ใบความรู้เรื่องพจนานุกรม


วิชาการใช้ห้องสมุด ท 40216

พจนานุกรม(Dictionaries)

แหล่งที่มา

พจนานุกรม คือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำและวลี เรียบเรียงไว้ตามลำดับอักษร                  ให้ตัวสะกดที่ถูกต้อง การอ่านออกเสียง ชนิดของคำ ความหมาย หรือคำจำกัดความของคำ ประวัติของคำ วิธีใช้คำ ตัวย่อ คำเหมือน คำพ้อง คำที่มีความหมายตรงข้าม นอกจากนี้คำบางคำอาจมีแผนภูมิ  ตาราง  หรือภาพประกอบ เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของคำได้ดียิ่งขึ้น

           ลักษณะของพจนานุกรม

           พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “คำ”  รวบรวมคำต่างๆเรียงตามลำดับอักษร แต่ละคำจะอธิบายให้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

                1) ตัวสะกดที่ถูกต้อง

                2) การอ่านออกเสียง

                3) ความหมายของคำ คำจำกัดความ

                4) ชนิดของคำ เช่น คำนาม สรรพนาม ฯลฯ

                5) ประวัติที่มาของคำ รากศัพท์ เช่น เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาใด

                6) การใช้คำ ตัวอย่างการแต่งประโยค

                7)  คำพ้อง  คำตรงข้าม

                8)  ตัวย่อต่างๆ

                9) บางเล่มมีประวัติบุคคลสำคัญด้วย

                10) มีภาพประกอบตามความจำเป็น

           วิธีใช้พจนานุกรม

                1) พิจารณาดูว่าคำที่ต้องการค้นนั้น ต้องการข้อเท็จจริงทางด้านภาษา  ทางด้านเฉพาะวิชาหรือทางด้านอื่นๆ

                2) เลือกใช้พจนานุกรมให้ถูกกับข้อเท็จจริงที่ต้องการ

                      2.1) ต้องการข้อเท็จจริงอย่างละเอียดหรือโดยสังเขป ถ้าต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริงอย่างละเอียดเกี่ยวกับคำทั้งคำเก่าและคำใหม่ในภาษาอังกฤษ เลือกใช้พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์ แต่ถ้าต้องการหาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เลือกใช้พจนานุกรมฉบับย่อ

                      2.2) ต้องการข้อเท็จจริงทางด้านภาษา ให้เลือกใช้พจนานุกรมทางภาษา  ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆเลือกใช้ประเภทให้ตรงกับวัตถุประสงค์

                      2.3) ต้องการข้อเท็จจริงทางด้านเฉพาะวิชา เลือกใช้พจนานุกรมเฉพาะวิชา ซึ่งแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่างๆ  ให้ตรงกับวัตถุประสงค์

                      2.4) ต้องการข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำศัพท์ในลักษณะอื่น ๆ  เลือกใช้พจนานุกรมอื่นๆ  เช่น พจนานุกรมอภิธานศัพท์และพจนานุกรมสแลง  เป็นต้น

                3) เมื่อเลือกพจนานุกรมที่ต้องการค้นหาข้อเท็จจริงได้แล้ว ให้อ่านข้อแนะนำการใช้แล้ว        จึงลงมือค้นหาคำตอบ ซึ่งอาจใช้เครื่องช่วยในการค้นหาดังนี้

                      3.1) หาอักษรแนะเพื่อดูคำที่ต้องการอยู่ที่เล่มใด

                      3.2) หาคำที่ต้องการโดยใช้ดรรชนีนิ้วมือช่วย

                      3.3) หาคำที่ต้องการในแต่ละหน้า โดยอาศัยคำแนะนำที่หัวกระดาษ

                         พจนานุกรม (Dictionaries) เป็นหนังสืออ้างอิงที่เป็นคู่มือในทางภาษาให้ความรู้เกี่ยวกับคำที่มีความสำคัญในการใช้ภาษาในการสื่อสารกันทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ในชีวิตประจำวัน พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ  “คำ” โดยรวบรวมคำต่างๆ เรียงตามลำดับ แต่ละคำจะอธิบายในเรื่องต่อไปนี้

               1. ตัวสะกดที่ถูกต้อง 

               2. การอ่านออกเสียง  

               3. ความหมายของคำ คำจำกัดความ 

               4. ชนิดของคำ เช่น คำนาม คำสรรพนาม ฯลฯ

               5. ประวัติที่มาของคำ รากศัพท์ มาจากภาษาใด

               6. การใช้คำ ตัวอย่างการแต่งประโยค

               7.  คำพ้อง  คำตรงข้าม

               8. ตัวย่อต่างๆ

               9. บางเล่มมีประวัติบุคคลสำคัญ

               10. มีภาพประกอบตามความจำเป็น

               พจนานุกรมแบ่งออกเป็น 2  ประเภท  คือ

               1. พจนานุกรมทางภาษาทั่วไป  (General  Language Dictionaries) เป็นพจนานุกรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้คำในภาษาด้านต่างๆ แบ่งเป็น พจนานุกรมภาษาเดียว พจนานุกรมสองภาษา และพจนานุกรมหลายภาษา นอกจากนี้ยังแบ่งตามขนาดและรูปเล่มออกเป็น พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์และพจนานุกรมฉบับย่อ

               2. พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Dictionaries)  หมายถึง พจนานุกรมที่ใช้สำหรับค้นคว้าความหมายของคำในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง อาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือวิชาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ  เช่น  พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ  พจนานุกรมศัพท์ธุรกิจ  ฯลฯ

 พจนานุกรมที่ควรรู้จัก

               1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2525  โดยราชบัณฑิตยสถาน

               2. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  2542  โดยราชบัณฑิตยสถาน

               3.  พจนะ–สารานุกรมฉบับทันสมัย โดยเปลื้อง   นคร

               4. New  Model  Thai – English  Dictionary  โดย  So  Sethaputra

               5. New  Model  English – Thai  Dictionary  โดย  So  Sethaputra

   สรุป

 

 

นันทา วิทวุฒิศักดิ์. สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ :ดี.ดี.บุ๊คสโตร์, 2536.

สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. การใช้บริการห้องสมุดและการเขียนรายงานการค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 8.

               กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช, 2535. 

สุนิตย์ เย็นสบาย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สถาบันราชภัฎ

บ้านสมเด็จเจ้าพระยา,2543.

               . สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า.  กรุงเทพฯ :ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  คณะวิชา

               มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,2539.

 

 

           พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงที่จำเป็นพื้นฐาน  และใช้กันมาก  รวบรวมคำต่าง ๆ เรียบเรียงตามลำดับอักษร แต่ละคำจะอธิบายให้ทราบถึงสิ่งต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้  คือ  ตัวสะกดที่ถูกต้อง,  การอ่านออกเสียง,  ความหมายของคำ,  คำจำกัดความ,  ชนิดของคำ  (เช่น  คำนาม  สรรพนาม  คำกิริยา  ฯลฯ), ประวัติที่มาของคำรากศัพท์  (เช่น เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาใด),  การใช้คำ, ตัวอย่างการแต่งประโยค,  คำพ้อง, คำตรงข้ามและคำย่อต่างๆ  ฯลฯ พจนานุกรมบางเล่มมีประวัติบุคคลสำคัญและมีภาพประกอบตามความจำเป็นอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 233724เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2009 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2018 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เข้าใจขึ้นเยอะเลยค่ะ
11246
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท