บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) กับผู้ป่วยยาเสพติด (ตอนที่1)


บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) กับผู้ป่วยยาเสพติด (ตอนที่1)
                      จากโครงการ 30บาทรักษาทุกโรค  จนถึงพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.  2545  อันเป็นนโยบายหลักที่ต้องการสร้างหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าให้แก่ประชาชนชาวไทย   แนวทางที่กำหนดขึ้นเน้นในเรื่องหลักประกันด้านการรักษาพยาบาล  ด้วยการจัดให้มีหน่วยบริการประจำครอบครัวที่อยู่ใกล้บ้านไว้ให้ประชาชนไปรับบริการได้อย่างสะดวก ยามเจ็บป่วยโดยประชาชนจะได้รับบริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต  แต่ก็ยังมีบริการทางการแพทย์ที่ไม่อยู่ในความคุ้มครอง    หนึ่งในบริการดังกล่าวคือ   การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด  ทำให้ผู้ใช้ยาและสารเสพติด   โดยเฉพาะผู้ใช้สุรา ที่ต้องการเข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันธัญญารักษ์   ประสบปัญหาเรื่องของการใช้สิทธิบัตรทอง   รวมทั้งสถาบันธัญญารักษ์ไม่เข้าอยู่ในโครงการ 30บาท 
                         กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์จึงได้พัฒนางานด้านการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยยาเสพติด  เพื่อให้ผู้ป่วยยาเสพติดสามารถได้รับการคุ้มครองภายใต้หลักประกันสุขภาพ   โดยพบว่าการให้บริการทางการแพทย์  การบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดในส่วนของสารเสพติดประเภทสุรา  ยังคงได้รับการคุ้มครองตามสิทธิเนื่องจากสุราไม่ได้จัดอยู่ในประเภทสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด   จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้  ข้อมูล  เกี่ยวกับการใช้สิทธิบัตรทองในการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดประเภทสุรา  ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย  ญาติ  เจ้าหน้าที่  รวมถึง บุคคลที่สนใจในเรื่องการใช้สิทธิบัตรทองกับผู้ป่วยยาเสพติด  ตลอดจนเป็นทางเลือก  อีกทางเลือกหนึ่ง  ที่จะส่งเสริม  สนับสนุน  ให้ผู้ใช้บริการ  ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ  หรือมีความประสงค์จะขอรับบริการตามสิทธิที่ตนมี    ให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป          โดยขั้นตอนการขอใช้สิทธิบัตรทองในระบบส่งต่อมีดังนี้
                1. ผู้ป่วยไปติดต่อสถานพยาบาล  ที่ระบุในบัตรทองเพื่อขอรับบริการ  การบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 
                2. ผู้ป่วยแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิบัตรทองมารับบริการที่สถาบันธัญญารักษ์และขอให้สถานพยาบาลที่ระบุในบัตรทองทำหนังสือส่งตัวผู้ป่วยมารับการรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์
            3. ผู้ป่วยนำหนังสือส่งตัวจากสถานพยาบาลที่ระบุในบัตรทองออกให้  มายื่นที่สถาบันธัญญารักษ์พร้อมสำเนาบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าของผู้ป่วย และสำเนาบัตรประชาชนของผู้ป่วย
จากการพัฒนางานคุ้มครองสิทธิดังกล่าว   ส่งผลให้ผู้ป่วยสุราที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทองได้รับการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลและมีความพึงพอใจในการให้บริการมากขึ้น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23540เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
แล้วใครครับ ที่จะมีหน้าที่บอก อำนวยความสะดวกและประสานงานให้ผู้ป่วยในการดำเนินการ

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความประสงค์จะเข้ารับการบำบัดรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์ และต้องการใช้สิทธิบัตรทองในการบำบัดรักษาหรือต้องการทราบข้อมูล รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการรักษาพยาบาล กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์มีความยินดีที่จะให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องค่ะ  และจากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีผู้ป่วยและญาติจำนวนมากที่ให้ความสนใจในเรื่องการใช้สิทธิ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์จึงได้ดำเนินการจัดพิมพ์เอกสารแผ่นพับเรื่อง บัตรทองกับผู้ป่วยยาเสพติดขึ้นเพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจอีกทางหนึ่ง  ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยหรือญาติที่นำเอกสารเกี่ยวกับการใช้สิทธิบัตรทองในการบำบัดรักษามาที่สถาบันธัญญารักษ์ ...เราได้รับความร่วมมือจากงานเวชระเบียนในการรับเรื่องและเอกสารจากผู้ป่วย นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเงินในการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและการประสานงานกับหน่วยงานที่ส่งผู้ป่วยมาบำบัดรักษาค่ะ

คือพาลูกชายเข้ารับการบำบัดยาเสพติดที่สถาบันธัญลักษณ์ค่ะ แต่ลูกชายทัสิทธิ์บัตรทองอยู่ที่โรงพยาบาลเกาะคา จ.ลำปาง เลยไปขอใบส่งตัว แต่ทางโรงพยาบาลแจ้งว่าออกใบส่งตัวให้ไม่ได้เพราะว่าส่งตัวข้ามจังหวัดไม่ได้ แรณีแบบนี้ต้องทำยังไงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท