กระทรวงวัฒนธรรม...กระทรวงฝึกหัดรัฐมนตรี ?


“วัฒนธรรม” เป็น “รากเหง้า” ของความเป็น “สังคม หรือชุมชน” ที่มีความเจริญรุ่งเรื่อง

กระทรวงวัฒนธรรม...กระทรวงฝึกหัดรัฐมนตรี ?

วันนี้ (๑๙ ธ.ค. ๕๑) ผมมีโอกาสไปนั่งอ่านหนังสือ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และได้นั่งสนทนากับคนรู้จักที่นั่น พร้อมๆ กับอ่านข่าวสารบ้านเมืองผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ไปด้วย และแน่นอนว่าพาดหัวข่าวช่วงนี้คงไม่มีอะไร Hot ไปกว่าข่าวการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีของรัฐบาล “โอบามาร์ค ๑” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งก็เป็นหัวข้อสนทนาของผมกับเพื่อนด้วยในวันนี้

เหตุก็เพราะว่ารัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นตำแหน่งสุดท้ายที่มีการกล่าวถึงจนแทบจะไม่เห็นถึงความสำคัญ ประมาณว่าไม่มีใครได้ตำแหน่งในกระทรวงใหญ่กว่านี้แล้วค่อยมาลงที่กระทรวงนี้ว่างั้นเถอะ!!! เสมือนหนึ่งเป็น “กระทรวงฝึกหัดรัฐมนตรีใหม่” ก็คงไม่ผิดมากนัก เพราะถ้าย้อนดูเล่นๆ จากรัฐมนตรีที่ผ่านมาจาก ป้าอุ อุไรวรรณ เทียนทอง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคนแรก นายอนุรักษ์ จุรีมาศ อาจารย์ไขศรี  ศรีอรุณ นายอรุสรณ์  วงวรรณ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ถ้าไม่นับรวมอาจารย์ไขศรี ซึ่งไม่ได้มาจากสายการเมืองแล้ว จะเห็นว่าทุกคนล้วนเป็นรัฐมนตรีหน้าใหม่กันทั้งนั้น และที่สำคัญต่อจากการเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมแล้ว ถ้ายังไม่หลุดจาก ครม. หลายคนต่างก็ขยับขึ้นเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงที่ใหญ่ขึ้น

ขณะที่นั่งฟังคนรู้จักพูดถึงเรื่องนี้ในเชิงบ่นนิดๆ ผมก็นึกถึงคำสอนของครูวิชาสังคมได้ว่า “วัฒนธรรม” เป็น “รากเหง้า” ของความเป็น “สังคม หรือชุมชน” ที่มีความเจริญรุ่งเรื่อง ผมสรุปเอาเองเป็นภาษาชาวบ้านว่า ถ้าเราไม่มีวัฒนธรรม เราคงไม่มี “ประเทศไทย” ในวันนี้ เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งบอกความแตกต่างที่สำคญของความเป็นชาติพันธุ์ที่ต่างกันระหว่างประเทศต่างๆ บนโลกใบนี้ ซึ่งจากนิยามทางความรู้สึกนี้ ทำให้ผมเองมองว่ากระทรวงนี้ยิ่งใหญ่มากในเชิงค่านิยมและความรู้สึกของความเป็นชาติไทย เหตุฉะไหนเล่า เหล่ารัฐมนตรีจึงให้ความสำคัญน้อยนัก

ผมอาจจะเข้าใจผิด จากความรู้สึกที่ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับกระทรวงนี้น้อย แต่ก็หวังว่ารัฐมนตรีใหม่ที่เข้ามากำกับดูแลกระทรวงนี้จะมีความภาคภูมิใจ และมีอะไรใหม่ๆ ในการทำให้กระทรวงนี้มีความสำคัญในการกระตุ้นเตือนรากเหง้าของคนไทย ให้มีความรู้สึกรัก และสามัคคีต่อกัน เพื่อดำไว้ซึ่งความเป็นชาติต่อไป ดังที่บรรพบุรุษของเราได้ธำรงค์ไว้จนถึงทุกวันนี้

ด้วยความเคารพรัก

หมายเลขบันทึก: 231446เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2008 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มีคำกล่าวของมหาบุรุษกล่าวว่า

"หากต้องการให้ลูกศรไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด ต้องดึงสายธนูไปข้างหลังให้ลึกที่สุด"

ชาติก็เช่นกัน หากศึกษาและสนใจในประวัติศาสตร์มากเพียงใดประเทศก็จะเจริญมากเพียงนั้น ดูจากต่างประเทศบางประเทศไม่มีอารยธรรมให้ศึกษาเขาก็ขุดสัตว์โลกล้านปีกัน ประเทศเขาจึงพัฒนากว่าประเทศเราตั้งล้านกว่าปี

กระทรวงไหนก็คงสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน หากจัด รมต ให้เหมาะกับงาน ก็คงดี

ขอบคุณสำหรับคำอวยพรปีใหม่ และข้อคิดดีๆ ครับ

ด้วยความเคารพรัก

วัฒนธรรมเป็นรากฐานของสังคม และแสดงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของสังคมนั้น และประทับใจในมุมมองเรื่อง การยิงธนูครับ.. P พิมล มองจันทร์

ลองใช้ความเป็นรัฐมนตรีฝึกหัดให้เกิดประโยชน์ก็ดีนะครับ

กำลังบริสุทธิ์ จริต มารยายังไม่มาก

ข้าราชการระดับสูงก็ช่วยเหลือ น่าจะไปได้ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท