ทำำผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยะฐานะ้ด้วยการพัฒนาโรงเรียนทั้งโรงเรียนร่วมกัน


ไม่ว่าอะไร ถ้าเด็กและเยาวชนไม่ได้ประโยชน์ ต้องถือว่าเสียทั้งหมด

 

 

         Image and video hosting by TinyPic Image and video hosting by TinyPic 

 

ทำผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยะฐานะ
ด้วยการพัฒนาโรงเรียนทั้งโรงเรียนร่วมกัน

 

      “ ครูและผู้บริหารก้าวหน้า  แต่นักเรียนและบ้านเมืองถอยหลัง ”

       คำกล่าวอย่างนี้ ไม่รู้ว่าใครพูดบ้าง  ผู้เขียนขอยกมาเขียนไว้ในบรรทัดแรกอย่างนี้  คิดว่าน่าจะเป็นการเปิดเวทีวิวาทะที่น่าจะได้ผล  หรือยอมรับกันหมดทุกคน.......  ซึ่งก็ได้ผลอีกเช่นกัน

 

       ที่เขียนอย่างนี้เพราะ

 

       ผู้เขียนเชื่อว่า  มาตรการการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อใช้ในฐานะที่เป็นเครื่องล่อให้ครูและผู้บริหารสร้างสรรค์วิชาการ ในขณะนี้ โดยหวังว่ามันจะส่งผลดีแก่เด็กและสังคมในที่สุดนั้น  เป็นความหวังที่สมหวังน้อยเหลือเกิน


       ถ้าข้อบ่งชี้  2  ประการนี้ตรงกับข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่  เชื่อได้ทันทีเลยว่า  ความในย่อหน้าถัดขึ้นไปนั้นจริง  โดยไม่ต้องทำวิจัย  2 ประการนั้นได้แก่  

      

 

 

   

 

  • ผลงานทางวิชาการโดยส่วนใหญ่แยกตัวออกมาจากบริบทของโรงเรียนและชุมชนค่อนข้างจะเด็ดขาด
  • ผลงานของครูหรือผู้บริหารบางคน  ครูหรือผู้บริหารเหล่านั้นไม่ได้ทำเอง

          เอาล่ะ ! ขอพูดแต่เพียงเท่านี้ก็แล้วกัน  ขอให้ไปเปิดเวทีอภิปราย
กันต่อนะครับ  
     

       ผู้เขียนมีความเห็นว่า  การสร้างผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยะฐานะ ควรดำเนินการตามแนวทางดังนี้ 

·       ทำในสิ่งที่เป็นปัญหาหรือความต้องการของโรงเรียนจริง ๆ

·       เป็นการดำเนินการร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ  ครู   ผู้บริหาร เด็ก และชุมชน

·       เป็นการดำเนินการในเชิงการพัฒนาปฏิบัติการ 

             การทำอย่างนี้ ก็คือการพัฒนาผลงานทางวิชาการควบคู่ไปกับการพัฒนาโรงเรียน 

             การทำอย่างนี้  ถ้ามองในเชิงการวิจัยก็อาจเรียกว่า การวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน  ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา  แขมมณี และคณะได้นำให้เห็นแนวทางในการดำเนินการไว้แล้ว  โดยที่ท่านและคณะได้ลงไปร่วมดำเนินการกับคณะครูจากโรงเรียนต่าง ๆทั่วประเทศ  จำนวน  135  แห่ง  ดำเนินการในช่วง  2545-2547 ในชื่อโครงการวิจัยว่า“ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน ” มีเอกสารรายงานผลการวิจัยออกเผยแพร่เป็นซีรีส์ ซึ่งมีทั้งหมด  6  เล่ม สามารถหาอ่านได้โดยทั่วไป

             การทำอย่างนี้มีแต่ได้  ได้ทุกคน  ตั้งแต่  เด็ก ครู  ผู้บริหาร  ชุมชน  ศึกษานิเทศก์  หัวหน้างานต่าง ๆ รองผู้อำนวยการ  ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ ฯ  ผู้อำนวยการสำนักต่าง ๆในกระทรวง  ผู้ตรวจฯ  เลขาธิการฯ   ปลัดฯ และถ้ารัฐมนตรีจะเอาไปเป็นผลงานงานก็ได้ เป็นรูปธรรม ไม่ยกเมฆ  

 

   แต่ใช้เงินก้อนเดียว
  ก็คือเงินงบประมาณ
  แผ่นดินนั่นละ
 

           

         

 

         

 

  


      
ซึ่งจะตรงกันข้ามกับรูปแบบที่ทำกันอยู่ขณะนี้  มีคนไม่กี่คนที่ได้  นอกนั้นเสีย  ที่สำคัญเด็กเสีย 

 

                  ไม่ว่าทำอะไร  ถ้าเด็กและเยาวชนไม่ได้
           ประโยชน์  ต้องถือว่าเสียทั้งหมด 

 

 ว่าม่ะ !!!!!!!        

    
48.gif picture by Amapola_album 48.gif picture by Amapola_album 48.gif picture by Amapola_album

 

      

หมายเลขบันทึก: 231295เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2008 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดุเดือดๆๆๆ  ว่าม่ะ อย่าไปเครียดกับมันเลย ที่ว่ามาถูก แต่ไม่หมดอิอิ

จะเล่าอะไรให้อ่าน  ที่บางสพท.(อยากรู้ต้องคุยหลังไมค์)

 ครูเขาทำผลงานส่งไปถึงเขตตั้งแต่เดือนๆ เออ..วันสุดท้ายคือ 31 มีนาคม 2551  รู้ไหมว่าสพท.เพิ่งส่งผลงานไปให้คณะกรรมการตรวจเมื่อไรทายซิคะ  รับรองทายไม่ถูก อิอิ 

บัดนี้ สงสารคุณครู บินเข้ากองไฟผลงานอยู่ไหนไม่รู้...ใครถามโดน...

อย่า ๆ ได้ถามว่าผลงานของผมตรวจไปถึงไหนแล้วคร๊าบบบบ.. ท่าน

เดี๋ยวโดน  คุณครูกลัวเขา ...ถูกฟันธง ไม่ตรวจเลยไม่กล้าไปแหย่รัง

555+  น่าสงสารจัง เป็นครูยังถูกกดขี่ !

 งบตรวจหมดไปตั้งแต่ 30 กันยายน 2551 ฮาอีกที แต่ผลงานของพวกครูๆ เพิ่งเคลื่อนย้ายที่อยู่เมื่อ ตุลาคม  

เอ้า มาช่วยกันเฮ..กันเป็นครั้งที่ 2

  บัดนี้ เป็นตายร้ายดีอย่างไร ไม่มีใครให้คำตอบ อุ๊ๆ อย่าเอ็ดไป เขาพากันสงสัย แต่ไม่มีใครกล้าถาม เพราะเดี๋ยวโดน ๆๆๆ 555+

ดังนั้นอย่าไปเครียดนะคะ อีกน๊านนนนนน..ครูๆ ทั้งทำและไม่ทำผลงาน ก็มีสภาพไม่ต่างกัน ก็อยู่ได้แค่ 60 ทำให้ตาย หรือทำไม่ตาย ฝากไว้แต่ความดี เพื่ออนาคตของชาติ น๊ะ

ใครจะทำก็ทำขอให้พัฒนาเด็กจริงๆ ไม่งั้นตกนรก อุ๊ยแรง

ใครไม่ทำก็พัฒนาเด็กจริงๆ ไม่งั้นก็ไม่ต่างอะไร

ขออภัยคิดเล่น ไม่อยากให้เครียดน๊ะ..พี่น้อง

สวัสดี krutoi

  • ไม่เครียดหร็อก แต่จริงจัง
  • เรื่องอย่างนี้ ถ้าสถานการณ์ไม่ดีขึ้นบ้านเมืองแย่ ว่าไหม๊
  • วงการครู วงการบริหาร วงการการศึกษา ถ้ายังสยบยอมต่อ เรื่องไร้สติอย่างนี้ หด... หู่...
  • แต่ประเด็นสำคัญที่เสนอในเรื่องข้างบนไม่ได้จริงจังกับเรื่อง บ้า ๆ บอ ๆนี้เท่าไรหร็อก อยากให้สนใจทำแบบที่เสนอน่ะ

              -ลองมาแลกเปลี่ยนความเห็นกันดูว่ามันพอจะเป็นไปได้
               ไหม อย่างไร มีตอ มีขวาก อะไนที่ไหนบ้าง เป็นต้น

  • เชิญชวนทุกท่านนะครับ

                                                             paaoobtong

สอบ O-NET ครั้งนี้แสนแปลกนัก

ส่วนใหญ่มักเคร่งเครียดซีเรียสหนอ

ข้อสอบนั้นดูแล้วไม่ยากพอ

แปลกจริงหนอนักเรียนดูเศร้าจัง

จะว่าเครียดทำไม่ได้ก็ไม่ใช่

เห็นทำไปอย่างรวดเร็ว...จอมขมัง

มองหน้าครูด้วยสายตาอ้อนวอนจัง

ครูกักขังพวกหนูไว้ทำไมกัน

เห็นหลายคนทำข้อสอบเสร็จเร็วนัก

เลยนอนพักรอเวลากลับบ้านฉัน

ชั่วโมงครึ่งผ่านไปดีใจพลัน

เสียงดังลั่น “อนุญาตให้นักเรียนออกจากห้องสอบ” .......เฮ้.

โดย ครูวัชรินทร์ บุญหาญ

วันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551

ผมชอบวิธีมองปัญหาของท่านนะครับ แต่ผมยังไม่ได้เป็นสมาชิก ยังไงตอบผมตามนี้นะครับ

[email protected]

.......ท่านอาจารย์คงไม่มีเวลาเข้ามาเยี่ยมเยียนพวกเรา....คงมีภารกิจหลังจาก..หมดภาระทาง.........การสอน....ถ้ายังคิดถึงพวกเรากลับมาไว ๆ นะ....

................ด้วยจิตคารวะ..............

 ................นายก้ามกุ้ง...............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท