ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์


5 ส, TPM, QC

ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ: 5 ส, TPM, QC

 

5

            5 ส คือ การจัดระเบียบและปรับปรุงที่ทำงานสถานประกอบกิจการ และงานของตนเองด้วยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยใช้วิธี

·                   สะสาง

·                   สะดวก

·                   สะอาด

·                   สุขลักษณะ

·                   สร้างนิสัย

กิจกรรม 5

1. เพื่อจัดระบบราชการและงานบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ

2. เพื่อสร้างและพัฒนาจิตสำนึกการปรับปรุงของผู้ปฏิบัติงานให้เกิดขึ้น

3. เสริมสร้างการทำงานเป็นทีมที่ดี โดยอาศัยหลักการมีสาวนร่วม

5 ส ย่อมาจากภาษาญี่ปุ่น 5 คำ คือ

1. Seiri (เซริ) = สะสาง (ทำให้เป็นระเบียบ)

2. Seition (เซตง) = สะดวก (หยิบจับ มองเห็น และวางในที่ที่เหมาะสม)

3. Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทุกอย่างต้องสะอาด)

4. Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (ถูกหลักอนามัย)

5. Shitsuke (ชิทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย)

วิธีการทำกิจกรรม 5 ส มีหลักสำคัญ ดังนี้

                1. รวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

                2. วางกิจกรรม 5 ส ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับเป้าหมาย

                3. กำหนดทำกิจกรรมเรียงตามลำดับแต่ละ

                4. ให้ผู้บริหารทำการตรวจเช็ค เพื่อรับรู้สถานะที่แท้จริงของการดำเนินกิจกรรม 5 ส ด้วยตนเอง

                5. ใช้วิธีถ่ายรูปไว้ทั้งก่อนลงมือทำและหลังทำกิจกรรม 5

ความสำคัญของ 5

                1. เป็นพื้นฐานของระบบคุณภาพทุกระบบ

                2. สร้างนิสัยและจิตสำนึกที่ดีในการทำงาน

                3. สร้างระบบ ระเบียบ การจัดเก็บ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามแก่หน่วยงาน

                4. เสริมประสิทธิภาพการทำงาน

                5. ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์แก่ผู้มารับบริการ

                6. ง่าย ประหยัด แต่คุ้มค่า

 

TPM

                TPM ย่อมาจากคำว่า Total Productive Maintenance แปลเป็นไทยว่า การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมหลักการของ TPM นั้น เริ่มต้นการพัฒนามาจากการดำเนินการ PM หรือการทำ  Productive Maintenance และได้รับการดำเนินการมาเรื่อยๆ โดยความคิดพื้นฐานเริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสีย และสามารถเดินเครื่องตามที่ต้องการได้

เป้าหมายของ TPM

                การตั้งเป้าหมายของ TPM เพื่อใช้ในการวัดระดับความสำเร็จในการทำกิจกรรม เพื่อให้ทุกคนในองค์กรทำงานไปในทิศทางเดียวกันโดยมีเป้าหมาย คือ

·          เครื่องจักรขัดข้องจะต้องเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) คือ เมื่อมีการทำ TPM แล้ว เครื่องจักรจะต้องไม่ขัดข้องหรือมีปัญหาขณะทำงานอยู่ หรือมีโอกาสขัดข้อง,เสียน้อยที่สุด

·          อุบัติเหตุจะต้องเป็นศูนย์ (Zero accident) คือ ขณะทำงานอุบัติเหตุจะต้องไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดและมีการสูญเสียน้อยที่สุด

·          ของเสียจะต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect) คือ จะต้องไม่มีของเสียเกิดขึ้น ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นจะต้องมีคุณภาพมากที่สุด มีตำหนิน้อยที่สุด

 

QC

            เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวางแผนและป้องกันปัญหา เพื่อให้ได้นโยบายและมาตรการเชิงรุกที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม

ความสำคัญของเครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools)

                เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง หรือเครื่องมือสำหรับการบริหาร 7 อย่าง (The Management Tools) เป็นเครื่องมือที่ทางประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเพิ่มเติมมาจากเครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง (The 7 QC Tools) ให้มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับหัวหน้า/ผู้จัดการแผนก/ฝ่ายขึ้นไป ใช้ช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหารเพื่อวางแผนกลยุทธ์

หมายเลขบันทึก: 234594เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2009 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท