เก่าล้ำยุค - เมื่อ ของเก่า "ใหม่" กว่า ของใหม่


เรื่องเริ่มจากผมไปซื้อหนังสือชื่อ "Surely you're joking, Mr. Feynman" มาอ่าน

เล่มนี้ เคยเห็นมีฉบับแปลวางแผงแล้วด้วย

ที่ซื้อ เพราะลองพลิกอ่านดูแล้วรู้สึกว่า อ่านสนุก

อ่านจบ ก็รู้สึกว่า สนุกกว่าที่คิดไว้เยอะ

อ่านจบแล้ว ทำให้รู้สึกว่า คนนี้เขียนได้น่าอ่าน ก็กวาดหนังสือเขามาหมดร้าน ทั้งแบบไม่ใช่วิชาการและแบบวิชาการ

อ่านที่เขาบรรยายเรื่อง quantum electrodynamics (QED) ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแสงและอิเล็กตรอน เขาฟันธงว่า เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งปวงในปัจจุบัน (ยกเว้นเทคโนโลยีนิวเคลียร์) วนเวียนอยู่ในหมวดเรื่องนี้

อ่านเจาะลึกเรื่องของแสง ก็ต้องย้อนไปตั้งแต่หลายศตวรรษก่อน ทำให้ได้เห็นการค้นพบเหล่านี้ในอีกมุมมองหนึ่ง เพราะตัวเองไม่ได้ใส่ใจกับฟิสิกส์เหล่านี้มาก่อน (ตอนเรียน ได้ D มา) เป็นการอ่านแบบเห็นการคลี่คลายทางประวัติศาสตร์ของระบบคิดของมนุษย์ และได้รู้ว่า สิ่งที่เรียกว่า ล้ำยุค เป็นสิ่งที่อยู่ในใจของคนโบราณที่เราลืมไปแล้ว โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงข้อเท็จจริงว่า ยุคนั้น ไม่มีเครื่องคิดเลข ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีเลเซอร์ ไม่มีปากกาลูกลื่น หรือไม่มีอินเทอร์เนต

ลองมาดูกันหน่อย ว่าได้แก่อะไรบ้าง

  • เลนส์ยุคใหม่ ทำให้บางเฉียบ แต่ทำตัวราวเป็นเลนส์หนาแบบดั้งเดิม เป็นสิ่งที่คาดหมายได้จากทฤษฎี QED มานานแล้ว
  • ปรากฎการณ์ metamaterials ที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้ผลิตเทคโนโลยีใหม่ ๆ คือ ด้วยการออกแบบรูปทรงให้เหมาะสมในระดับนาโนสเกล วัตถุนั้นสามารถมีพฤติกรรมเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปได้ เป็นสิ่งที่ไม่ประหลาดเมื่อใช้สมการคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและแนวคิด QED มาอธิบาย
  • สมการคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวล อธิบายการรับ และส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีสองประเด็นควบคู่กัน ประเด็นแรกคือ ในฐานะที่เป็น "ข้อมูล" (เกิดเป็น ตัวกระจายสัญญาณข้อมูล หรือวิทยุ และ ตัวรับ หรือ เสาอากาศเครื่องรับ) และประการที่สอง ในฐานะที่เป็น "พลังงาน"
    จริง ๆ แล้วคนในยุคแรก ๆ ที่บุกเบิกเรื่องการรับส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เขาไม่ได้สนใจในเรื่อง "การรับส่งข้อมูล" อย่างเดียว เขาสนใจเรื่อง "การรับส่งพลังงานไร้สาย"ด้วย ซึ่งเป็นประเด็นที่ปัจจุบัน ทำได้แค่ทดลองในสเกลเล็กมาก เช่น ไม่กี่วัตต์ แต่ลองนึกถึงสเกลใหญ่ ถ้าทำได้ จะหมายถึงการที่มนุษย์สามารถไปดึงพลังงานจากแหล่งธรรมชาติที่มีพลังงานมหาศาลมาใช้ฟรีโดยไม่ต้องง้อน้ำมัน ส่งพลังงานผ่านอากาศ !
  • เทสลา เป็นคนที่เกิดผิดยุคไป 100 ปี เป็นผู้บุกเบิกเรื่องการผลิตไฟฟ้า เสนอแนวคิดเรื่องการดึงพลังงานฟรีจากบรรยากาศหรือพื้นโลกมาใช้โดยระบบส่งพลังงานไร้สาย (เทสลากำกับการสร้าง โดย JP Morgan lสปอนเซอร์การสร้าง Wardenclyff tower เพื่อสร้างเครื่องกำเนิดพลังงานที่ว่า แต่ถังแตกเสียก่อน จึงสร้างไม่เสร็จ)
หมายเลขบันทึก: 233407เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2009 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นเล่มนี้มาแล้ว กำลังนึกอยากอ่านอยู่เหมือนกันครับ

แต่ถ้าสูตร สมการเยอะๆ คงจะบ๊ายบาย

แต่ถ้าเป็นเรื่องเล่า ชีวประวัติ เกร็ดชีวิต ก็น่าจะพอไหวครับ

สวัสดีึครับคุณP  ณภัทร๙

 

  • หนังสือ Surely you're joking, Me. Feynman นี่ เขาเขียนเล่าเรื่องส่วนตัวของฟายน์แมน ไม่ได้พูดเรื่องแสงอะไรนี่หรอกครับ
  • เป็นเล่มที่น่าอ่านครับ คุณ นรา แปลเล่มนี้ เคยเห็นบนแผง
  • เพียงแต่ยกมาให้เห็นว่า หนังสือที่เขียนดี ๆ ในเรื่องหนึ่ง บางทีกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นในอีกเรื่องได้ ทั้งที่บางครั้งเขากล่าวถึงแบบผ่าน ๆ เท่านั้นเอง

ขอบคุณครับอาจารย์สำหรับคำแนะนำดีๆ

อย่างนี้คงต้องรีบไปหามาอ่านแล้วครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท