Obligations Erga Omes ในบริบทของกฎหมายระหว่างประเทศ


erga omnes เป็นภาษาละตินแปลว่า “towards all” แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ความผูกพันเป็นการทั่วไป "

                 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (the International Court of Justice) ได้ให้คำจำกัดความ พันธกรณีที่ผูกพันเป็นการทั่วไป” (obligations erga omnes) โดยศาลดังกล่าวได้อ้างในเนื้อหาและสนับสนุนใน Article 53 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 ซึ่งเป็นสิ่งที่รับรองและวางหลักเบื้องต้นว่ากฎหมายบังคับเด็ดขาด (jus cogens หรือ peremptory norm) มีคำจำกัดความว่าอย่างไร ในคดี Barcelona Traction ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้วางหลักเกี่ยวกับลักษณะของพันธกรณีที่ผูกพันเป็นการทั่วไปว่า

                  พันธกรณีดังกล่าวมีที่มาจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายระหว่างประเทศร่วมสมัย (contemporary international law) เช่น การรุกราน (aggression) และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) เป็นต้น และหลักการ (principles) และกฎเกณฑ์ (rules) ที่เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (basic rights of human person) รวมถึงการให้ความคุ้มครองมิให้มีการค้าทาส (slavery) และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (racial discrimination)

                  นอกจากนี้สิทธิต่างๆ ที่รัฐให้ความคุ้มครองแก่พลเมืองของตนร่วมสมัยนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป (general international law)และตราสารระหว่างประเทศ (international instruments) หลายฉบับที่มีลักษณะที่เป็นสากล (universal character)หรือกึ่งสากล (quasi- universal character) ทั้งนี้ในคำวินิจฉัยของคดี Barcelona Traction ศาลได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ด้วยเหตุที่สิทธิมนุษยชน (human rights) มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น จึงควรให้ความสำคัญกับการให้ความคุ้มครองจากการถูกปฏิเสธความยุติธรรม (protection against denial of justice) อย่างไรก็ตามในระดับสากลนั้นตราสารเช่นว่านั้นซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมิได้กล่าวถึงอย่างเป็นทางการในเรื่องความสามารถเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อของละเมิดสิทธิเช่นว่านั้นโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ (nationality) ของบุคคลดังกล่าว

                  ดังนั้นสิทธิต่างๆที่บุคคลพึงได้รับความคุ้มครองในทางระหว่างประเทศอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ ประเภทแรกเป็นลายลักษณ์อักษรอันได้แก่สิทธิที่มาจากตราสารระหว่างประเทศที่มีลักษณะสากลหรือกึ่งสากล (โดยเฉพาะอย่างยิ่งตราสารระหว่างประเทศประเภทสนธิสัญญา (treaties)) และประเภทที่สองไม่เป็นลายลักษณ์อักษร อันได้แก่สิทธิที่มาจากกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป (general international law) กล่าวคือ กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (customary international law) กับหลักกฎหมายทั่วไป (general principle of law) อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าศาลจะใช้บังคับหลักกฎหมายระหว่างประเทศจะรับรองอย่างเป็นทางการว่ารัฐมีความสามารถที่จะให้ความคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อจากการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลดังกล่าว เว้นแต่จะไม่มีสนธิสัญญากำหนดไว้โดยเฉพาะ ศาลมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิที่รัฐให้ความคุ้มครองที่รับรองไว้โดยชัดแจ้งไว้ในสนธิสัญญาพหุภาคีกับหลักการที่รัฐทั้งมวลมีผลประโยชน์ทางกฎหมายร่วมกันในอันที่จะให้ความคุ้มครอง จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะอธิบายว่าเหตุใดสิทธิตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศในการอ้างถึงพันธกรณีที่ผูกพันเป็นการทั่วไป (obligations erga omnes) ไม่สามารถที่จะทำให้สนธิสัญญาที่มีลักษณะสากลหรือกึ่งสากลมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้

บรรณานุกรม

M. Cherif Bassiouni, Introduction to International Criminal Law. Ardsley, New York: Transnational Publishers Inc., 2003.

 

Nina H.B. Jorgensen, The Responsibility of States for International Crimes. Oxford: Oxford University Press, 2000.

 

Maurizio Ragazzi, The Concept of International Obligations Erga Omnes. Oxford: Oxford University Press, 1997.


                                
หมายเลขบันทึก: 234072เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2009 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับอาจารย์

ขอบคุณมาก

อาจารย์เคยเรียนกับอาจารย์แหวว ไหมครับ

คนร้อยเอ็ดที่เฮ้ดงานอยู่ศรีสะเกษหลายปี

ยินดีด้วยที่สำเร็จการศึกษา

พี่ต้อย มธ.

ขอบคุณมากค่ะคุณธนัญชัย

ดิฉันเคยเรียนกับอาจารย์แหววค่ะ ท่านใจดีมากๆ และก็ได้แนะนำให้ดิฉันบล็อกสมัยเรียนค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

ขอบคุณมากค่ะพี่ต้อย

คิดถึงนะคะ พี่ต้อยเองก็สู้น้า

ฝากความคิด อาจารย์พิศิษฐ์ด้วยนะครับ

ผมคุนหน้าอาจารย์มากครับ (จบที่เดียวกันแตผมจบหลังอาจารย์ครับ)

ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

สวัสดีค่ะคุณวิญญาณเสรี ดิฉันจบจากสถาบันเดียวกับคุณค่ะ แต่อาจเห็นบ่อยๆ เพราะมักนั่งอยู่ใต้ common room คณะนิติศาสตร์ มธ. เป็นประจำค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ ถ้าเจอกันก็ทักทายกันได้ยินดีมากๆ ค่ะ

อยากทักทายบ้างอ้ะค่ะ

พอดีมา search หาคำ "erga omnes" ค่ะ

คิดถึงนะคะ พี่กิ๊ก ขอบคุณที่ให้ค.รู้

/น้องเมเปิ้ลค่ะ

ps.เมเปิ้ลส่ง sms ไป HBD พี่กิ๊กด้วยค่ะ ไม่ทราบได้รับรึป่าวคะ?

สวัสดีจ้า พี่ได้รับ sms แล้ว ขอบคุณมากๆ เลยนะที่ยังจำได้

และพี่ดีใจมากที่มันเป็นประโยชน์จ้า มีอะไรก็ถามได้เลยนะจ๊ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตอนนี้หนูเรียนคดีเมืองกับท่านอาจารย์พิรุณา ติงศภัทิย์ ค่ะ ตอนแรกก้ยังงงๆกับภาษาละติน (เคยเรียนไปตั้งแต่ปี 1 วิชาแพ่งหลักทั่วไป แต่ก้ลืมไปบ้างแล้ว 5555) พอมาอ่านที่อาจารย์ได้อธิบายไว้ ก้เข้าใจมากขึ้นค่ะ ขอบคุณมากค่ะ☺️☺️



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท