2 ล้าน 5 แสนคน และเป็นเมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วเป็นหนึ่งใน 5 ของอินเดียทีเดียว     

รัฐอัสสัมมีชนกลุ่มต่างๆ อาศัยอยู่มากมายหลายกลุ่มเผ่าพันธ์ แต่มีกลุ่มหนึ่งที่เรียกตนเองว่าไท Tai อาศัยอยู่ประมาณ 600 ปีมาแล้ว ปัจจุบันมี 6 กลุ่ม ได้แก่ไทอาหม ไทคำตี่ ไทคำยัง ไทผาเก ไทอายตอน และไทตุรุง ชนกลุ่มชนเหล่านี้คือสิ่งที่น่าสนใจ เพราะยังคงขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เอาไว้ โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายและภาษาไทที่มีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยภาคเหนืออยู่มากทีเดียว 

 ชนกลุ่มหนึ่งในหกที่ผมได้ไปสัมผัสคือไทผาเก Tai Nam Phake อยู่ไม่ไกลจากเมือง Dibrugarh ประมาณ 55 กิโลเมตร ภาพนี้เป็นภาพวัดในหมู่บ้านชาวไทผาเกซึ่งมีอยู่แห่งเดียว ดูจากศาลาและเจดีย์แล้วก็ต้องบอกว่ามีลักษณะคล้ายเจดีย์ในพม่าและทางเหนือบ้านเรามาก ชนไทผาเกปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2 พันกว่าคนหรือประมาณ 70 ครัวเรือน อยู่เกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่นในการที่จะคงไว้ซึ่งความเป็นไท

                 ภาพวัดไทนำผาเก อยู่กลางหมู่บ้านเลย สภาพวัดสะอาดเรียบร้อย มีต้นไม้นานาชนิด เป็นศูนย์รวมคนในหมู่บ้าน มีพระประธานในโบสถ์ ภัณเตหรือพระเจ้าอาวาสบอกด้วยความภูมิใจว่ามีผู้มอบให้จากเมืองไทย

                     

 ชาวหมู่บ้านนำผาเกนับร้อยคนมาต้อนรับผู้มาเยือนด้วยความตื่ตเต้นและเต็มใจและยินดีที่ทราบว่าเรามาจากประเทศไทยซึ่งหลายคนเชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของเขา คนหน้าสุดคือหัวหน้าหมู่บ้าน มีอายุ 74 ปีแล้ว เคยไปเมืองไทยครั้งหนึ่งนานมาแล้ว

                

อาหารที่นำมาเลี้ยงผู้มาเยือน มีทั้งข้าวห่อ ผักต้ม ปลา หมูปิ้งเสียบไม้ หนือไม้และเป็ด รวมทั้งแกงจืดต้มผัก อร่อยแบบไทๆ เห็นมีช้อนให้ แต่ตามมารยาททานด้วยมือ ขันทองเหลืองที่เห็นคือสำหรับใส่น้าล้างมือ

                สาวชาวไทผาเกแต่งตัวอย่างสวยงามมารับผู้มาเยือน สวมใส่เสื้อผ้าที่ทอเอง เรียกว่าผ้าซิ่น ลวดลายสีสันสวยงามสดใสเหมือนบ้านเราไม่มีผิด

   

 

                         

   หญิงสาวชาวไทผาเกรำฟ้อนตามจังหวะฆ้องและกลอง สวยงามอ่อนช้อยราวกับจบมาจากนาฏศิลป์ก็มิปาน 

 

                              

บรรดาสาวใหญ่ชาวไทผาเก มาต้อนรับกันอย่างพร้อมเพรียงและสนใจมาก หลายคนมีบุตรหลานที่เรียนจบสูงๆ มีงานทำกันแล้วทั้งนั้น แต่ทุกคนชื่นชมประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและต่างหวังว่าวันหนึ่งจะได้มีโอกาสไปเที่ยวเมืองไทย

                     

หญิงสาวชาวไทผาเกทอผ้าอยู่กับบ้าน ซึ่งมีกันทุกบ้าน  การทอผ้าหนึ่งผืนใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หญิงสาวที่นี่ทอผ้าเป็นกันทุกคน  ความเป็นอยู่ถือว่ามีกินมีใช้ แต่ไม่ร่ำรวยแบบทุนนิยม 

                  สรุป หมู่บ้านไทนำผาเก เป็นกลุ่มคนไทที่ไปเยือนแล้วมีความประทับใจมาก เพราะนิสัยใจคออ่อนโยน นุ่มมวล รักสงบเหมือนคนไทยไม่มีผิด ประวัติศาสตร์ความเป็นมานั้นมีอยู่ แต่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสอันสมควรต่อไป

 

 

...................................................................................

  

หมายเลขบันทึก: 235608เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2009 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะ

ไปท่องรัฐอัสสัมมานี่เอง

ไม่พบบันทึกตั้งนาน

เรื่องราวน่าสนใจ

และอยากรู้เพิ่มเติมมากๆ

แต่ชมภาพที่พี่โยคีนำมาลงไม่ได้

เป็นแต่กรอบว่างๆค่ะ

ขอบคุณกับของฝากจากแดนไกลนะคะ

กราบสวัสดีเนื่องในวันครูค่ะ

  • หนูไม่ได้เข้ามาเยี่ยมอาจารย์นานมาก
  • เพิ่งทราบว่าอาจารย์ก็เดินทางเช่นกัน
  • ได้รับความรู้มากมายเชียวค่ะ  เหมือนกับได้ไปเที่ยวด้วย
  • อาจารย์สบายดีนะคะ

            ..น้อมคารวะด้วยความเคารพค่ะ..

โยคีน้อย ตันติราพันธ์

ขออภัยที่ใส่ภาพแล้วก็ต้องทำงานต่อ มาเปิดดูตอนเย็นจึงทราบว่าภาพไม่ขึ้น

ชาวไทที่รัฐอัสสัมน่ารักมาก หวังว่าภาพคงมาแล้ว

อยากให้คนไทยไปเยี่ยมคนไทกันมากๆ

ความเป็นญาติกันระหว่างสองแผ่นดิน น่าประทับใจมาก

เจริญสุขจ๊ะ

 

 

ศน.อ้วน ครับ

ขอบคุณครับที่มาทักทาย

ภาพมาแล้วครับ เรื่องราวนั้นมีมากมาย แต่เอาไว้ค่อยทะยอยเล่า

อัสสัมน่าไปเที่ยว ไม่ห่างจากประเทศไทยเลย

หากมีโอกาส ลองไปเที่ยวดูนะครับ

เจริญสุขครับ

แวะมาบอกว่า

เห็นภาพคนไทแล้ว

หน้าตาสงบดีจัง

ดูอ่อนหวานและอบอุ่น

ขอบคุณแทนคนไทย

ที่พี่โยคีไปเจริญสัมพันธไมตรีแทนมาแล้วค่ะ

เรื่องนี้... จำมาตั้งแต่เรียนประวัติศาสตร์ชาติไทยตอนประถม วันนี้ได้รับการยืนยันจากประสบการณ์ตรงพร้อมรูปภาพประกอบโดยท่านฑูตฯ มีโอกาสคงได้ไปพิสูจน์โดยตัวเองสักครั้ง...

  • อนุโมทนาอย่างยิ่ง

เจริญพร

โยคีน้อย ตันติราพันธ์

ไปเห็นมาแล้ว ประทับใจ

เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่คิดอยากจะทำโครงการอาสาสมัคร

ไปช่วยคนไท ในประเทศอินเดีย เป็นเรื่องของมนุษยธรรม ไม่เกี่ยวกับการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น

วันนี้ ขอให้แนวคิดแค่นี้ก่อน

นะมัสการครับท่าน BM.chaiwut

ยืนยันได้ครับว่า ถ้าได้ศึกษาลงในรายละเอียด จะทึ่งว่า เอ นี่คือญาติของกลุ่มไทที่แยกย้ายกันมาสู่ดินแดนเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้

จะได้นำรายละเอียดมาเล่าต่อไปครับ โดยเฉพาะภาษาที่เขาใช้ เป็นภาษาไทครับ อัศจรรย์ยิ่งนักครับ

มีพระสงฆ์จะเป็นพระอาสาบ้างไหมครับ ไปพัฒนาไทพาเก 

ในอนาคตนะครับ หากมีธรรมะจัดสรร

นะมัสการครับ

สวัสดีครับ

แวะมาทีหนึ่งแล้วแต่ยังไม่มีภาพ อิๆ

เห็นกี่ทอผ้า แปลกตาไม่เหมือนในบ้านเราครับ

ขออนุญาตเซฟไว้ศึกษานะครับ

ป.ล.น่าไปเยือนสักครั้งครับ

คุณ ธ.วั ช ชั ย ครับ

ยินดีครับ

ชาวไทในอัสสัมทอผ้าเก่งครับ มีผ้านานาชนิดที่มีชื่อเสียงไม่แพ้ผ้ากาสีของชาวเมืองพาราณสี

น่าไปศึกษามากครับ

ผมสนใจเกี่ยวกับประวัติของคนกลุ่มไทยมานานแล้วครับ เคยอ่านแต่ในหนังสือ

ของ อ.ธิดา สาระยา ขออภัยด้วยถ้าจำชื่อผิด ขอบคุณอาจารย์มากครับที่นำความรู้

มาให้...

คุณอภิชาติ

ยินดีครับ ติดตามตอนต่อไปครับ

สวัสดีค่ะ น่าทึ่งและยินดีนะคะที่ชาวไทผาเกนี้ยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีไว้ได้แม้จะมีจำนวนอยู่กันไม่มาก

ไม่ได้มาแวะนานแล้ว คุณพลเดชและครอบครัวคงสบายดีนะคะ

มาแวะทีไรก็ได้ความรู้และความเบิกบานจากการได้รู้เรื่องราวที่ไม่ใช่จะหาอ่านกันได้ง่ายๆ เป็นเรื่องราวที่มีชีวิตชีวามาก ขอบคุณค่ะ

 

 คุณนายดอกเตอร์ ครับ

ขอบคุณครับ

ไปอัสสัมจึงทำให้ได้ความรู้เรื่องผ้าไหมอัสสัมด้วยครับ

ซึ่งมีไหมมุกก้า Golden Muka เป็นหนึ่งใน 3 ประเภทที่มีชื่อเสียง

นอกจากนั้นยังได้ทราบมาว่าสยาม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เคยติดต่ออินเดียเรื่องผ้าไหมมาแล้วและมีการให้คนอินเดียทอผ้าในลวดลายที่เป็นไทยด้วย

น่าศึกษาต่อไปครับ

ตื่นเต้น น้ำตาซึมที่ได้เห็นสายเลือดบรรพบุรุษของเราอีกสายหนึ่ง ที่อพยพไปทางอัสสัม

ผมค่อนข้างเชื่อเรื่องอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของเผ่าไทในอดีต

เราเป็นเผ่าเก่าแก่ยาวนาน ตั้งรกรากตั้งแต่ตอนเหนือของจีน และอพยพลงมาเรื่อยๆ จนสุดแผ่นทวีป

เราถอยไปไหนไม่ได้อีกแล้ว

ความจริง เราสร้างอาณาจักรทางใต้ได้อย่างยิ่งใหญ่ จีนยังเกรงเรา มองโกลยังขยาด

แต่เราก็แพ้เทคโนโลยีพวกฝรั่ง จนต้องเสียดินแดนไปเยอะมาก โดยเฉพาะลาวที่เป็นพี่น้องเราทั้งประเทศ

แต่ก็ยังดีครับ ถึงแม้จะเปลี่ยนชื่อประเทศ แต่ท่านเหล่านั้น ก็ยังเป็นคนไท สายเลือดเดียวกัน

ภาษาเป็นตัวบ่งบอกและชัดเจนที่สุด ว่าเป็นเผ่าไทหรือไม่ ไม่มีข้อสงสัยใดๆครับ

ไม่ทราบว่านอกจากอัสสัมและลาว ยังมีคนไทตั้งรกรากดั้งเดิมอยู่ที่ไหนอีกบ้างมั๊ยครับ

คุณ tai genetic ครับ

ทางตอนเหนือของพม่า และรัฐต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือล้วนเป็นคนเชื้อชาติไททั้งนั้นครับ

ถ้าคนไทยได้ไปเที่ยวจะรู้เองว่านี่คือญาติของเราที่หายไปนานแล้ว

อ่านเรื่องราวได้รายละเอียดและเนื้อหาที่ดี วันที่ 15-22 ตุลาคม 54 จะไปที่อัสสัมเหมือนกันค่ะ อยากไปเห็นชาวไทยที่นั่น แต่ความรู้เกี่ยวกับการเดินทาง วิธีไป ยังเป็นศูนย์ ยิ่งเห็นของอาจารย์มีคนให้การต้อนรับก็ใจไม่ดีเลยค่ะ เพราะไปแบบเที่ยวเอง แบบเป้ไป

จะหมู่ หรือ จ่า เดี๊ยวคงรู้กัน แต่อ่านของอาจารย์แล้วรู้สึกดีมาก

อยากให้อาจารย์กรุณาแนะนำด้วยนะคะ ดิฉันแก่มาก ไปกับพี่สาวก็แก่มากเช่นกันค่ะ

กาญจนา เส็งพยอม

สวัสดีค่ะท่านเอกฯ

เคยได้ยินว่าที่รัฐอัสสัมมีชาวไท อยู่กันมากมาย

มาอ่านบันทึกนี้เห็นภาพแล้วยิ่งอยากไปเยือนพีน้องเรา ขอบพระคุณค่ะ

Ico48

 

น่าไปเที่ยวครับ เพราะจะได้รับทราบถึงชนชาวไทซึ่งยังคมมีอยู่ที่อินเดีย

ข้อมูลเรื่องชาวไทในอัสสัม หากต้องการรายละเอียด ลองติดต่อ อจ.โสภนา ศรีจำปาที่ ม.มหิดล ศาลายา ได้อีกทางหนึ่งครับ อจ.โสภนาเคยไปเยือนหมู่บ้านนี้เช่นกันครับ

 

ขอบคุณมากครับ ได้อ่านได้เห็นรูปแล้วอยากไปเที่ยวเลยครับ พี่น้องคนไทยที่พลัดพรากกัน

ใช่ว่าเราจะคิดถึงพี่น้องทางฝั่งนั้นเท่านั้น พี่น้องไทนำพาเกก็คงคิดถึงเราเหมือนกัน

คุณวี

เห็นด้วยครับ ต้องเรียนว่าที่ผ่าน หน่วยงานไทย คือสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงเดลี อินเดีย และนักวิชาการชาวไทยหลายคนได้ไปเยือนชุมชนนี้เป้นระยะๆ ครับ ยกตัวอย่าง สถานเอกอัครราชทูตไทยกรุงเดลีได้ให้ทุนชาวไทยผาเกไปอบรมดูงานเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย เพื่อนำกลับไปสร้างที่หมุู่บ้าน

ผมเชื่อแน่ว่าความสัมพันธ์ไทยกับชาวไต ผาเกยั่งยืนแน่ครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท