สะท้อนบทเรียน (Lesson Learned) จาก Roving Team


ถ้ายังไม่ได้ใจ ก็ต้องใส่ใจ ถ้าได้ใจแล้ว ก็ต้องยิ่งใส่ใจ

       ตั้งแต่วันที่ 12 - 14 มกราคม 2552 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เชิญประชุมคณะนิเทศโรงเรียนในฝัน ระดับเขตตรวจราชการ (Roving Team)  ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ กรุงเทพมหานคร ซึ่งคำสั่งได้มีการปรับปรุงใหม่ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 1653/2551 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะนิเทศ ดูแลรับผิดชอบโรงเรียนในฝัน ระดับเขตตรวจราชการ (Roving Team) ตามคำสั่งฉบับนี้มีคณะนิเทศถึง 46 ชุด 486 คน 
       ผลจากการประชุมกลุ่ม่อมในส่วนของจังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรีได้"การสะท้อนบทเรียน (Lesson Learned) จาก Roving Team"  ที่ได้ดำเนินการใน 2 ประเด็นสำคัญคือ นิเทศอย่างไรจึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนต้นแบบในฝัน และมีปัญหาอุปสรรคอะไร มีสาระดังนี้
        1. การศึกษาข้อมูลและสารสนเทศของโรงเรียน (school information) ซึ่งจะสามารถหาได้จาก website ของโรงเรียน ซุนวูกล่าวว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"
        2. มองภาพการพัฒนาและการประเมินโดยภาพรวม เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผน การพัฒนา และการประเมิน ตลอดจนการรายงานที่ได้
        3. ทีมงาน (Team work) จาก รอง ผอ.สพท. ศึกษานิเทศก์ พี่เลี้ยงจากโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 1 และโรงเรียนในฝัน Fast Track ที่เข้ามาช่วยพัฒนาโรงเรียนในฝัน โรงเรียนเขาพูดกันว่า "คิดอะไรไม่ออก ให้บอกกิตติ" ช่วยได้จริงหรือเปล่า? ที่หนักมากก็โรงเรียนที่เรายังไม่ได้ใจ ก็ต้องใส่ใจมากหน่อย แต่ถ้าได้ใจแล้วก็ต้องยิ่งใส่ใจให้มากขึ้น
        4. การประสานความร่วมมืออันดีระหว่าง Roving Team กับ Roving Team, Roving Team กับผู้แทน สพฐ. และ Roving Team กับโรงเรียน ด้วยการสื่อสารแบบสองทางโดยใช้โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ
e-mail webboard เป็นการนิเทศอย่างเป็นกัลยาณมิตร การนิเทศแบบถามหาพาทำ ไปจนถึงการนิเทศแบบหามรุ่งหามค่ำ
        5. การค้นหาเรื่องดี ๆ จากโรงเรียน โดยให้โรงเรียนหรือผู้ที่รับผิดชอบได้เล่าเรื่องให้ฟังก่อน แล้วจึงให้ข้อคิดเห็นให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งเรื่องที่โรงเรียนเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ RT อาจเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีน่าสนใจมาให้โรงเรียนได้พัฒนาต่อยอดอย่างอิสระ เพื่อให้สู่การพัฒนานวัตกรรม โดยอาจใช้การต่อยอดนวัตกรรมโดยใช้สิทธิบัตรนานาชาติ (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก www.Toryod.com)
        6. การใช้กระบวนการพัฒนาสู่โรงเรียนต้นแบบในฝันควบคุ่ไปกับกระบวนการวิจัย โดยใช้นวัตกรรมชุดโครงการวิจัย (Research Project) โรงเรียนทำศึกษานิเทศก์ทำ สามารถนำไปประยุกต์เป็นผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนระดับได้
        7. การเตรียมควมพร้อมอง RT ในการประเมิน เนื่องจากระยะทางและระยะเวลาในการประเมินเกือบทั้งวัน ผู้ประเมินต้องสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
        8. การให้การเสริมแรงและชมเชย ให้กำลังใจทั้งครูและนักเรียน

สิ่งที่เป็นปัญหาแลอุปสรรค
       1. งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ แต่ก็ทำด้วยใจ ใช้รถส่วนตัวในราชการ
       2. ผู้ประเมินมีความรู้ไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระ ต้องใช้เครือข่ายการนิเทศมาให้การสนับสนุน
       3. บางโรงเรียนผู้บริหารและครูขาดความเชี่อมั่นและศรีทธาในตัวศึกษานิเทศก์  ต้องใช้ทฤทษฎีคนแปลกหน้า (ไม่ใช่คนหน้าแปลก) เข้ามาให้การสนับสนุน
       4. นโยบายเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการคงสภาพของโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 1 ยังไม่ชัดเจน

รูปแบบการนิเทศ
       ผลจากการนิเทศศึกษานิเทศก์จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสุพรรณบุรี ได้นำเสนอรูปแบบการนิเทศขึ้นใหม่ที่เรียกว่า 2 เจดีย์ (2JEDEES Style) เนื่องจากจังหวัดนครปฐมมีองค์พระปฐมเจดีย์และจังหวัดสุพรรณบุรีมีพระบรมราชานสรณ์ดอนเจดีย์  จึงเป็นที่มาของการนิเทศแบบ 2JEDEES  ซึ่งยังไม่ได้ตัวกำหนดของ 2JEDEES ยังไม่สมบูรณ์ จึงเชิญชวนทุกท่านร่วมให้ข้อเสนอแนะครับ

       2     =  ศึกษานิเทศก์ (RT) และโรงเรียน
       J     =
       E     =
       D     =  Development
       E      =
       E      =  Evaluative Research
       S      =

      

หมายเลขบันทึก: 234858เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2009 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 06:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ ที่รายงานข่าวให้ทราบความเคลื่อนไหว ของโรงเรียนในฝัน และการดำเนินการโรงเรียนในฝันค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ ที่รายงานข่าวให้ทราบความเคลื่อนไหว ของโรงเรียนในฝัน และการดำเนินการโรงเรียนในฝันค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท