เทคนิคช่วยลูกเรียนรู้คำศัพท์ (2)


จากการที่เด็กได้ฟังและใช้คำศัพท์ จากนั้นเด็กจะอ่านและในที่สุดก็เขียน

                พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกบันทึกไดอารี่หรือมีเพื่อนคุยทางจดหมาย (แม้ในปัจจุบันจะมีเว็บบล็อกและโปรแกรมต่างๆทางอินเตอร์เน็ตมากมาย แต่การให้เด็กได้ฝึกเขียนด้วยตนเองจะมีประโยชน์มากกว่า) ควรสมัครสมาชิกนิตยสารสำหรับเด็กซึ่งมีมากมายและมักจะครอบคลุมความสนใจของเด็กในทุกๆด้าน ได้แก่ รถ กีฬา คอมพิวเตอร์ รวมถึงสิ่งต่างๆอีกมากมายที่อยู่นอกบ้าน ข้อมูลข่าวสารจากบทความในนิตยสารอาจจะเป็นหัวข้อเรื่องสำหรับการสนทนากันในครอบครัว

                ถ้าญาติที่อยู่ห่างไกลมีเครื่องเล่นเทปให้ส่งจดหมายถึงญาติในรูปแบบเทป สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนผลัดกันพูดอัดใส่เทปและส่งทางไปรษณีย์ไปให้ญาติฟัง ญาติผู้นั้นก็อาจจะให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมแล้วส่งกลับมา หรืออาจส่งต่อให้ญาติคนอื่นต่อไป

                การเล่นเกมหาคำศัพท์ที่ออกเสียงคล้ายกันแต่สะกดต่างกันและมีความหมายต่างกัน (คำพ้องเสียง) ได้แก่  รถ- รด ใจ-ไจ ติดไว้บนตู้เย็น ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยกันหาคำศัพท์มาติดเพิ่ม แล้วทุกคนจะแปลกใจว่าทำไมมีคำศัพท์หลายคำนักที่ออกเสียงคล้ายกัน หรืออาจเล่นเกมที่หาคำควบกล้ำ ในแต่ละคำจะประกอบด้วยพยัญชนะตามด้วยเสียงสระ ได้แก่ กล้า พร้า คำบางคำที่แม้จะควบกล้ำกันแต่ออกเสียงพยัญชนะแค่เสียงเดียว(คำควบแท้กับคำควบไม่แท้) ได้แก่ ไทร ทราบ

                เกมเดาคำศัพท์ก็น่าสนุก ตัวอย่างเช่น แม่คิดถึงคำๆหนึ่งซึ่งขึ้นต้นด้วย กร และเป็นอาการที่เราใช้เวลาแสดงความเคารพ (กราบ) ซึ่งเมื่อพัฒนาต่อไปจะใช้ทายว่า อะไรเอ่ย ? ...” ก็ได้

                เกมของพ่อฉัน ตัวอย่างเช่น พ่อของฉันเป็นเจ้าของร้านขายสินค้าสะดวกซื้อ ในร้านขายของหลายอย่างที่ขึ้นต้นด้วย ลองช่วยกันหาดูว่าจะเป็นสินค้าอะไรได้บ้าง เช่น แก้วน้ำ กบเหลาดินสอ เป็นต้น หรืออาจหาคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น พรได้แก่ พระ พราย พร ... ให้มากที่สุด เมื่อหาไม่ได้ก็เริ่มคำชุดใหม่ต่อไป

                รากศัพท์ของคำก็น่าสนใจ คำศัพท์บางคำมีที่มาที่ไป เช่น แบงค์ มาจากคำภาษอังกฤษว่า Bank ใช้ในความหมายของ ธนบัตรหรือสถานที่ให้บริการเกี่ยวกับเงิน เป็นต้น คำขึ้นต้นของคำก็บอกความหมายได้ เช่น นัก ได้แก่ นักร้อง หมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการร้องเพลง (ไม่ใช่ร้องเรียน) นักเรียน ก็น่าจะหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการเรียน...

                ในระหว่างการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ พ่อแม่อาจบอกให้ลูกหาคำศัพท์ของสิ่งที่เราเห็นและขึ้นด้วยตัวอักษรต่างๆ หรือทุกสิ่งที่มีสีเขียว ถ้าหากมีการนับแต้มหรือคะแนนก็จะทำให้สนุกขึ้นและยังเชื่อมโยงถึงการเรียนรู้เรื่องเลขด้วย

                เกมคำคล้องจอง...แม่นึกถึงบางสิ่งบนใบหน้าหนูที่ออกเสียงเหมือนจังหวัดตาก (ปาก) คำอะไรที่ออกเสียงเหมือน น้ำ   เกมนี้นอกจากจะเพิ่มคำศัพท์แล้วยังช่วยสอนเด็กถึงเรื่องโทนเสียงในระดับต่างๆด้วย

                จากการที่เด็กได้ฟังและใช้คำศัพท์ จากนั้นเด็กจะอ่านและในที่สุดก็เขียน การฝึกฝนที่บ้านจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่โรงเรียน การเรียนรู้ที่บ้านจะมีประสิทธิภาพเพราะไม่เป็นทางการเหมือนที่โรงเรียน

                พ่อแม่ที่พูดคุยกับเด็กและมีปฏิสัมพันธ์กันบ่อยๆจะทำให้การเรียนรู้ของเด็กประสบความสำเร็จ เด็กจะตระหนักว่าคำศัพท์ไม่น่าเบื่อ แต่น่าสนใจและกระหายที่จะได้เรียนรู้ ทั้งหมดนี้พ่อแม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆอีกมากมาย

                                                 

                                                      

 

 

หมายเลขบันทึก: 231132เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2008 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท