ประเด็นทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา


ประเด็นทฤษฎ๊ทางการบริหารการศึกษา

 

                ทฤษฎีบริหารการศึกษามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากที่ยึดโครงสร้าง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สายการบังคับบัญชาตามลำดับขั้นอย่างเข้มงวด เน้นผลผลิตของงานมากกว่าความเป็นมนุษย์ของคนงาน  ไปสู่รูปแบบที่มีความยืดหยุ่น โครงสร้างอย่างหลวม (Loosely  Structure Model)  มองเห็นคนงานเป็นมนุษย์สังคมมากกว่าเป็นมนุษย์เศรษฐกิจ เน้นการสร้างสิ่งจูงใจหรือความพึงพอใจในการทำงานของคนงานเป็นสิ่งสำคัญ และที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงระบบการคิด (Thinking  System) ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางการบริหารการศึกษาที่สำคัญ (Significant Paradigm  Shift)  ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกระบวนทัศน์เดิมกับกระบวนทัศน์ใหม่ ได้ดังตารางต่อไปนี้

 

กระบวนทัศน์เดิม

(Old Paradigm  Shift)

กระบวนทัศน์ใหม่

(New Paradigm  Shift)

1. เน้นการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับงานประจำภายในองค์การเป็นหลัก

1.เน้นการมีพลวัตรเพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

2. เน้นการนำนโยบายของผู้บริหารระดับสูงมาปฏิบัติ

2. เน้นการเป็นผู้พัฒนานโยบายมากขึ้น

3.  เน้นการปกปิดและขจัดความขัดแย้ง

3.  ให้ความสำคัญกับความขัดแย้ง(conflict) ถือว่าเป็นธรรมชาติและสิ่งจำเป็น

4.  ยึดถือความเป็นเหตุเป็นผล (Rationality) เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจเป็นหลัก

4.  ยึดถือการเจรจาต่อรอง (Bargaining) การออกเสียง(Voting) หรือการโน้มน้าวจิตใจ (Persuasion) และการมีส่วนร่วม (Participation)  เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย ตลอดจนแผนงานโครงการ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมร่วม (Shared  Culture)

ตารางที่ 1  แสดงการเปรียบเทียบกระบวนทัศน์เดิมกับกระบวนทัศน์ใหม่

                จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารการศึกษาดังกล่าว จะเห็นได้ว่ารูปแบบองค์การทางการศึกษาที่พึงประสงค์ตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคือ องค์การเชิงวิชาชีพ

(Professional  Organization) ที่มีการกระจายอำนาจสูงให้ความเป็นอิสระในการตัดสินใจกับ

ผู้ปฏิบัติงานในระดับล่างมากขึ้น มีการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพสูงจนถึงขั้นคาดหวังให้เป็นบุคลากรมืออาชีพ  (Professional)

                กรณีวัฒนธรรมองค์การทางการศึกษา มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทฤษฎีทางการบริหารการศึกษาและลักษณะขององค์การทางการศึกษา  โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงในค่านิยมหลัก (Core Value) ทางการบริหารที่เปลี่ยนแปลงจากค่านิยมที่มุ่งความเป็นราชการที่เน้นความมีประสิทธิภาพ ความมั่นคงแน่นอน  ไปสู่ค่านิยมหลักที่เน้นความสามารถในการแข่งขัน ความมีประสิทธิผล ความมุ่งมั่นความสำเร็จ ความกล้าเสี่ยงความเปลี่ยนแปลง เป็นต้น  เช่นเดียวกับกรณีการพัฒนาวิชาชีพของผู้บริหารการศึกษามีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (Vision)  เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารงานขององค์การได้อย่างถูกต้อง (Do  the Right Thing) และความเป็นผู้มีภาวะผู้นำ (Leadership)ในการจูงใจและกระตุ้นให้ผู้อื่นปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                สำหรับการกระจายอำนาจเชิงบริหารกระแสแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงก็คือ  การกระจายอำนาจ (Decentralization)  ไม่ใช่การรวมอำนาจ (Centralization)

ประเด็นการวิเคราะห์องค์การทางการศึกษาไทย

                สำหรับประเด็นวิเคราะห์องค์การทางการศึกษาไทย รศ.ดร.วิโรจน์  สารรัตนะ  ได้แยกประเด็นการวิเคราะห์ปรากฏการณ์องค์การทางการศึกษาไทยโดยอ้างอิงสาระที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  เป็นหลัก   ไว้ดังนี้

1.        การใช้หลักการและแนวคิดในทฤษฎี

1.1  ด้านโครงสร้างองค์การทางการศึกษา   ยึดหลักการของทฤษฎีดั้งเดิมเป็นพื้นฐาน

-   หลักการมีสายบังคับบัญชา (Hierarchical Structure )

-   หลักการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor)

-   หลักการไม่เป็นส่วนตัว (Impersonal)

-   หลักการแห่งกฎระเบียบและข้อบังคับ (Rules and Regulation)

-  หลักความเป็นเหตุเป็นผล (Reasonality)

   1.2  จุดเน้นสำคัญของหลักการตามทฤษฎีดั้งเดิมที่นำมาใช้

-   หลักความเป็นเอกภาพในทิศทาง (Unity  in  Direction)

-   หลักความเป็นมาตรฐานในผลลัพธ์(Standardization  of Output)

-   หลักความเป็นเอกภาพในการสั่งการ (Unity  of  Command) เอกภาพในนโยบาย  มีความหลากหลายในการปฏิบัติ

-   หลักความเป็นมาตรฐานของงาน (Standardization of Work) (การกำหนดให้มี

ระบบประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก และหน่วยงาน สมศ.) 

2.        ลักษณะองค์การ

องค์การทางการศึกษาไทยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ดูเหมือนจะ

คาดหวังให้เป็น องคาการวิชาชีพ (Professional) พิจารณาได้จาก

2.1      การนำเอาหลักการกระจายอำนาจเชิงบริหาร (Administrative 

Decentralization)  มาใช้ทั้งในด้านงบประมาณ  วิชาการ บุคลากร และการบริหารทั่วไป ไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

2.2      การนำเอาหลักความเป็นมาตรฐานด้านทักษะ (Standardization of skill)  มา

ใช้ด้วย เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ เห็นได้จากมาตรการที่ส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง ให้มีองค์กรวิชาชีพครู  ผู้บริหารสถานศึกษา  และผู้บริหารการศึกษา  เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป  ลักษณะองค์การทางการศึกษาไทย หากพิจาณาเฉพาะ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  แล้วมีความมุ่งหวังจะให้มีการกระจายอำนาจเชิงบริหารจัดการ และคาดหวังที่จะให้บุคลากรในองค์การมีคุณภาพสามารถควบคุมตนเองได้ มีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำงานตามที่ได้รับการกระจายอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3.        วัฒนธรรมองค์การทางการศึกษา

วัฒนธรรมองค์การทางการศึกษาไทยยังคงต้องอาศัยบุคลากรในองค์การที่มีวัฒนธรรม

องค์การทั้งแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ คือ  ทั้ง  Hierarchy  Culture ,Market  Culture ,Clan  Culture และ  Adhocracy  Culture  อยู่  อย่างไรก็ตาม  ที่ผ่านมาองค์การทางการศึกษาส่วนใหญ่มีวัฒนธรรมองค์การแบบ Hierarchy  Culture อยู่ในระดับสูง  และเมื่อลักษณะองค์การมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปเป็นองค์การวิชาชีพสูงขึ้น ก็มีการกระจายอำนาจไปสู่ระดับล่างสูงขึ้น เป็นต้น  วัฒนธรรมองค์การเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ดังนั้น  สิ่งสำคัญและจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการ คือ การมุ่งเน้นพัฒนาเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การจากที่ไม่พึงปรารถนาไปสู่ที่พึงปรารถนา  เพื่อให้องค์การการศึกษาไทยเป็นองค์การวิชาชีพตามที่คาดหวังต่อไป

4.        การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  คาดหวังให้ผู้บริหารการศึกษาได้รับการ

พัฒนาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับวิชาชีพชั้นสูง  ทั้งนี้  ผู้บริหารการศึกษาต้องได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ คือ

4.1      ทักษะเชิงมโนทัศน์  (Conceptual  Skills)  เพื่อให้มีความสามารถในการกำหนด

วิสัยทัศน์ (Vision) ของหน่วยงานหรือสถานศึกษาของตนได้อย่างถูกต้องและถูกทิศทาง (Do the Right Thing) มากขึ้น

4.2    ทักษะเชิงมนุษย์ (Human  Skills)  เพื่อให้ผู้บริหารมีความสามารถในการเจรจาต่อรอง

กับกลุ่มผลประโยชน์ทางการศึกษา (Interest  Group) ต่างๆ ทั้งในโรงเรียน สังคม และชุมชนมากขึ้น

4.3    การเรียนรู้ศาสตร์ทางการบริหาร หลักการ แนวคิดและทฤษฎีตามทัศนะเชิง

วิทยาศาสตร์ ( Scientific  Approach )  เพื่อช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาเกิดแนวคิดใหม่ๆที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสภาพความเป็นจริงของหน่วยงานหรือท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม

5.        การกระจายอำนาจเชิงการเมืองหรือเชิงบริหาร

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  กำหนดการกระจายอำนาจเป็นแบบเชิง

บริหาร (Administrative Decentralization)  ไม่ใช่การกระจายอำนาจเชิงการเมือง (Political Decentralization)  เพราะเป็นเรื่องการมอบอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจด้านวิชาการ  งบประมาณ บุคลากร  ละการบริหารทั่วไป ของหน่วยงานส่วนกลางไปให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา การบังคับบัญชาจะต่อเนื่องกันมาตั้งแต่หน่วยงานระดับกระทรวงมาจนถึงระดับสถานศึกษา

   

หมายเลขบันทึก: 232655เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2008 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ผ่องพรรณ ห่วงรัตน์

เรียนขอความกรุณาช่วยส่งรายละเอียดบทความข้างต้น เพื่อประกอบการเรียนรู้ของข้าพเจ้า

ด้วยความนับถือ

นางสาว ผ่องพรรณ ห่วงรัตน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท