beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

คุณลักษณะของบัณฑิตวิทยาศาสตร์ในอุดมคติ (Process)


     สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้รับโอกาส  ไปเติมเต็มแนวคิดทางด้านการศึกษามาจากหลายสำนัก จึงอยากจะนำ Success Story มา Share ให้ได้อ่านกัน โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือ...โดยผมลงมือปฏิบัติจริงด้วย

     โจทย์ของผมคือบันทึกของท่านอาจารย์วิบูลย์ "ภาพรวมแนวคิดในการผลิตบัณฑิต (คุณภาพ) ที่พึงประสงค์ของ มน. (2552-2556)" ซึ่งท่านจะเปลี่ยนมารับงานในตำแหน่ง "รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา" (ไม่แน่ใจว่าเขียนชื่อตำแหน่งถูกหรือเปล่า) เริ่มทำงานในวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ (จำง่ายๆ ว่า ตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยนเรศวร มีวาระการดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาเดียวกันกับประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา)

กรอบแนวคิดในการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์

    โจทย์ข้อนี้ นำมาจากวิสัยทัศน์ด้านการผลิตบัณฑิตของท่านอธิการบดี  โดยผ่านกระบวนการปฏิบัติของท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ...นี่เป็นทัศนะของผู้บริหาร

     ผมลองเอาโจทย์ข้อนี้มาปฏิบัติ โดยทำใน Scale เล็ก คือ ทำในรายวิชาการเลี้ยงผึ้ง หรือ Apiculture ที่ผมรับผิดชอบ โดยในวันนี้ ผมนำเอากรอบแนวคิดด้านบน มาอธิบายให้นิสิตของผม ๑๘ คน (ปกติมี ๒๐ คน แต่วันนี้ขาดไป ๒ คน) ได้ฟัง  เมื่อเข้าใจดีแล้ว ผมตั้งโจทย์ให้คิด

    "คุณลักษณะของบัณฑิตวิทยาศาสตร์ในอุดมคติ" ของคุณเป็นอย่างไร (ผมให้ Share ความคิดกันเป็นกลุ่ม ปกติมีกลุ่มละ 5 คน แต่วันนี้มี 5 คน ๒ กลุ่ม และ 4 คน ๒ กลุ่ม)

     ผมให้เขาคิดคุณลักษณะที่ดี ออกมาจำนวน 20 คุณลักษณะ และให้แบ่งหมวดออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็น Knowledge-องค์ความรู้, กลุ่มที่เป็น Skill-ทักษะ หรือ Process-กระบวนการ และกลุ่มที่เป็น Attitude-ทัศนะคติ  (ใช้ตัวย่อว่า KSA)

      โดยปกติผมใช้กระบวนการ KM ในกระบวนการเรียนการสอนของผมอยู่แล้ว นิสิตของผมใช้เวลาประมาณ 15 นาที ก็สกัดความรู้กลุ่มออกมา ได้ดังนี้

 คุณลักษณะของบัณฑิตวิทยาศาสตร์ในอุดมคติ

กลุ่มที่ ๔ กลุ่มที่ ๓ กลุ่มที่ ๒ กลุ่มที่ ๑
K=Knowledge K=Knowledge K=Knowledge K=Knowledge
1. มีความรู้พื้นฐานทางชีววิทยา 1. มีความรู้พื้นฐานทางชีววิทยา 1. เก่งและมีความสามารถ 1. มีความรู้ (วิชาการ)ที่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้
2. มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2. มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2. มีความรู้ทางวิชาการ 2. พัฒนาความรู้อยู่เสมอ
3. หมั่นหาความรู้จากทั้งในตำราและนอกตำรา 3. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิชาชีพ 3. มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เรียน  
4. หมั่นซักถามผู้รู้ให้เกิดความเข้าใจในตัววิชาการให้มากที่สุด 4. นำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการทำงาน 4. นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  
  5. ก้าวทันโลกทันเหตุการณ์    
S=Skill/Process S=Skill/Process S=Skill/Process S=Skill/Process
1. สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานที่ทำ 1. สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ 1. มีทักษะในการทำงาน 1. มีการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์
2. สามารถนำความรู้ที่มีไปเผยแพร่ได้อย่างถูกต้อง 2. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 2. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. รู้จักหาความรู้เพิ่มเติม
3. นำความรู้ไปใช้ในทางที่ถูก (ต้อง) 3. มีไหวพริบและทักษะในการแก้ปัญหา 3. มีการวางแผนในการทำงาน 3. มีกระบวนการคิดใหม่ๆ
4. มีหลักกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ 4. เป็นคนช่างสังเกต 4. มีความคิดสร้างสรรค์ 4. สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
5. มีกระบวนการคิดและการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอนที่ถูกตอ้ง 5. มีการตั้งสมมุติฐานล่วงหน้า 5. รู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นได้ง่าย 5. เป็นผู้นำที่ดี
6. สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ 6. สามารถวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล 6. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 6. เป็นผู้ตามที่ดี
  7. นำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์   7. กล้าแสดงออก
  8. สามารถทำให้ผู้อื่นยอมรับในตัวเรา    
A=Attitude A=Attitude A=Attitude A=Attitude
1. มีความภาคภูมิใจในสถาบัน 1. มีความฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ 1. มีความเป็นผู้นำ 1. เป็นคนดี คิดดี พูดดี ทำดี 
2. สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ 2. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 2. กล้าคิดกล้าแสดงออก 2. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
3. มีใจรักในงานที่ทำ 3. รักในวิชาชีพ 3. มีความรักในวิชาชีพของเรา 3. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. มีความเคารภในงานที่ทำและสถานที่ทำงาน 4. รักสถาบัน 4. มีความขยัน อดทน และความพยายาม 4. มีบุคลิกภาพที่ดี
5. มีความไว้วางใจในตัวผู้ร่วมงาน 5. มีคุณธรรม 5. ประพฤติตัวตามกฏระเบียบของสังคม 5. มีความอดทน
6. มีการเปิดใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น 6. มีความอดทน 6. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน 6. ตรงต่อเวลา
7. กล้าคิด กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง 7. มีเหตุผล 7. มีความกตัญญู 7. มีความซื่อสัตย์
8. มีระเบียบวินัยในตัวเอง   8. รู้จักเสียสละ 8. มีความประหยัด อดออม
9. เอื้อเฟือ ให้ความร่วมมือช่วยเหลือแก่ผู้อื่น   9. ประหยัด มัธยัสถ์ อดออม 9. มีสัมมาคารวะ พูดจาสุภาพ อ่อนหวาน
10.ตรงต่อเวลาและซื่อสัตย์ในการทำงานนั้นๆ     10.มีความรับผิดชอบในตัวเองและหน้าที่การงาน
      11.ให้เกียรติและสิทธิเสรีภาพผู้อื่น

    สมมุติว่า เราทำอย่างนี้กันทุกวิชา หรือ ได้สัก 50 % ในภาควิชาชีวิทยา (หรืออาจทำกับนิสิตทุกชั้นปีของภาคฯ ) เราก็นำมาหา core competency อันไหนคล้ายกันเหมือนกัน ก็เอามาใส่ไว้ในวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิต

    ผมนำเอาคุณลักษณะของบัณฑิตวิทยาศาสตร์ในอุดมคตินี้ (อันที่ได้มาจากที่อื่น-แต่ความจริงต้องทำขึ้นมาใหม่) ให้กับหัวหน้าภาควิชาไปแล้ว ต่อไปเราก็ทำเป็นวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตของภาค

    ต่อไปก็ประชุมภาควิชา เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาบัณฑิตให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ ถึง ๔ แบ่งแนวทางพัฒนาบัณฑิตว่า คุณลักษณะไหนจะเน้นทำนอกหลักสูตร (กิจกรรม) คุณลักษณะไหนจะทำในหลักสูตร (วิชาการ)

     แต่ละคุณลักษณะจะใช้วิธีการอย่างไร...เอา Best Practice ที่เคยปฏิบัติกันมา มาเล่าสู่กันฟัง และจัดระดับว่าวิธีการไหนจะให้ 1* ถึง 5*  ถ้าไม่มี Best Practice ในภาควิชา..ก็เชิญภาควิชาอื่นมา Share กัน

    การประเมินผล ก็ให้นิสิตประเมินผลภาควิชาในภาพรวม โดยเรานำวัตถุประสงค์แต่ละข้อ มากำหนดตัวชี้วัดลงไป..และคงต้องค่อยๆ ปรับใช้ไป

    อันที่จริงต้องให้คนภายนอกประเมินด้วย... มีวิธีการอยู่แล้ว แต่เราต้องทำทีละขั้นตอน (เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ)..อิอิ

  

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 235577เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2009 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มีคนคิด + มีคนทำ
  • ช่วยกันพัฒนาสิ่งที่ทำไปแล้วให้ดียิ่งขึ้น
  • ตามดูเพื่อให้กำลังใจ ส่งเสริมสนับสนุนกันในทุกระดับ
  • ฟังดูแล้วเต็มไปด้วยความหวัง ไม่แห้งแล้งเลยนะคะอาจารย์

     

เรียน ผอ.ตูน

  1. ต้องการ comment แบบต่อยอดให้กำลังใจ
  2. ได้ comment นี้ ช่วยทำให้เดินไปได้แบบไม่เดียวดาย
  3. และหัวหน้าภาคฯ ของผมก็เป็นคนที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงและทำงานที่ท้าทาย
  4. ช่วงนี้ทำงานอย่างมีเป้าหมาย..อยู่ที่การสร้างบัณฑิต จึงไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่ออะไรเลย ทำงานอย่างมีความสุข
  5. ขอบคุณสำหรับกำลังใจ..อิอิ

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเปนคนที่ลืมกล้องไว้ที่ห้องlab คะ

หนูยังไม่ค่อยเข้าใจเลยคะ

เรื่องนี้ไม่รู้จะเริ่มยังไงคะ

  • มีการสมัครสมาชิกด้วย....ความจริงนิสิตเขาให้ไปอยู่ใน Learners.in.th ครับ
  • เรื่องบัณฑิตในอุดมคติ เราไม่ต้องไป serious อะไรครับ ทดลองให้คิดดูกันเล่นๆ...คือ ผมอยากจะดูว่านิสิตคิดกันอย่างไรกับการมาเรียน...ไม่ใช่คิดกันแค่เรียนให้จบและรับใบปริญญาไปสมัครงานเท่านั้น แต่ระหว่างทางมันมีอะไรให้คิดกันอีกเยอะเลย...ในวิชานี้เป็นช่วง summer คงเรียนไม่ค่อยหนักมาก แค่ 1-2 วิชา จึงอยากจะกระตุ้นให้คิดกันบ้าง..ทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ไม่ได้หวังผลมากนัก..
  • ปกติถ้าจะให้คิดกันเร็วๆ ต้องช่วยกันทำเป็นกลุ่ม แต่เห็นความหลากหลายของนิสิตแล้ว ทำกระบวนการกลุ่มคงยากมาก เพราะหลายคนมุ่งหวังเรื่อง content หรือเนื้อหากันอย่างเดียว ทำอยู่คนเดียวคงเหนื่อยมาก..
  • สรุปว่าอย่า serious ในเรื่องนี้ก็แล้วกัน เรียนสบายๆ ไม่เครียด..อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท