ดูการศึกษาของประเทศเกาหลี


เกาหลี

 ห้องเรียนคุณภาพ :  กรณีศึกษา

จากประสบการณ์การศึกษาดูงานการศึกษา ที่เมืองพูชาน  ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

*ประสิทธิ์  หนูกุ้ง

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๑

…………………………………………

ช่วงปลายฤดูร้อน รอยต่อต้นฤดูใบไม้ร่วง ของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน ๒๕๕๑  คณะตัวแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน  จำนวน ๓๑ คน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานการจัดการศึกษาและกิจกรรมเยาวชน ณ เมืองพูชาน  ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี มีข้อค้นพบที่อาจจะโดนใจนักการศึกษาของเมืองไทย ที่เราเองอาจทำได้ แต่ยังไม่ทำ จึงเก็บมาฝาก เพื่อให้ท่านที่คิดจะทำ อาจนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้

การจัดการศึกษาของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี  จัดระบบการศึกษา แบบ ๖:::๔ เช่นเดียวกับประเทศไทย หมายถึง การศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอุดมศึกษา ที่มีเวลาเรียนแบ่งเป็นปีๆ หรือช่วงๆกันไป อาจจะต่างกันบ้างตรงการนับอายุ ที่เด็กเกาหลีจะนับอายุ ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ลืมตาดูโลก  และ อยู่ท่ามกลางการเลี้ยงดูแบบเกาหลีที่มีคุณลักษณะแบบชาตินิยมสูง รักชาติ รักแผ่นดิน ซึ่งหลายคนพอสัมผัสแล้วบอกตรงกันว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ทั้งนี้เยาวชนชาวเกาหลี จะถูกสถาบันครอบครัว  สถาบันสังคม และสถานศึกษาขัดเกลาได้เป็นอย่างที่ประเทศชาติต้องการ สิ่งหนึ่งที่เยาวชนชายไทย ไม่เหมือนเกาหลี คือมีกฎหมายบังคับให้เยาวชนชายอายุ ๒๐ ปีที่มีร่างกายและจิตใจปกติทุกคน ต้องเกณฑ์ทหารเป็นเวลา ๒ ปี  เลือดแห่งความรักชาติ ความมีระเบียบวินัย จึงมีความเข้มข้นจนถึงวัยชรา

 

 

อย่างไรก็ตาม การไปเยี่ยมห้องเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียน SONGUN ELEMENTARY SCHOOL   และโรงเรียน PUSAN  NAM  HIGH  SCHOOL    ซึ่งทั้งสองแห่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตชนบท ยากจน แต่ที่ตั้งฮวงจุ้ย ดีมาก คืออยู่บนที่สูง ติดทะเล สร้างอาคารได้กลมกลืนแบบเกาหลี  แต่เมื่อเข้าไปเยี่ยมที่โรงรียนแล้ว  พบว่าห้องเรียนเป็นห้องเรียนที่มี คุณภาพ เหมือนกับที่นักการศึกษาเมืองไทยต้องการให้เกิดขึ้นในทศวรรษนี้

ห้องเรียนคุณภาพ  ในแนวคิดที่ค้นพบ สามารถที่จะแยกออกเป็น    ส่วนหลัก ซึ่งโรงเรียนทั้งสองแห่งสามารถจัดได้คล้ายคลึงกัน ที่สำคัญมีการดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประกอบด้วย

๑.     กระบวนการบริหาร

ผู้บริหารที่ได้รับการคัดเลือกจะคัดเลือกผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาเป็นผู้นำ และเป็นผู้หญิงทั้งสองโรง มีความเอาใจใส่ในการบริหาร จัดระบบงานและทีมได้ดี ดูได้จากการที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการได้ชื่นชมให้ฟัง จัดกระบวนการบริหาร หลักสูตร งบประมาณและด้านวิชาการโดยการให้ชุมชน ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในการจัดทำหลักสูตร การเข้ามาเป็นคณะกรรมการ การเข้ามาเป็นวิทยากรภายนอกที่มาช่วยสอนในโรงเรียน จึงเป็นบทบาทของผู้บริหารที่จะนำองค์คณะบุคคลเข้ามามีส่วนช่วยเหลือได้อย่างกลมกลืน และที่สำคัญ ผู้บริหารในระดับประถมศึกษา เป็นผู้ทดสอบการอ่านบทกวีด้านประวัติศาสตร์ชาติเกาหลี และการแปลความหมายของบทกวีกับนักเรียนทุกคนด้วยตนเอง เข้าไปพบในห้องเรียนทุกห้อง เพื่อที่จะทดสอบคุณภาพของผู้เรียนด้านการอ่าน การเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ และความลึกซึ้งถึงความเป็นชาติ

๒.   กระบวนจัดการเรียนการสอน

ข้อค้นพบที่สำคัญของกระบวนการจัดการเรียนการสอนคือการให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน การได้มีอิสระในการคิด โดยมีลักษณะเน้นการจัดการศึกษา เสริมสร้างวัฒนธรรม  ควบคุมตนเอง  และมีความคิดสร้างสรรค์ อบรมด้านจิตใจในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ให้ความรู้ทางวิชาการที่เหมาะสมกับเด็ก  ฝึกฝนด้านร่างกาย  จิตใจ และเน้นการฝึกฝนอาชีพ  ในการเตรียมตัวเพื่ออนาคต  การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมโดยจัดกิจกรรม ๓ F  คือ From  I  (เริ่มต้นที่ตนเอง) From  now (ทำเดี๋ยวนี้)  From  small  (ทำจากจุดเล็ก    ไปสู่เรื่องใหญ่ๆ)  นอกจากนั้นยังพบว่าการจัดกระบวนการเรียนการสอนยังเน้นในเรื่อง ความเป็นอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ชาติ   ด้านการใช้ภาษา  การมีระเบียบวินัย  ความเป็นชาตินิยม  ในการใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ของตนเอง  และในระดับมัธยมศึกษา มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มุ่งเน้นการปฏิบัติจริงโดยให้ความสำคัญในการจัดการเรียนการสอน    ด้าน  ดังนี้

. สร้างวัฒนธรรม  ควบคุมตนเอง  และมีความคิดสร้างสรรค์  มีกิจกรรมให้นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านทาง  HomePage  แบบประชาธิปไตย

 .  อบรมด้านจิตใจในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดย

- การใช้โปรแกรมเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน

- ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกันในสังคม

- ส่งเสริมให้นักเรียนมีอัธยาศัยที่ดี  รู้จักสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไป

- สร้างความอบอุ่นและแสดงออกซึ่งความรักระหว่างครูกับนักเรียนสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง

เช่น  รอรับนักเรียนหน้าโรงเรียนและโอบกอดนักเรียน

-  การจัดกิจกรรมเข้าแคมป์  โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมตลอดกิจกรรมปีละ ๑ ครั้ง

        -  จัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง  นักเรียน  โดยใช้ชมรมที่จัดตั้งขึ้นและมุ่งเน้นกิจกรรมที่ใช้จิตอาสา 

- การจัดเทศกาลของนักเรียน  โดยให้นักเรียนมีอิสระในการคิดและดำเนินการเอง  เช่น วันไหว้ครูของโรงเรียน

๓.   การจัดสื่อเทคโนโลยีและอุปกรณ์ประกอบภายในและนอกห้องเรียน

ในการจัดการศึกษาของทั้งสองโรงเรียนพบว่าใช้ห้องเรียนและห้องพิเศษให้เป็นห้องเรียนที่มีคุณภาพ จัดหาสื่อเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัย  มีสื่อและอุปกรณ์ที่ดูร่องรอยแล้วมีการใช้และบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญทุกห้องจะมีมาตรฐานห้องเรียน หมายถึง มีอุปกรณ์เครื่องมือที่เหมือนๆกัน เช่น ทีวีจอแบนขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์               โปรเจกเตอร์  โทรศัพท์  เครื่องปรับอากาศ  กระดานไวน์บอร์ด อุปกรณ์ดับเพลิง  ตู้ใส่หนังสือ ที่แสดงผลงาน  แฟ้มสะสมงานนักเรียน  มุมหนังสือ  เป็นต้น การจัดสภาพอาคารเป็นอาคารถาวร มีห้องปฏิบัติการต่างๆเพียงพอ เช่นห้องวิทยาศาสตร์ ศิลปะ   คอมพิวเตอร์  ห้องสมุด  ห้องซาวด์แลป ห้องพักครู  มีมุมอ่านหนังสือหน้าห้องน้ำ  ทุกชั้นมีห้องน้ำชาย-หญิง และที่สำคัญอุปกกรณ์ภายในและภายนอกเป็นอุปกรณ์ที่สวยงาม ทันสมัย และถูกตกแต่งให้มีบรรยากาศในการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและมีให้เห็นทั่วไปในโรงเรียน

๔.   ผู้สอนและผู้เรียน

ครูและบุคลากรในสถานศึกษาจะมีบทบาทในการสร้างห้องเรียนคุณภาพ โดยเฉพาะความเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนการสอน ที่จะให้นักเรียนมีคุณลักษณะตามที่ชาติต้องการ ครูจึงเป็นผู้ที่จะต้องเป็นมืออาชีพ  มีการเตรียมการสอน จัดทำแผนการสอน สาระการสอน และวัดผล ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

ผู้เรียนระดับประถมศึกษา  นโยบายของโรงเรียน  ได้กำหนดให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ๔  ประการ  ประกอบด้วย

๑.นักเรียนมีความรู้พื้นฐานการอ่านออกเขียนได้

.นักเรียนมีบุคลิกภาพ มารยาทดี มีคุณธรรมจริยธรรม

.นักเรียนมีสุขภาพร่างกาย และจิตใจดี

.นักเรียนได้เรียนรู้ด้านศิลปะ ดนตรี เพื่อความมีสุนทรียภาพ

ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา  นโยบายของโรงเรียน ได้กำหนดให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ๓ ประการ  ประกอบด้วย

.  สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองและนักเรียน

๒. นักเรียนมีอิสระในการเลือกเรียนวิชาชีพตามความถนัด

๓.   นักเรียนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล

 

จากการสอบถามและสังเกตผู้เรียนผู้เรียนมีพฤติกรรมตอบสนองการเร่งเร้าในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างจริงจัง  ครูและผู้ช่วยครูที่เข้าไปช่วยกันจัดกิจกรรม จะใช้ความเป็นผู้จัดการเรียนรู้ และซักถาม สนทนา ซึ่งภาษาที่ใช้เป็นภาษาเกาหลีเป็นหลัก แต่ภาษาท่าทางที่ครูแสดงออกกับเด็กและเด็กแสดงออกมากับครู บรรยากาศจะเป็นกันเองแต่จริงจัง มุ่งไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ให้มากที่สุด ซึ่งรายละเอียดสามารถเข้าไปดูที่เวปไซต์        

http://www.songun.es.kr   เพิ่มเติม

           

                ดังจะเห็นได้ว่า ภาพของการจัดการศึกษาในเมืองพูชาน ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จะเป็นอีกมุมมองหนึ่งในการสร้างห้องเรียนคุณภาพ ซึ่งอาจหมายรวมถึง กระบวนการจัดการบริหารที่ดี  กระบวนจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  การจัดสื่อเทคโนโลยีและอุปกรณ์ประกอบภายในและนอกห้องเรียนที่ดี  โดยมีเป้าหมายที่สามารถสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และเข้าถึงองค์ความรู้ได้ดี มีคุณภาพ รวดเร็ว แต่องค์ความรู้นั้นต้องมีคุณภาพและใช้กิจกรรมที่ต่อเนื่อง โดยมีครูและผู้เรียนเป็นองค์ประกอบหลัก  ห้องเรียนก็จะเป็นห้องเรียนที่มีคุณภาพในที่สุด

 ในการมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาของประเทศไทย  จึงอยู่ที่การกำหนดนโยบายของหน่วยงานและสถานศึกษา  ที่จะปลูกฝังในสิ่งที่ชาติต้องการ โดยให้มีการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้คนเข้าใจประวัติศาสตร์  รักชาติ และสร้างองค์ความรู้ที่ดีมีคุณภาพ สร้างสรรค์ และที่สำคัญทุกเรื่องที่จะทำ ต้องอย่าง  จริงจังและต่อเนื่อง

 

 

หมายเลขบันทึก: 232954เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2009 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีปีใหม่ 2552 ค่ะ

มีความสุขในทุกๆวันนะคะ

โชคดี ตลอดปีและตลอดไป

J สุขภาพแข็งแรงค่ะ J

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท