บทเรียนการเป็นคุณอำนวย "วิทยากรกระบวนการในงานส่งเสริมการเกษตร"


คุณอำนวยจะต้องมีความรู้และทักษะที่จะต้องปฏิบัติใน 3 ประเด็นหรือขั้นตอนหลักๆ คือ 1. การทำแผน 2. การเป็นคุณอำนวยและ 3. การประเมินผล

          จากการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาวิทยากรกระบวนการ หรือคุณอำนวยในงานส่งเสริมการเกษตรของทีมงานจังหวัดกำแพงเพชร  เราได้ข้อสรุปในเบื้องต้นเกี่ยวกับ ขั้นตอนของกระบวนการ  วิธีการและเครื่องมือที่จำเป็นในการจัดกระบวนการ สรุปจากการปฏิบัติจริง พบว่า หากจะดำเนินการที่เกี่ยวกับเกษตรกร/ชุมชน ในการถ่ายทอดความรู้/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ในที่นี้ขอใช้คำว่า"การแลกเปลี่ยนเรียนรู้" ก็แล้วกันนะครับ) ในงานส่งเสริมการเกษตร คุณอำนวยจะต้องมีความรู้และทักษะที่จะต้องปฏิบัติใน  3 ประเด็นหรือขั้นตอนหลักๆ  คือ 1. การทำแผน  2. การเป็นคุณอำนวยและ 3. การประเมินผล  โดยมีรายละเอียดดังนี้

          1.  การจัดทำ/เตรียมแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ก่อน)

  • เป็นการจัดทำแผน(ก่อน)การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งเนื้อหา  วิธีการ  คน 
  • กำหนดขั้นตอนในเบื้องต้นว่า ใครจะทำอะไร  อย่างไร  เมื่อไร(ระยะเวลา)
  • เตรียมวัสดุ อุปกรณ์และสื่อต่างๆ ที่จำเป็น
  • มีส่วนร่วมคิดและวางแผนกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วน หรือหาทีมงานไม่ทำคนเดียว
  • เครื่องมือที่น่าจะสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม คือ การการเขียนแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมักจะประกอบไปด้วย

             1) ชื่อของแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้..........................................................

             2) วัตถุประสงค์

                    1.............................

                    2.............................

                    3.............................              

              3) เนื้อหา ที่ประกอบไปด้วย

 ประเด็น

 กระบวนการ

 เครื่องมือ/อุปกรณ์

 ระยะเวลา/ผู้ดำเนินการ

 - ส่วนนำ

 - ส่วนเนื้อหา

 - ส่วนสรุป

 - การประเมินผล

     

              4)  สรุปผล

          2.  การดำเนินการ/การทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการ (ระหว่าง)

  • การดำเนินการโดยเริ่มตั้งแต่การสร้างบรรยากาศ การนำเข้าสู่บทเรียน ฯลฯ (คุณอำนวย)
  • การจัดสถานที่ให้เหมาะสม
  • การตั้งคำถาม  การกระตุ้น  การสรุปประเด็น ฯลฯ
  • การประเมินสถานการณ์และการปรับกระบวนการไปตามสถานการณ์ (คุณสังเกต)
  • การประเมินผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (คุณประเมิน)
  • วิธีการ/เครื่องมือ ในส่วนนี้คงไม่มีตายตัว ต้องเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
  • ฯลฯ

          3.  การประเมิน/การเรียนรู้การปฏิบัติการ (ระหว่าง/หลัง)

  • ทำทันที
  • ทำทุกครั้ง
  • สรุปเป็นบทเรียนและบันทึก (คุณบันทึก) เพื่อเผยแพร่ และ ลปรร.
  • ทีมเราใช้เครื่องมือ AAR ซึ่งสามารถใช้ได้ดี
  • สรุปและโยงการปฏิบัติให้เชื่อมกับหลักการ/วิชาการ ให้ทุกส่วนเห็นภาพรวม
  • ในแต่ละขั้นตอนสามารถ "สร้างคน" ไปด้วยพร้อมๆ กันได้ เช่น ฝึกให้ทำแผนฯ ฝึกให้เป็นคนดำเนินการ หรือฝึกให้ดำเนินการทำ AAR เป็นต้น
  • ฯลฯ

         เป็นบันทึกจากประสบการณ์ และเป็นสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาแล้วโดยสอดแทรกไปในการสอนงานนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่  และยังดำเนินในแนวทางนี้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่พัฒนาปรับไปตามสถานการณ์  อาจมีบ้างที่ไม่ตรงกับหลักการของหลายๆ ท่าน หากมีประเด็นใดจะช่วยแนะนำก็ยินดีรับคำแนะนำครับ  บันทึกเพื่อ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 23343เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นักส่งเสริมการเกษตร ต้องปรับบทบาทเป็น "ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้" เพื่อก้าวขึ้นสู่  Group Process ซึ่งย่อมเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีทักษะเกี่ยวกับ "กระบวนการพัฒนาบุคลากร"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท