วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด


โรงเรียนที่มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด

       จากการทบทวนการทำงานของกลุ่มส่งเสริมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในช่วงเวลาการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภายนอกรอบสองจาก สมศ. จนถึงปัจจุบัน

       จึงได้ดำเนินการถอดประสบการณ์ และถอดบทเรียน เป็นแนวทางวิธีการปฏิบัติที่ดี จนทำให้โรงเรียนส่วนใหญ่มีความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก และมีผลการประเมินจาก สมศ. เป็นที่น่าพอใจ เช่น มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับรางวัล  เป็นโรงเรียนที่มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของ สพฐ. จำนวน 4 โรงเรียน และมีโรงเรียนที่เป็นตัวแทนในระดับภาคตะวันออก ที่สพฐ.

คัดเลือกมาถอดประสบการณ์  ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  จึงขอนำเสนอรูปแบบดังกล่าวเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อต่อยอดวิธีการปฏิบัติให้ดียิ่งๆขึ้นไป

สามประสาน จันทบูร

         คณะนิเทศของกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

จันทบุรี เขต 1  ได้กำหนดขั้นตอนการพัฒนากระบวนการนิเทศ ดังนี้

                1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ 

                2. กำหนดจุดประสงค์ 

                3. กำหนดแนวทางการนิเทศ

                4. กำหนดเนื้อหา

                5. กำหนดเทคนิค/วิธีการ

                6. กำหนดสื่อวัสดุอุปกรณ์ 

                7. ประเมินผลและเผยแพร่

      การดำเนินการนิเทศ โดยใช้กระบวนการนิเทศ ทีหลากหลาย เช่น นิเทศรายบุคคล การประชุมกลุ่มย่อย

และกลุ่มใหญ่ โดยดำเนินการกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 98 โรงเรียน 

รายละเอียดของกิจกรรมการดำเนินงาน 

                กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา   ตระหนักถึงความสำคัญในการที่จะพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง  จึงได้คิดค้นกิจกรรมในรูปแบบของกระบวนการนิเทศแบบ สามประสาน จันทบูร ”  ขึ้นซึ่งมีรายละเอียดของวิธีปฏิบัติงาน  ดังนี้ 

                1. กำหนดกลยุทธ์การนิเทศ ได้ปรึกษาหารือถึงนโยบายของสพฐ. พร้อมทั้งสภาพปัจจุบันปัญหาของการดำเนินการนิเทศโรงเรียนที่ผ่านมา กำหนดกรอบแนวคิดในการนิเทศ แล้วร่วมกันพิจารณากำหนด กลยุทธ์การนิเทศ ได้ดังนี้

                    1.1 การเยี่ยมนิเทศโรงเรียน เป็นการไปให้ความรู้ แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อรับทราบสภาพการปฏิบัติงาน จุดเด่น ปัญหาอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก จากสมศ. 

                    1.2 ให้โรงเรียนได้ประเมินตนเอง ตามแบบประเมินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1

               2. วิเคราะห์/กำหนดโรงเรียนที่จะเทศ  โดยแยกเป็น 3 ประเภท  ดังนี้

                    2.1 โรงเรียนที่เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. ตามประกาศของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)

                    2.2 สถานศึกษาที่ยังไม่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก

                    2.3 สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก

               3. ประสานงาน ประสานใจ การนิเทศร่วมกับ ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศ มีขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดังนี้

                    3.1 การนิเทศเป็นรายบุคคล

                    3.2 การนิเทศกลุ่มย่อย

                    3.3 การประชุม – ระดับช่วงชั้น – คณะครูและบุคลากรทั้งโรงเรียน  

               4. การดำเนินการนิเทศ มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

                    4.1 ประสานงานผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโรงเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

                    4.2 ประชุมชี้แจงการดำเนินการนิเทศ เพื่อส่งเสริมพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ “สามประสาน จันทบูร” คือ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโรงเรียน และคณะครูที่ได้รับมอบหมายในแต่ละมาตรฐาน โดยดำเนินการนิเทศดังนี้

                                4.2.1 ประชุมชี้แจงและเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ดังนี้

                                         - สร้างความตระหนัก สร้างความเข้าใจ และให้ความรู้

                                         - สร้างจิตสำนึก เกี่ยวกับประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ว่า ...

                                            * ทำไมต้องประกันคุณภาพ

                                            * การประเมินตนเองตามมาตรฐานฯ

                                            * สร้างข้อตกลงร่วมกัน ปรึกษาหาแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพฯ 

                                            * นัดหมายเพื่อนิเทศครั้งต่อไป

                5. การประเมินผล  ให้โรงเรียนประเมินตนเอง ตามเอกสารมาตรฐานการศึกษาของ สพท.  และนำไปรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี 

การถอดประสบการณ์

                จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ได้ถอดประสบการณ์หลังจากการนำวิธีปฏิบัติดังกล่าวไปใช้ พบว่า ในการนำวิธีการนิเทศตามรูปแบบ สามประสาน จันทบูร ไปใช้แต่ครั้ง  จะไมีมีสูตรสำเร็จ ที่เหมือนกัน

 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบท สถานการณ์ แต่ละโรงเรียนจะไม่เหมือนกัน  ฉะนั้นรูปแบบจึงไม่ตายตัว ยืดหยุ่น

อยู่เสมอ ขึ้นอยู่กับ ความหนักเบาของอาการ(บันทึก เมื่อ 1 ธ.ค.  51)

 

หมายเลขบันทึก: 235351เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2009 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาศึกษางานเข้มๆ เข้าท่าดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท