ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์


ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

(Strategic Performance-Based Budgeting System-SPBBS)

                ในระดับโลกได้ มาตรการหนึ่งที่มีการปรับปรุงพัฒนา คือ การปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณจากเดิม ที่มุ่งเน้นการควบคุมการใช้ทรัพยากร มาเป็นระบบที่มุ่งเน้น ผลผลิต (Outputs) และ ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงาน เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์ (Strategy Performance Based Budgeting - SPBB)   
                ระบบงบประมาณแบบนี้บางทีเรียกว่า งบประมาณแบบแสดงแผนงาน ( Program Budgeting ) เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรัชอเมริกาในปี ค..1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 )  PPB หรือ PPBS   มีลักษณะสำคัญคือ

PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis การเสนอของบประมาณต้องจัดทำเอกสาร 3 ชุด คือ

1.        Program Memorandum ( PM ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นโครงสร้างของสายงาน ความสัมพันธ์ของแผนงาน โครงการ วัตถุประสงค์ ผลงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

2.        Program Financial Plan ( PFP ) เป็นแผนการใช้จ่ายของโครงการที่ต้องการเงิน-
งบประมาณในระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันว่าโครงการจะดำเนินต่อไปได้ในปี
ต่อ ๆ ไป

3.        Special Study ( SS ) เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์โครงการและ
ทางเลือกโครงการต่าง ๆ

แนวคิดของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

1. รัฐบาลสมารถใช้วิธีการและกระบวนการงบประมาณให้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดผลสำเร็จตามนโยบาย และให้เห็นผลที่ประชาชนได้รับจากรัฐบาล

2. มุ่งเน้นให้เกิดการใช้จ่ายงบประมาณ ที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความโปร่งใส

3. มอบความคล่องตัวในการจัดทำและบริหารงบประมาณให้กับผู้ปฏิบัติ (Devolution) ในขณะเดียวกันหน่วยปฏิบัติจะต้องแสดงถึงความรับผิดชอบ (Accountobility) จากการนำงบประมาณไปใช้ให้เกิดผลตามยุทธศาสตร์และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยผ่านระบบตรวจสอบผลการปฏิบัติงานและผลทางการเงินที่รวดเร็ว ทันสมัย

กระบวนการงบประมาณในระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์  ประกอบด้วย  3  ภาคคือ

1.       ภาคการจัดทำงบประมาณ

2.       ภาคการบริหารงบประมาณ

3.       ภาคการติดตามประเมินผล

การวางแผนงบประมาณ

การที่จะให้หน่วยงานมีอิสระในการบริหารในขั้นต้นหน่วยงานจะต้องมีการวางแผนที่ดี  และสามารถทำให้รัฐบาลมองเห็นภาพรวมของผลิตผล/กิจกรรมที่จะต้องจัดเตรียมงบประมาณให้  ตามต้นทุนที่ประหยัด  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลกระบวนการการวางแผนงบประมาณที่จะต้องดำเนินการคือ

1.  การจัดทำแผนกลยุทธ์

2.  การจัดทำประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า

3.  มีเกณฑ์จัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานปฏิบัติอย่างโปร่งใส

                สรุป  ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์ (Strategy Performance Based Budgeting - SPBB)    นี้เป็นการวางแผนที่ใช้กันมากในภาคของรัฐบาลหรือตามหน่วยงานต่างๆ  ที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผนเรื่องงบประมาณ  ซึ่งจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับวิสัยทัสน์   พันธกิจ  จุดมุ่งหมาย  วัตถุประสงค์  กลยุทธ์  และระบบการทำงานที่ชัดเจน  ซึ่งจะมีผลต่อการทำตามแผนและการติดตามผลแผนการจัดสรรงบประมาณต่างๆ 
การคิดต้นทุนของการผลิตภัณฑ์แบ่งแยกตามกิจกรรม (Activity Base Costing: ABC)     
                คือกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นโดยปกติสมมุติฐานที่ตั้งไว้ก็คือเราจะมีสินค้าและบริการที่ดี ส่งมอบทันเวลาและสินค้าและบริการต้องเป็นที่พอใจของผู้บริโภคและกิจการจะมีกำไรจากการขายสินค้าหรือบริการนั้นแต่ในโลกแห่งความเป็นจริงมักไม่เป็นเช่นนั้น  ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องหาวิธีการที่จะทำให้สามารถคำนวณหาต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าได้โดยใช้วิธีการ Activity Base Costing หรือ การคิดต้นทุนของการผลิตภัณฑ์แบ่งแยกตามกิจกรรม ซึ่งแต่เดิม ณ. การคิดมูลค่าที่ บัญชีแยกประเภทอาจให้ความสนใจน้อยเกี่ยวกับ วิธีการเฉลี่ยค่าต้นทุน โดยอาจเป็นการตัดสินมูลค่านั้นๆ จากแผนกบัญชีเป็นหลัก ซึ่งอาจมีผลทำให้ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น ถูกแบ่งเฉลี่ยไปให้แต่ละฝ่ายหรือผลิตภัณฑ์ ไม่ถูกต้องเพียงพอ และในที่สุด ผลรวม ที่บัญชีแยกประเภทอาจจะไม่ตรง ถ้ามองบนพื้นฐานของ ABC ทั้งนี้มิได้หมายความว่าทุกอย่างที่ไม่ได้ทำแบบ ABCนั้นผิด

เมื่อไหร่จึงจำเป็นจะต้อง นำการคำนวณต้นทุนแบบ ABC มาใช้
                1. เมื่อพบว่าค่าใช้จ่ายโรงงานสูงผิดปกติ
                2. เมื่อมีการผลิตหลายๆ ผลิตภัณฑ์
                3. เมื่อรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเลขต้นทุนของแต่ละผลิตภัณฑ์
                4.  เมื่อมีการแข่งขันสูง

ประโยชน์ของการคิดต้นทุนของการผลิตภัณฑ์แบ่งแยกตามกิจกรรม
1.  ช่วยให้เราจะชี้ชัดลงไปได้ว่าสินค้าใดทำกำไรหรือสินค้าใดทำให้ขาดทุน
2.สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจเปรียบเทียบว่ากิจกรรมนั้นๆควรจะทำเองหรือจ้างบริการภายนอกทำจะคุ้มกว่ากัน

3. สามารถใช้ผลของมันมาพิจารณาในการลดต้นทุนได้
4. ผลที่ได้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์ในภาวะที่มีการแข่งขันสูง
สรุป  ทำไมถึงนำABC  จึงเข้ามาใช้ในองค์องทางด้านการผลิตมากที่สุด  องค์กรนี้มีการผลิตที่ซับซ้อนหรือไม่ผลิตภัณฑ์มีจำนวนเพียงพอมีความหลากหลาย  มีการแนะนำสินค้าออกสู่ตลาด  มีข้อมูลองค์กรที่สามารถช่วยตัดสินใจในการพัฒนาองค์กรได้  ถือเป็นการวางแผนในการพัฒนาในตัวของสินค้าเพื่อที่จะออกสู่ตลาดและการวางแผนในเรื่องของงบประมาณในการบริหารต่างๆ 

การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

(Medium Term Expenditure Framework: MTEF)     

ระดับของการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางมี 2 ระดับได้แก่
1. กรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางระดับประเทศ (Top-down MTEF)

การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางระดับประเทศเป็นการกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายของประเทศระยะเวลา 4 ปี ซึ่งพิจารณาจากกรอบเศรษฐกิจ และการคลังมหภาค

2. กรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางระดับกระทรวง /หน่วยงาน (Bottom-up MTEF)

การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางในระดับกระทรวง / หน่วยงาน เป็นการจัดทำวงเงินงบประมาณในระดับกระทรวง และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวง ระยะเวลา 4 ปี โดยในการดำเนินการจะต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เป้าหมายการให้บริการ เป้าหมายผลผลิต ผลลัพธ์ และค่าใช้จ่ายผลผลิต เพื่อเป็นกรอบในการประมาณการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

หลักการในการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางในระดับกระทรวง /หน่วยงาน

                1. การจัดทำประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า 3 ปี ซึ่งจะแสดงเฉพาะภาพรวมของภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณที่รัฐบาลกำหนดของปีที่จัดทำงบประมาณ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ งาน/โครงการ

                2. การวางแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องกันไป (Rolling Plan) ประมาณการงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าของปีที่ 1 จะนำมาใช้เป็นฐานงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีต่อไป

                3. ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางในปีถัดไปหรือปีที่ 2 อาจจะต้องมีการทบทวนปรับตัวเลขประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า (Rolling Plan) โดยประเด็นการทบทวนหลัก ๆ ได้แก่

                                3.1 ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนระดับราคาที่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ จะต้องใช้ตัวเลขที่หน่วยงานกลาง

                                3.2 ยุทธศาสตร์หรือนโยบายใหม่ของรัฐบาล

                                3.3 ผลการดำเนินงาน และรายงานการเงินของส่วนราชการ

สรุปได้ว่า  เป็นพื้นฐานของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี โดยนำแผนที่กำหนดไว้เดิมมาพิจารณาต่อเนื่อง คือ ประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าของปีที่ 1 จะนำมาใช้เป็นฐานในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีต่อไป

มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์
Economic Value Added: EVA

                EVA สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นมากที่สุดเป็นการนำทรัพยากรไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าได้สูงสุด หากไม่มุ่งเน้นที่มูลค่าผู้ถือหุ้น การใช้ทรัพยากรของบริษัทจะเป็นไปอย่างสิ้นเปลือง และเป็นการสูญเสียมูลค่าที่สามารถสร้างให้สังคมโดยรวม ในการคำนวณ EVA มี 2 ส่วนที่แตกต่างจากการคำนวณกำไรทางบัญชี เนื่องจากการคำนวณกำไรทางบัญชีไม่ได้คำนึงถึง ได้แก่
                1.ค่าเสียโอกาสของผู้ถือหุ้นตามความเสี่ยง
                2.การปรับปรุงยอดกำไร/ขาดทุนทาง สรุปได้ว่ามูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงาน

กระบวนการ  EVA  โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มจาก

1.       การคัดเลือกผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย

2.       ติดต่อขอใบเสนอราคา

3.       ขออนุมัติในการสั่งซื้อ

4.       ออกใบสั่งซื้อหรือให้ผู้ผลิตจำหน่าย

5.       ระบบจำนวนและกำหนดระยะเวลาในการส่งมอบ

6.       การจัดส่งสินค้า

7.       การออกใบเรียกเก็บเงิน

8.       การชำระค่าสินค้าและบริการ

สรุป  กิจกรรมด้าน EVA  สามารถช่วยในการให้ท่านจัดการรายชื่อผู้ขาย  ลดต้นทุน  พัฒนาการลื่นไหลของข้อมูล  และยังจัดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง  ซึ่งในระบบการดำเนินการ  และใช้งานระบบ  EVA  นั้น  ท่านเตรียมพร้องในการจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรของทานได้

เครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ  PART 

เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างแผนของหน่วยงานกับความสอดคล้องตามยุทศาสตร์ชาติ  และเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผลลัพธ์-ผลผลิต-กิจกรรม-งบประมาณ  อย่างเป็นระบบ  รวมทั้งเป็นการประเมินผลเพื่อการปรับแผนการปฏิบัติในอันที่จะสามารถรองรับกับระบบงบประมาณมุ่งเน้นยุทธศาสตร์   SPBB  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการปฏิรูประบบราชการของไปไทยในปัจจุบัน

เครื่องมือวัด  PART  มีอยู่  5ชุด  ด้วยกันคือ

1.       จุดมุ่งหมายและรูปแบบ

2.       การวางแผนกลยุทธ์

3.       การเชี่ยมโยงงบประมาณกัลป์ปบผลผลิต

4.       การบริหารจัดการหน่วยส่งผลผลิต

5.       การประเมินผลผลิตและผลลัพธ์

สรุป  เครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ  PART  ก็คือเครื่องมือที่  วัดผลกระประเมินเครื่องมือที่กล่าวมานี้ทั้งหมด  เป็นการวัดคุณภาพของการวางแผนและการดำเนินการต่างๆ

อ้างอิง

MTEF”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้

                http://www.bb.go.th/download/work_plan_2547/4.%20%E0%B9%81%E0%B8%99% (MTEF).doc

 (ABC)”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้  http://www.businessthai.co.th/content.php?data=405403_Management%20Accounting . 2550

SPBBS”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้ 

                http://klang.cgd.go.th/sti/p.3.12.48.doc

EVA”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้

                http://www.fpo.go.th/content.php?action=view&section=9000000000&id=4871.2004

 

 

หมายเลขบันทึก: 233355เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2009 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท