ผลักดันแนวคิดเงินออมแรงงานนอกระบบ ลดปัญหา “ยากจนดักดาน” ทุกยุคทุกสมัย


ความยากจนยังเป็นปัญหาที่อยู่เคียงข้างสังคมไทยทุกยุค ทุกสมัย แต่ที่ผ่านมาระบบการออมที่ภาครัฐจัดเป็นสวัสดิการสังคมยังไม่ครอบคลุมไปถึงแรงงานที่อยู่ภายนอกระบบ ส่วนใหญ่เป็นประชากรในระดับรากหญ้า ด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้คลังเห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเมื่อประชากรดังกล่าวเข้าสู่วัยชรา ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงและความเปราะบางที่ขาดสวัสดิการดูแลนั่นเอง

หลายต่อหลายครั้งในการนำเสนอเรื่องระบบการออมมักถูกเชื่อมโยงไปสู่การเป็นแหล่งระดมทุนขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อพัฒนาประเทศ แต่น้อยครั้งที่จะกล่าวถึงเรื่องสวัสดิการของสังคมซึ่งถือว่ามีความสำคัญเพราะประชากรกลุ่มดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นแรงงานทั้งในและนอกระบบก็ตามล้วนแล้วแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กำลังศึกษาความเหมาะสมของระบบการออมเพื่อสวัสดิการและการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบอยู่

จากคำกล่าวของ ดร.อัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) บอกว่า 2 ใน 3 ของประชากรไทยวัยแรงงานที่ไม่ได้รับการดูแลเมื่อยามชราภาพ เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในชีวิต ด้วยเหตุนี้รัฐจึงต้องเตรียมและจัดหามาตรการให้กับคนกลุ่มดังกล่าว

และสมสุข บุญญบัญชา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน บอกว่า ในส่วนของแรงงานที่อยู่นอกระบบมักจะเป็นชาวรากหญ้าที่อยู่ ณ ชุมชนต่างๆ ถ้าจะจัดการในเรื่องของความเสี่ยงยามชรา และการสร้างสวัสดิการให้คนกลุ่มดังกล่าวก็น่าจะทำตามลักษณะของความเป็นไทยที่เอื้ออาทรต่อกัน รวมถึงศักยภาพที่แต่ละชุมชนมี

ความสำคัญของการพัฒนา “กองทุนสวัสดิการชาวบ้าน” ให้เข้มแข็งและยั่งยืน เป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้น ไม่เพียงเครืออข่ายสวัสดิการชาวบ้านที่สามารถจัดการบริหารได้เองอยู่แล้วก็ควรมีการเชื่อมโยงการเรียนรู้และขยายผลไปสู่ชุมชนต่างๆอย่างเป็นขบวนการ

บทบาทของคลังต่อนโยบายการออมของประเทศนั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าการออมจะเป็นเครื่องมือหรือมาตรการในการพัฒนาการระดมเงินออมของประเทศเกิดผลในด้านการระดมทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ

ที่มา : เอกสารประกอบการเผยแพร่เพื่อพิจารณาโดย นางจินตนา จันสว่าง อนุมัติเอกสารประกอบการเผยแพร่

โดย นายจิรเดช ภานุรัตนะ

หมายเลขบันทึก: 23560เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท