ความปลอดภัยส่วนบุคคลของนักสังคมสงเคราะห์


ความปลอดภัยส่วนบุคคลของนักสังคมสงเคราะห์

 

ผศ. โสภา  อ่อนโอภาส

 

                นักสังคมสงเคราะห์เป็นวิชาชีพที่ต้องช่วยเหลือผู้ตกทุกข์เดือดร้อน มักจะถูกคากว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ใช้บริการ แต่หลายครั้งที่นักสังคมสงเคราะห์ต้องเผชิญกับผู้ใช้บริการที่อารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย ข่มขู่ ชอบใช้ความรุนแรง สถิติที่นักสังคมสงเคราะห์ต้องเผชิญกับความรุนแรงจากผู้ใช้บริการมากขึ้น นับตั้งแต่การที่ผู้ใช้บริการถูกตัดงบประมาณการช่วยเหลือ ระบบกฎเกณฑ์การช่วยเหลือที่ไม่ยืดหยุ่น การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรม การใช้สารเสพติด ความรุนแรงในสังคม และทัศนคติการต่อต้านรัฐบาล หรืออำนาจรัฐ

                การที่ต้องทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับอันตราย ทำให้นักสังคมสงเคราะห์บางคน มีความวิตกกังวล เบื่อหน่าย ขวัญและกำลังใจในการทำงานตกต่ำ ซึ่งทำให้มีอัตราการออกจากงานก่อนวัยเกษียณสูง ฉะนัน้นักสังคมสงเคราะห์จึงต้องระวัดระวังตนเองในการปฏิบัติงาน มีความรอบคอบ และช่างสังเกต ผู้ใช้บริการที่อาจก่ออันตราย มักมีลักษณะดังนี้

1.      ผู้ใช้บริการที่โกรธ และรู้สึกว่าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน หรือบุคคลที่ติดต่อเบื้องต้น เมื่อถูกส่งต่อสู่นักสังคมสงเคราะห์ อาจจะระบายอารมณ์ ความรู้สึกที่รุนแรง และควบคุมไม่ได้

2.      บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้ใช้บริการแต่เป็นญาติ ครอบครัว เพื่อน ที่มีอารมณ์ โกรธแค้น ที่หน่วยงาน หรือบุคลากร ของหน่วยงานปฏิเสธ หรือไม่เห็นใจช่วยเหลือผู้ใช้บริการ

3.      ผู้ใช้บริการที่มีสภาวะจิตใจไม่ปกติ ควบคุมตนเองไม่ได้ อาจจะเนื่องมาจากการใช้สารเสพติด อาการเมาสุรา มักจะใช้ความรุนแรง

4.     บุคคลอันตรายที่อาจจะก่ออาชญากรรมได้ง่าย ตามชุมชน ที่ที่นักสังคมสงเคราะห์เดินทางไปช่วยเหลือบุคคลอื่น

5.      เชื้อโรคต่างๆ ที่อาจได้รับจากการใกล้ชิดกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

                นักสังคมสงเคราะห์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนการทำงานในเรือนจำ สถานพินิจ หน่วยงานจิตเวช ของโรงพยาบาล  บ้านพักคนเร่ร่อน บ้านพักฉุกเฉิน หน่วยงานหรือองค์กรเหล่านี้มักเป็นสถานที่ที่นักสังคมสงเคราะห์ได้รับอันตรายเพราะนักสังคมสงเคราะห์ต้องปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ใช้บริการที่มีอารมณ์รุนแรง หรือควบคุมตนเองได้น้อย ตามสภาวะการณ์ที่ยุ่งยากสับสน นับว่าเป็นภาวะเสี่ยงในการปฏิบัติงานเนื่องจากการปฏิบัติงานที่ต้องตรวจสอบและคุ้มครองเด็กจากภาวะอันตราย การช่วยเหลือเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มต่างๆ การทำงานกับเยาวชนที่มีความก้าวร้าวรุนแรง การช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสิ่งเสพติด การเคลื่อนย้ายผู้ที่ไม่ปรารถนาจะเคลื่อนย้าย เช่นคนเร่ร่อน ผู้ที่มีความผิดปกติทางสมองและปัญญา ผู้ต้องขัง ในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้ใช้บริการเหล่านี้บางครั้งอาจจะต้องเคารพสิทธิ์ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การยอมรับผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมักจะคุ้นเคยชินกับการใช้วาจาไม่สุภาพ การมีลักษณะข่มขู่ของผู้ใช้บริการ โดยคิดว่าเป็นการแสดงออกถึงความอ่อนแอ ไม่มั่นคง ไม่มีเหตุผล ซึ่งไม่น่าจะกระทำความรุนแรงได้ นักสังคมสงเคราะห์ บางรายคิดว่าตนเองมีทักษะการช่วยเหลือที่ดี สามารถที่จะพูดจาหว่านล้อมให้ตนเองพ้นจากภาวะอันตรายได้ ซึ่งหากมั่นใจสูงมากอาจจะทำให้ละเลยขาดความระมัดระวังได้

หมายเลขบันทึก: 234103เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2009 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท