ผู้ดูแลเบาหวานประจำหมู่บ้าน” อำเภอเมือง พิษณุโลก


“การทำงานที่ทำให้เราใกล้ความสุขมากเท่าใด ก็ทำให้เราเข้าใกล้ความสำเร็จของงานมากเท่านั้น นี้เป็นบทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา.....”

“ผู้ดูแลเบาหวานประจำหมู่บ้าน”

อำเภอเมือง พิษณุโลก

จากเวลาเพียงไม่มีกี่ชั่วโมง ที่ได้ฟังอาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด คุณธวัช หมัดเต๊ะและทีม ถ่ายทอดความรู้  outcome mapping “แผนที่ผลลัพธ์” อาจจะไม่มากพอที่จะสามารถเข้าใจได้ทั้งหมด  ไม่ใช่เพราะถ่ายทอดไม่ดีนะคะ  แต่เพราะองค์ความรู้ เรื่องนี้ เป็นขั้นเป็นตอนละเอียด  ลึกซึ้ง  น่าสนใจ   ...อ้อเองรู้แต่ว่า  ปิ๊ง...เหมือนพบสิ่งของที่ถูกใจ   ใช่เลย  ...เอาละปีนี้จะใช้แผนที่นำทาง  การทำงาน

.....กลับมาทำงาน...อาจารย์นิพัธ  ก็นำมาถ่ายทอดซ้ำอีก   แต่ตัวเองก็จำได้แป๊บ แป๊บ  ก็ลืม  ....เหมือนโง่ๆ เอ๋อ ๆ ยังก็ไม่รู้..    ก็เลยต้องนำมาลองใช้ แบบไม่เข้าใจก็ถามดะ   ลองมานั่งเรียนรู้.....นำสู่การแทรกสิ่งที่ได้เรียนรู้  ใช่ ไม่ใช่ ถูก ไม่ถูก ไม่รู้   รู้แต่การใช้แผนที่ทำให้เรา...มองงานเป็นเรื่องเป็นราว   มอง  งานที่ดูสนุก  เพราะได้ มองหาคนร่วมทาง  และได้ใช้สตินิ่งและคิด  ว่าผู้ร่วมทาง หรืออาสาสมัครที่มา  ใครจะทำเราไปถึงฝัน  โดยที่เราและผู้ร่วมทางต่างก็ได้ เหมือนๆกัน 

 

ก็ดีนะ เพราะเวลาทำงานโครงการ กิจกรรมอะไร  ที่เวลาประชุม แล้วได้ฟังแต่ตัวชี้วัด ฟังทุกครั้งๆ แล้วจะอ๊วก    เหมือนบีบบังคับให้ทำให้ได้   ปางตายประมาณนั้น  ก่อนตายต้องทำให้ผ่านเกณฑ์  ไม่เช่นนั้น เราอาจได้ เข้าใกล้คนใหญ่คนโต  ฮ่า  ฮ่า     “ ตัวเอง  ทำ  มาย  ตัวเลขเป็นงี้...หละตัวเอง......มามะ  มาหาหน่อย      มันเครียด ไม่เห็นน่าทำเลย   บางทียังนึก  “ วัดดิฉันบ้างซิคะ..ไม่วัดชั้นมั่งหรือไง”   งานในวงการสาธรณสุข เป็นงานที่ทำกับคน ลึกซึ้ง...คนที่มีชีวิต มีความสัมพันธ์ต่อกัน  เป็นงานที่ละเอียดลออ 

“การทำงานที่ทำให้เราใกล้ความสุขมากเท่าใด ก็ทำให้เราเข้าใกล้ความสำเร็จของงานมากเท่านั้น  นี้เป็นบทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา.....”  

“ผู้ดูแลเบาหวานประจำหมู่บ้าน”  เป็นอีกดอกผลของการปิ๊ง....งานของหมอฝน...........อยากนำการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ มาเปลี่ยนแปลงพื้นที่เล็กๆ ในหมู่บ้านสัก10 หรือ 20 หมู่บ้าน ในอำเภอเมือง พิษณุโลก ...ทำให้...บ้านนี้ บ้านนั้น ที่มีผู้ดูแลร่วมเข้าไปดูแล เป็นบ้านที่มีความสุข สังคมนี้ที่เริ่มกลับมาน่าอยู่  สัมผัสได้จาก  ความรัก ความห่วงใย ลงไปช่วยดูแล ช่วยเจาะเลือด  ดูแลเหมือนญาติ แต่ไม่ใช่ญาติ  ดูซิบ้านนี้ สังคมนี้น่าอยู่ไหม  .ตัวชี้วัดดีๆอย่างนี้.วัดไหมจ๊ะ

            เข้าเรื่อง

            จุดประกายจาก KM2DM เดือนสิงหาคม 51 ที่ได้ดู VCD ที่มีอาจารย์วัลลา แปลงร่างจากอาจารย์เป็นผู้กำกับเรื่องราว “เบาหวาน” ถ่ายทอดการทำงานของเครือข่ายเบาหวานของ “หมอฝน”  ก็เกิดอาการ มีฝันและจินตนาการ .ฝัน ฝัน หวาน..อยู่..2 เดือน  อาจารย์นิพัธ  ก็เอาไม้มาเขี่ย...แฮะ  แฮะ  ....มาสะกิดให้ตื่นจากฝัน  แล้วบอกให้ไปวางแผนการทำงานมา ...

 บ้านกร่างจึงเป็นพื้นที่นำร่องที่เริ่มทำโดยป้าเนียร พี่ปรีชา และชุมชนมาร่วมหารูปแบบ    ตอนนี้กำลังเริ่มผลิดอกออกผลเป็น seven สุขภาพ” ที่มีแกนนำมาร่วมช่วยดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ติดตาม เจาะเลือด ทำ SMBG  ดูแลวิถีชีวิตที่ทำให้เพื่อนเบาหวานอยู่ในวังวน ของการควบคุมไม่ได้  ตั้งคลินิกในหมู่บ้าน   (รออ่านใน seven สุขภาพ ของป้าเนียร  นะคะ) โดยเริ่มในเดือน ตุลาคม 51  คะ  ...เมื่อเรามองดูแล้วเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะขยายที่พื้นที่อื่น ก็เริ่ม start ทำ  คะ  และก็นำสู่การวางแผนและออกแบบรูปร่างหน้าตาของโครงการและกิจกรรม

18 ธันวาคม 51 อีกละ ประชุมทีม   เปิดหนัง KM2DM ได้กระท่อนกระแท่นเพราะแผ่นติด  แต่ก็ได้พื้นที่นำร่องที่เข้ามาร่วมฝันกับเรา 10 แห่ง   โอ้โห...ล้วนแต่เป็นพื้นที่ที่น่าทำอย่างมาก เพราะ หนึ่ง ปริมาณเบาหวานในพื้นที่ทะลักทลาย ชุกชุมเชียว ; สอง.คนไข้ของพื้นที่แน่นแออัดทั้งในร.พ และPCU  สาม. พื้นที่เขื่อนขันธ์ วัดจันทร์ เป็นชุมชนเมืองมาก หาเช้ากินค่ำ หาค่ำกินเช้า เบาหวานที่ใช้ยาอินสุลินแน่นที่สุดที่พื้นที่นี่ แถม...นะ  กลุ่มเบาหวานญาติทิ้ง ลูกไม่ดู ยากจนข้นแค้น  เครียดปี๊ดๆๆ ความจำเสื่อม ตาบอด อ่านหนังสือไม่ออก   จน เครียด กินเหล้า รวมพลอยู่แถวนี้เอง  

 เอาเป็นว่า ถ้าชุดนี้รวมตัวมาตรวจยกก๊วน วันเดียวกัน ก็ต้องตั้งกระปุก para ไว้ให้อาจารย์วิรัช   อ้อ และทุกจุด  ....กรึ๊บ  กรึ๊บ  “..โอ้..มาย.ก็อด  ช่วยด้วย ยาดม ยาอม ยาหม่อง ขอด่วน”

          การบ้านของ 10 พื้นที่ คือ การไปหาผู้ดูแลประจำหมู่บ้าน  ซึ่ง เรา lock  spec  ก็ลองทำโดยใช้กำหนด OUTCOME CHALLENGE ของ DP ซึ่งคือผู้ดูแลประจำหมู่บ้าน ดังข้างล่าง 

 

การจะทำได้ก็มานั่งนึก รอบด้าน 360 องศา ได้ ภาคีเครือข่าย พอหอมปากหอมคอ ดังนี้

Direct partners   ของงานนี้ ได้แก่  อาสาสมัครผู้ดูแลเบาหวานประจำหมู่บ้าน ผู้ป่วย  ญาติผู้ป่วย ทีมสุขภาพPCU  และทีมในโรงพยาบาล             ตอนแรกจะเอาใครต่อใครมาร่วมแบบ เพียบ..ไปด้วยภาคี  แต่ก็ต้องหยุดคิด แล้วตูจะไปทำไหวเหรอ  เลยเอาที่เป็นไปได้

Strategic partners   ที่ต้องทำงานด้วย    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด  สสอ  อบต.  

 

ลองทำ และลองเลือก DP คือ ผู้ดูแลเบาหวานประจำหมู่บ้าน มา กำหนด OUTCOME CHALLENGE ของผู้ดูแลเบาหวานประจำหมู่บ้าน  ว่าเป็นยังไงดีนะ  จะเอาแบบเลิศสะแมนแตนแบบในฝัน    หรือแบบอะไรก็ได้ ใครก็ได้     หรือแบบไม่ตั้งไว้เลย    ...ก็ไม่ได้เพราะเรามีผู้ร่วมทีมทำงานหลายส่วน หลายพื้นที่   ไม่กำหนด คงมั่วตั้ว สะเปะสะปะ   พอมาลองนั่งเขียน   ก็ถามว่าผู้ดูแลเบาหวานประจำหมู่บ้าน ควรเป็นอย่างไรที่จะทำให้เราทำงานได้ดี   ..เสริมกันไปกันมา  ได้ประมาณนี้

·       เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน 

·       เป็นแกนนำที่ดีของชุมชน

·       เป็นเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ดี หรือกำลังคุมได้ดี มีประวัติ HbA1c < 7.5%  ประเภทมีใจจะดูคนอื่นแต่ไม่มีใจจะดูแลตัวเองให้ดีก่อน  เราก็ขอคะ  เดี๋ยวมันดูไม่เหมาะ  

·       ต้องมีใจรักในงาน มีความตั้งใจที่จะทำงานโดยไม่หวังผล หวังผลได้แต่เป็น หวังผลเห็นรอยยิ้ม เห็นความสุข ที่เพื่อนเบาหวานควบคุมโรคได้ 

·       ต้องผ่านการพัฒนาความรู้, ศักยภาพในการดูแล และสามารถถ่ายทอดความรู้, ทักษะแก่เพื่อนเบาหวานที่จะดูแล (ข้อนี้เราต้องมาจัดอบรมอีกครั้ง)

 

เดี๋ยวลองทำ แล้วจะมาเล่า คนที่เราตามหา คนที่เราฝันถึง คนที่เราเฝ้ารอ มีคุณสมบัติที่เลิศ ประมาณนี้มีมากน้อยแค่ไหน  อะ อะ  ไม่ได้ตัง ได้แต่เครื่องตรวจน้ำตาลเป็นอาวุธ   ใครนะจะมา

อีกสองเดือนจะมาเล่าว่าเมื่อได้ทำแล้ว Progress Market ของ OC เป็นไง แต่ตอนนี้ฝันได้ Love to See  คือ  เมือได้ทำแล้วอยากเห็นการช่วยเหลือเกื้อกูล ดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน โดยคนในชุมชนเอง  อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน  การช่วยเหลือเกื้อกูลของสังคมที่เราอยู่จะกลับมาง่ายขึ้น  รั้วหรือประตูบ้าน จะไม่ได้กั้นความรักของผู้คนที่มีต่อกัน  เราจะร่วมกันสร้างและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพที่ดี ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่เราดูแลดีขึ้น  จากกระแสความรัก ความเอื้ออาทร ที่มีต่อกัน

ความจริงที่ว่า   ...วันนี้เราสามารถเดินทางไปถึงโลกพระจันทร์แล้ว แต่เรากลับพบว่าแค่การข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้านกลับยากเย็น.....จะสลายหายไป

 

ยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริม OC และ PM

·       ทำประชาคมในชุมชน โดยทุกภาคส่วนในชุมชน

·       จัดเสริมความรู้ เพิ่มศักยภาพอาสาสมัครแกนนำในชุมชน

·       สนับสนุนงบประมาณเบื้องต้น

·       เสริมสร้างกระบานการเรียนรู้ โดยมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนเพื่อขยายเครือข่าย

·       นำความรู้สู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง

·       พัฒนากระตุ้นโน้มน้าวให้เกิดความแข็มแข็งของกลุ่มผู้ดูแล

·       สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมในการดูแลตนเองแบบยั่งยืน

·       มีแนวทางในการยกย่องคนต้นแบบ, ครอบครัวต้นแบบ

 

 

มือใหม่หัดขับ.....ในเรื่องนี้คะ......  พี่โต้งขา อาจารย์นิพัธ อาจารย์วัลลา  ต้องการคำแนะนำคะ

ผู้เล่า อ้อ รัชดา

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แผนที่ผลลัพธ์
หมายเลขบันทึก: 234345เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2009 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตัวเองได้ไปอบรม OM มาเหมือนกันครับ
  • แต่ยังไม่เข้าใจซะที
  • ต้องอ่านจากหนังสือเพิ่มเติมครับ น่าจะได้อะไรดีดีเพิ่มขึ้น
  • Outcome Mapping by Sarah Earl, Fred Carden and Terry Smutylo

เป็นกำลังใจให้ และเชื่อมั่นว่าต้องไปได้สวย ก็ตั้งใจปานนี้แบบมีอารมณ์ขันมาเป็นรถ และมีภาคีเครือข่ายที่ดี คนพิษณุโลกโชคดีจังนะคะ

ต้องขอปรบมือและชื่นชมทีมเบาหวานพุทธชินราชที่ริเริ่มเอา OM มาใช้และจะต่อยอดงานของหมอฝน แสดงให้เห็นว่ามีจิตวิญญาน KM อยู่ในทีมงาน

งานมหกรรม KM2DM เราจัดในเดือนกันยายนนะน้องอ้อ ตอนที่มีประกาศภาวะฉุกเฉินน่ะ ไม่ใช่สิงหาคมนะจ๊ะ

เปิด VDO แล้วแผ่น สงสัยจะเอา DVD ไปเปิดใช่ปล่าว ดูคอมพิวเตอร์ด้วยว่าทันสมัยทันกันไหม (ว่าไปนั่น) มีคนแนะนำว่าให้ copy ไฟล์ไว้ในเครื่องเลยจะไม่มีปัญหา

Cheer!!!

แก้ไขที่พิมพ์ตก "เปิด VDO แล้วแผ่นติด"

แผนที่ผลลัพธ์ ท่าทางจะไปได้ดี อ้อ ลองดูนะสิบแห่งถ้าได้คนต้นแบบหัวหน้าหมู่เบาหวานตาม outcome challenge ที่คาดหวังไว้ซักยี่สิบคน งานดูแลผู้ป่วยเบาหวานของเราก็จะก้าวหน้าไปอีกขั้นนึง

ผมเสนอ รูปแบบ อสม โรคเรื้อรัง อาจเรียกชื่อใหม่ ว่า หมออาสาหมู่บ้าน เน้น ฝึกฝน ความรู้ ด้านวัฒนธรรมการกิน

แบบสร้างสุข คือ แบบดีที่อิงภูมิปัญญาไทย

แบบ ปัจจุบัน ที่สร้างโรค ตามสังคม สมัยนี้

เราต้องสร้างคนไปช่วย ขับเคลื่อน วัฒนธรรมใหม่ ในการบริโภค ในชุมชน

ลดการบริโภคแบบปัจจุบัน

เพิ่มโอกาส ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ในหมู่บ้าน

ลดโอกาส น้ำตาล น้ำหวาน น้ำมันทอด ผลไม้เกิน สุรา ยาสูบ ในหมู่บ้าน

หากเราใช้ สุขภาพสังคม เป็นแนวทาง น่าจะเป็นการเรียนรู้แบบกลุ่ม ที่ทรงพลัง ต่อ นโยบายสาธารณะในชุมชน และ ปัจจัยกำหนดทางสังคมอื่นๆได้

แม้แต่การแปรรูปสมุนไพรอย่างง่าย ในหมู่บ้าน กันเอง ที่เป็น ยาอายุวัฒนะ

หากเราสร้างกระแส อายุวัฒนะด้วยการพึ่งตนเอง อย่างง่าย เช่น ทานบัวบก พริกไทย

บอระเพ็ด แห้วหมู ไปเรื่อยๆ ชุมชนจะได้สติ และ ติดกระแส รักสุขภาพไปทีละน้อย

จะค่อยๆห่าง ปัจจัยร้าย โดยเกาะปัจจัยดี

ที่น่าห่วง คือ พวกเรา ยังไม่รู้ว่า ยาอายุวัฒนะของชุมชน คือ อะไร จะสนับสนุน และ ต่อยอด อย่างไร

ผมคิดว่า ให้ทาน ยาเบาหวาน คุมอาหาร ร่วมกับทาน ทานผักสมุนไพร อายุวัฒนะไปด้วย และ เน้นติดตามผล อาจจแบ่งกลุ่ม ที่ทาน และ ไม่ทาน และ ทานบ้างไม่ทานบ้าง

2-3 เดือน เราก็ได้ความรู้ และความจริง ไป เสริมพลังชุมชน ที่เป็นประสบการณ์ตรงครับ

ต้องย้ำว่า กินผักสมุนไพร อายุวัฒนะ ในหมู่บ้านเท่านั้น ไม่ซื้อหาจากภายนอก เพราะไม่พึ่งตนเอง ไม่ตามหลัก ศก พอเพียง

เราไม่ควรพึ่งพาวิชาการฝรั่งฝ่ายเดียว ในการแก้ปัญหา ควรทบทวนภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วนำมารับใช้ชุมชน อย่างมีสติ และติดตามผล เสมือนหนึง operation research นั้น คือ KM R2R หรือ เรียก ปัญญาปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติปัญญา ก็ได้

รพ หาดใหญ่

งานเบาหวานของโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก...มีมากมายจริงๆนะคะ..ในความมากมายนั้นก็มักจะมีประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดให้แก่งานอื่นๆต่อไปได้ด้วยนะคะ..เยี่ยมเลย

ไม่เลวเลยครับ แม้จะเป็นการทดลองใช้ OM ครั้งแรก

ที่น่าสนใจต่อก็คือ รายละเอียดเทคนิคของแต่ละ กลยุทธ์ เป็นอย่างไร ทำอย่างไร ผลออกมาอย่างไร แตกต่างจากที่เราคิดไว้แต่ตอนแรกหรือเปล่า?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท