การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน


การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ก่อนอื่นต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชา(ประกอบด้วยหลายหน่วยการเรียนรู้)ให้เห็นภาพรวมของวิชา แล้วจึงนำแต่ละหน่วยการเรียนรู้ไปออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิค Backward Design ก่อนนำไปจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้รับความรู้อย่างเข้าใจที่เหมาะกับบริบทของนักเรียนและโรงเรียนแต่ละแห่ง แทนการสอนตามแบบเรียน

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ขั้นแรกต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชาก่อน เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของรายวิชา ดังนี้

1.ศึกษาตัวชี้วัดทั้งหมดในคำอธิบายรายวิชา

2.จัดกลุ่มตัวชี้วัดที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันแล้วตั้งชื่อหน่วยให้น่าสนใ

3.กำหนดสาระสำคัญของแต่ละหน่วย

4.กำหนดจำนวนชั่วโมง และคะแนนสำหรับแต่ละหน่วยให้เหมาะสม(รวมตลอดปี/ภาคเรียนเท่ากับที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา)

                สาระสำคัญ คือองค์ความรู้สำคัญ เป็น ความคิดรวบยอด(Concept) ที่เป็นหลักการ ที่ต้องการให้ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ ในสาระสำคัญน่าจะมี 3 ส่วน ได้แก่ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะของวิชา ที่ต้องการให้เป็นองค์ความรู้ที่ติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน

เมื่อได้โครงสร้างรายวิชาในภาพรวมแล้ว จึงนำแต่ละหน่วยมาออกแบบการเรียนรู้โดยเทคนิค  Backward Design ดังนี้

1.       กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยฯ มีดังนี้

1.1    สาระสำคัญ(Concept) เป็นองค์ความรู้โดยรวมที่ต้องการให้ฝังติดตัวผู้เรียนไปเป็นเวลานาน หรือที่เรียกว่าความเข้าใจที่คงทน(Enduring Understanding)(เป็นองค์ความรู้ที่เป็นหลักการ หรือหลักวิชาของแต่ละเรื่อง) เช่น "เซลล์ของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยนิวเคลียส ไซโทพลาสซึม และเยื่อหุ้มเซลล์ ภายในเซลล์มีการผ่านของสารโดยการแพร่ หรือออสโมซิส เพื่อดำรงความสมดุลของเซลล์และเพื่อการเจริญเติบโตของเซลล์" "เลขยกกำลัง คือการคูณเลขนั้น ๆ ตามจำนวนของเลขชี้กำลัง" "วัตถุใด ๆ เมื่อมีการเคลื่อนที่ จะมีทิศทาง ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็ว และอัตราเร่ง"

1.2    ตัวชี้วัดชั้นปี หรือตัวชี้วัดช่วงชั้นที่นำมาจัดกลุ่มทำเป็นหน่วยฯ

1.3    คุณลักษณะ(ของวิชา)

1.4. สมรรถนะสำคัญ(จากหลักสูตร)

1.5    คุณลักษณะอันพึงประสงค์(จากหลักสูตร)

2.       กำหนดหลักฐานที่เป็นผลที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่

2.1    ชิ้นงาน/ภาระงานโดยรวมที่เป็นหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตามเป้าหมายของหน่วยฯ แล้ว สำหรับเป้าหมาย สาระสำคัญ

2.2    ชิ้นงาน/ภาระงานที่เป็นหลักฐานว่ามีความเข้าใจตามเป้าหมายที่เป็นตัวชี้วัด คุณลักษณะ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

3.       ออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหน่วยฯ ที่กำหนด โดยนำหลักฐานแต่ละหลักฐาน มาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีหลักฐานการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ แล้วจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาเขียนแผนการจัดารเรียนรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบ ได้แก่

3.1    หัวแผนการจัดการเรียนรู้(หน่วยการเรียนรู้เรื่อง......รหัส และชื่อรายวิชา........กลุ่มสาระการเรียนรู้...........ชั้น...........ภาคเรียนที่.........เวลา.......ชั่งโมง) มาตรฐานการเรียนรู้....ตัวชี้วัด

3.2    มาตรฐานการเรียนรู้..............

3.3    ตัวชี้วัด..................

3.4    สาระสำคัญ.......

3.5    สาระการเรียนรู้

3.5.1           ความรู้......................

3.5.2           ทักษะ/กระบวนการ.......................

3.5.3           คุณลักษณะ.......................

3.5.4  สมรรถนำสำคัญ

3.5.5 คุณลักษณะอันพึงประสงค์

3.6    การจัดการเรียนรู้/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้(นำเข้าสู่บทเรียน สอน สรุปประเมิน)(ควรเขียนเป็นรายชั่วโมงตามตารางสอนที่จัดให้)

3.8    สื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้

3.9    การวัดและประเมินผล(วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การวัด)

เมื่อจัดทำโครงสร้างรายวิชา และจัดทำหน่วยการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว ควรมีการประเมิน

ความถูกต้อง และเหมาะสมของหน่วยฯ ก่อนที่จะนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

สำหรับตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ อาจจะศึกษาตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ ที่การออกแบบโดย

เทคนิค Backward Design ที่มีอยู่ทั่วไป และสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดและตัวอย่างหน่วยฯ ได้ใน "นิเทศonline" ใน web สพฐ.และใน  "ครูบ้านนอก" ครับ ขณะนี้มีรายละเอียดการออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยเทคนิค Backward Design Version ล่าสุดเดือนพฤศจิกายน  และที่ไม่ได้ขึ้นเว็บไซต์ แต่ได้ปรับปรุงขึ้นอีก ขณะนี้ มีตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ของวิชาวิทยาศาสตร์ ป.6 สังคมศึกษา ป.6 ภาษาไทย ม.1 ภาษาอังกฤษ ม.1 และ วิทยาศาสตร์ ม.2 ไว้แลกเปลี่ยนกัน แต่ไม่ใช่เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนะครับ ถ้าต้องการขอให้ mail ขอไปที่ [email protected] ผมจะส่งให้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 233802เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2009 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มีโรงเรียนใดใช้แล้วบ้าง

สวัสดีค่ะ ท่าน

ครูออ้ยกำลังศึกษา เรื่องนี้ เรียนเชิญแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ http://gotoknow.org/blog/skuikratoke

ขอบคุณมากค่ะ

อยากได้ เทคนิค Backward Design Version ล่าสุดเดือนพฤศจิกายน ครับอาจารย์ กรุณาช่วย mail ไปให้หน่อยนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

อาจารย์ช่วยให้ E-mail address แก่ผมด้วย ผมจะได้ส่งให้ได้ โดยขอให้อาจารย์ mail บอกผมที่ [email protected] ครับ หรืออาจารย์อาจจะดาวน์โหลดได้ที่ web ครูบ้านนอก หรือ web นิเทศ online ที่อยู่กับ web สพฐ.ซึ่งขณะนี้เขา update file ให้แล้วครับ ขอบคุณที่ให้ความสนใจ

เรียน อ. เฉลิม กำลังจะออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยเทคนิค Backward Design แต่ยังขาดความมั่นใจ ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยส่ง รายละเอียดการออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยเทคนิค Backward Design Version ล่าสุดเดือนพฤศจิกายน ที่ [email protected] ขอบคุณค่ะ

หากจะดูจากเว็บอื่นก็อ้อมไปหน่อย ขอกันตรงนี้ดีกว่า กรุณาเมล์ให้ด้วยนะคะ [email protected] ขอบคุณค่ะ

รุจีวรรณ พรหมเสนา

ท่านเกษียณเสียแล้วหรือคะ คิดถึงและชอบฟังท่านเป็นวิทยากรมาก เวลาเขียนแผนหรือคิดอะไรไม่ออก ดิฉันก็ชอบเข้ามาหาความรู้จากเวปท่านเสมอ ตอนนี้ ศน.ที่แพร่ให้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้Backward Design เพื่อพัฒนาทักษะการคิด จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้ ม.ปลาย ตามหลักสูตร 2551ค่ะ่ [email protected] ขอบพระคุณค่ะ

เกษียณตามข้อกำหนดราชการครับ แต่ผมยังยินดีที่จะทำหน้าทีศึกษานิเทศก์อยู่ จนกว่าจะหมดแรงครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ ท่าน ดร.เฉลิม ฟักอ่อน

หนูขอขอบพระคุณท่านอย่างสูงที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ค่ะ หนูคิดว่าการจัดทำหน่วยการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน บุคคลที่จะจัดทำได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่รู้จริง รู้กว้างค่ะ โดยเฉพาะสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ยากมากค่ะ หนูจะนำความรู้ทีได้นี้ไปประยุกต์ใช้ค่ะ

ไม่ยากครับ อย่าคิดว่ายาก หลักการทำก็คือ จัดกลุ่มตัวชี้วัดที่มีความสัมพันธ์กันและมีจุดเน้นเดียว เช่น อ่านออกเสียง ก็เลือกตัวชี้วัดเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงมาจัดเป็น 1 หน่วย อย่านำตัวชี้วัดเกี่ยวกับการอ่านแล้วจับใจความ อ่านแล้ววิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นมาปน เนื่องจากการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความมีหลักการหรือหลักวิชาตนละอย่าง ถ้านำมารวมกันเป็นหน่วย จะมีหลายจุดเน้น หรือหลาย Concept จะทำให้นักเรียนเข้าใจยาก และสับสนได้ เมื่อจัดกลุ่มตัวชี้วัดเป็นหน่วยได้แล้ว จึง "กำหนดเป้าหมาย"(หรือจุดประสงค์การเรียนรู้-แบบเดิม)ซึ่งเป้าหมายมี สาระสำคัญ ตัวชี้ัวัด สมรรถนะสำคัญ คุณลักษณะของวิชา และคุณลักษณะอันพึงประสงค์(ตามหลักสูตร) แล้วจึง "กำหนดชิ้นงาน/ภาระงาน"(สำหรับการประเมินผลการเรียนรู้)ที่แสดงว่าเมื่อนักเรียนมีความเข้าใจตามเป้าหมายที่กำหนดทุกเป้าหมาย แล้วจึงมา "ออกแบบการจัดการเรียนรู้"ให้นักเรียนมีชิ้นงาน/ภาระงานที่กำหนด แล้วจึงนำไปจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน รับรองนักเรียนของอาจารย์มีผลสัมฤทธิ์ของวิชาภาษาไทยดีขึ้นแน่นอนครับ

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มีโรงเรียนใดใช้แล้วบ้าง

ขอชมเป็นวิทยาทานบ้างนะคะ ขอบคุณๆๆๆๆ

น่าจะเกือบทุกโรงเรียนรวมทั้งโรงเรียนเอกชนด้วย เพราะ สพฐ.สพป.และสพม.ได้จัดอบรมให้ความรู้แก่คณะครูแล้ว รวมทั้งครูได้แลกเปลี่ยนและดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปทำความเข้าใจและเขียนเอง สำหรับชื่อโรงเรียนผมบอกไม่ได้ เพราะไม่ได้ไปตรวจสอบ น่าจะลองสอบถามโรงเรียนที่ได้คะแนน O-NETสูง ๆ เพราะถ้าออกแบบตามวิธีดังกล่าว เมื่อกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ชัดเจน และครอบคลุมหน่วยการเรียนรู้และหลักสูตรฯ จัดการเรียนรู้แล้ว นักเรียนมีผลงานตามภาระงาน/ชิ้นงานที่กำหนด มั่นใจได้เลยว่า นักเรียนจะมีความเข้าใจที่คงทน ที่เป็นองค์ความรู้ที่ติดตัวไปเป็นเวลานาน สามารถนำไปใช้ในการสอบ และการดำรงชีวิตได้ครับ ครูผู้สอนน่าจะออกแบบตามวิธีดังกล่าว แล้วนำไปจัดการเรียนรู้ แล้วประเมินผลการจัดการเรียนรู้ให้รอบด้าน อาจจะได้งานวิจัย ๑ เรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ มีครูที่ทำผลงานทางวิชาการในเรื่องนี้แล้วครับ แต่ผมยังไม่ได้ติดตามว่า ผลการประเมินเป็นอย่างไร สำหรับผม ได้ใช้วิธีนี้ ในการจัดอบรมทุกครั้ง ทุกเรื่องครับ ซึ่งบางครั้งผมไม่ได้บอกผู้เข้ารับการอบรม คือ ผมตั้งเป้าหมาย(จุดประสงค์การอบรม)ไว้ว่า การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมต้องใด้ ความรู้ ทักษะ และเจตคติอย่างไร ผมจะประเมินได้ออย่างไรว่า ผู้เข้ารับการอบรมได้ตามเป้าหมายที่กำหนด บางครั้งผมก็มีแบบฟอร์มให้ผู้เข้ารับการอบรมทำ และการประเมินของผมจะดูที่ผลงานเป็นส่วนใหญ๋ ถ้าผลงานของผู้เข้ารับการอบรมเป็นไปตามที่คิดไว้ ผมก็พอใจแล้วครับ และบางครั้ง ผู้เข้ารับการอบรมได้มาสนทนากับผม ที่แสดงให้เห็นว่า เขาเข้าใจไม่ชัดเจน และไม่ถูกต้องบางอย่าง ผมก็ดีใจครับ ด้วยเหตุนี้ สพฐ.จึงให้การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยใช้เทคนิค Backward Design เป็นแนวในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพราะทั่วโลกใช้เทคนิคนี้แล้วหลายประเทศ และโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยก็ใช้อยู่ครับ โดยเฉพาะโรงเรียนใน กทม.

นางสาวสมใจ เส็นบัด

อยากได้ข้อมูลการออบแบบหน่วยการเรียนรู้องมาตรฐานของท่าน ดร.น่ะคะช่วยส่งให้ตาม Mailนี้นะคะ

E-Mail [email protected] ขอบพระคุณในความเอื้อเฟื้อค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท