การแต่งกายอันสวยงามของสตรีชาวล้านนา


การแต่งกายอันสวยงามของสตรีชาวล้านนา

          การแต่งกายของสตรีล้านนาในสมัยรัชกาลที่ 5

ได้มีการจดบันทึกไว้โดย คาร์ล บ็อค  ได้กล่าวไว้ว่า  "ต่อไปนี้จะอธิบายเรื่องเสื้อผ้าอันสวยงาม ที่ผู้หญิงใช้กันบ้าง  เครื่องแต่งกายที่สำคัญที่ใช้เป็นแบบเดียวกับกระโปรงที่ผู้หญิงยุโรปนุ่ง ซึ่งเหมือนกับผ้าเตี่ยวของผู้ชาย แตกต่างกันก็เพียงแต่ใช้ผ้าสามชิ้น ต่อกัน(หัวซิ่น ตัวซิ่น ตีนซิ่น) โดยทั้วไปแล้วจะใช้ผ้าคนละสีคนละชนิดกันเย็บต่อเข้าด้วยกัน ผ้าผืนใหญ่ที่จะใช้นุ่งหุ่มตั้งแต่หน้าอกถึงหัวเข่า เวลาลาอยู่กับบ้านทำด้วยผ้าฝ้าย โอกาสที่เป็นงานเป็นการจึงจะใช้ผ้าไหม ผ้านี้มีความกว้างจากชายด้านหนึ่งถึงอีกด้านหนึ่งประมาณ 20 - 22 นิ้ว ส่วนมากลายเป็นทาง ๆ สีที่ใช้กันมากก็เป็นสีเหลือง น้ำเงินและแดง ส่วนลายผ้านั้นเวลาทอทอกันตามยาว แต่เวลานุ่งกลับนุ่งทางขวางไปรอบตัว ชั้นบนที่ต่อไปถึงใต้อกมักเป็นผ้าฝ้ายสีดำ น้ำตาลแก่หรือสีขาวลาย ๆ ส่วนปลายผ้านุ่งก็มีชายยาวราวหนึ่งฟุตจะมีสีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม ถ้าตัวผ้านุ่งเป็นผ้าไหม ชายผ้านุ่งและขอบผ้านุ่งก็จะเป็นไหมด้วย และมักจะมีเส้นเงินเส้นทองสอดลสับผ้ายกชนิดนี้มีราคาราวผืนละ 60 รูปี แต่ถ้าทำจากผ้าฝ้ายซึ่งมักใช้สมบุกสมบันและทนทาน ก็ราคาไม่เกิน 1 รูปี ครึ่ง หรือ 2 รูปี ผ้านุ่งชนิดนี้เรียกว่า ซิ่น เวลานุ่งจะใช้พันรอบตัว ให้ชายทับซ้อนกัน และเหน็บชายนอกไว้ข้างเอว

          ส่วนผ้าที่ใช้คลุมหน้าอกมักเป็นผ้าห่มหรือผ้าแถบเรียกว่าผ้าตอง สีขาว สีเหลือง หรือสีชมพูอ่อน สีสุดท้ายนี้เป็นที่นิยมกันมาก การห่มผ้ามีหลายแบบตามตความพึงพอใจของแต่ละคน บางคนห่มโดยใช้ผ้าพาดไหล่คุมถึงหน้าอกด้านหนึ่งแล้วสอดแล้วสอดชายผ้าไปใต้แขนด้านตรง ข้ามอ้อมมาข้างหลังแล้วพันตลบขึ้น จนชายผ้าจรดชายผ้าอีกด้านหนึ่งที่ห้อยไว้ตั้งแต่ทีแรก ส่วนมากมักปล่อยให้ชายผ้าห้อยอยู่ (ห่มแบบสองไหล่) แต่บางคนก็เหน็บชายผ้าไว้แน่น (ห่มแบบผ้าแถบ)  

                                 

          เกี่ยวกับการมีสมัยนิยม หรือแฟชั่นที่สวยงาม อันเป็นของใหม่สำหรับชาวล้านนาในสมัยนั้น คาร์ล บ็อค ได้อธิบายต่อไปว่า  "ผู้หญิงบางคนเริ่มสวมเสื้อตัวคับ ๆ ตัดให้เข้ารูป และแขนก็คับติดตัวเช่นกัน ดูคล้าย ๆ กับแบบ Ladies Jerseys ซึ่งเป็นที่นิยมกันในปารีสและลอนดอนเมื่อไม่นานมานี้  ในการตัดเสื้อต้องใช้ฝีมือไม่น้อยทีเดียว เพราะไม่ใช่ทำแบบเสื้อถักที่ยืดหดได้ง่าย แต่ทำด้วยฝ้ายหรือไหมเนื้อแน่น แต่การสวมใส่เช่นนี้ทำให้รูปร่างดูไม่สวยเท่าการแต่งตัวแบบธรรมดา

        

                                 

 ส่วนทรงผม ก็ไม่ทำให้รูปร่างอันงามอยู่แล้วของสตรีชาวล้านนาดูงามน้อยไปเลย พวกผู้หญิงแถบนี้ไว้ผมยาว เมื่อยาวพอประมาณแล้วก็ใส่น้ำมันเกล้าไว้ที่ท้ายทอยอย่างเรียบร้อยและไม่ขาดที่จะเอาพวงมาลัยพันไว้รอบมวย บางคนก็ใช้ช่อดอกไม้หรือกล้วยไม้เสียบไว้ข้าง ๆ บางคนก็เอาทัดหูทั้งหญิงและชายดูชอบดอกไม้กันจริง ๆ จัง ๆ และธรรมชาติก็อำนวยมีดอกไม้มากมายตามรสนิยมเสียด้วย เพราะในป่าก็มีดอกไม้เต็มไปหมด ในบรรดาดอกไม้เหล่านี้ ก็มีดอกกล้วยไม้สวยงามน่ารักมาก  ทั้งบางชนิดก็มีกลิ่นหอมยิ่งนัก บางคนเกล้าผมแล้วปักหรือประดับปิ่นทอง ยอดปิ่นมักจะเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ รูปกลม ๆ หรือบิดเป็นเกลียวก็มี ส่วนกำไลมือทองและเงินนั้น สวมกันแต่โอกาสที่เป็นการเป็นงานเท่านั้น ส่วนมากเป็นกำไลทองเกลี้ยง ๆ อีกอย่างคือบิดเป็นทองคล้ายเชือก หรือร้อยต่อกันเป็นลูกประคำก็มี

                               

          นับเป็นน่าภาคภูมิใจแทนสตรีชาวล้านนาในอดีตซึ่งถึงกับมีชาวต่างชาติชมว่าการแต่งกายของสตรีบ้านเราสวยงามขนาดไหน  และเราน่าจะช่วยกันเผยแพร่และอนุรักการแต่งกายแบบนี้ไว้ ให้ลูกหลานได้ชื่นชนกันต่อไป

หมายเลขบันทึก: 233545เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2009 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันนี้ไปเจอภาพของสตรีล้านนาโบราณเลยนำมาแทรกให้ดูกันนะครับ

เป็นการแต่งกายที่สวยงามมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท