ส้มโอ อ่างกะป่อง
นางสาว เรณู ส้มโอ อ่างกะป่อง หิริโอตัปปะ

เทคนิคการสอนงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิผล


เทคนิคการสอนงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิผล

เทคนิคการสอนงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิผล

การสอนงานของลูกน้อง นั้น ย่อมจะส่งผลให้กับงานของแต่ละส่วนนั้นดีขี้น เมื่อแต่ละส่วนขององค์กรดี ก็ย่อมหมายถึง องค์กรนั้นมีประสิทธิภาพ

การสอนงานที่ดี ย่อมมาจาก คนที่รู้ในงานนั้นอย่างดี ประกอบกับ ความสามารถในการถ่ายทอดว่า คนรู้งานนั้น มีความสามารถทางด้านนี้มากน้อยเพียงใด บางคนรู้งานดีแต่ถ่ายทอดไม่เป็น บางคนถ่ายทอดเป็น แต่ไม่รู้งาน...

องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีการสอนงาน เป็นประจำ ไม่เพียงสอนงานเท่านั้น ยังมีการสอบถึงความเข้าใจในงานด้วยว่า ผู้เรียนนั้น มีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด หากมีความเข้าใจน้อยเกินไป ก็ต้องมีการเข้าอบรมใหม่ และ สอบใหม่จนกว่า จะผ่าน บางที่ก็โยงการเรียนรู้เข้ากับรายได้ของแต่ละคน ซึ่งก็ขึ้นกับแต่ละองค์กร และ แต่ละระบบงาน

ทำไมองค์กรที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เหล่านี้ ต้องทำลักษณะนี้ ก็เนื่องจาก องค์กรเหล่านี้ เข้าใจถึงผลงานที่ได้จากคุณภาพของพนักงาน ว่าจะทำให้งานที่ได้รับนั้นมีคุณภาพ เมื่องานที่ได้จากพนักงานมีคุณภาพ ก็ย่อมทำให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้า และบริการ เมื่อลูกค้าพึงพอใจ ก็ย่อมทำให้องค์กร สามารถขายสินค้า หรือบริการได้มากขึ้น เมื่อ การขายสินค้า และ บริการมากขึ้น ก็ย่อมทำให้รายได้ หรือ กำไร ของบริษัทฯ มากขึ้น เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นก็ย่อมจะได้รับการแบ่งปันผลมากขึ้น มันเป็นผลที่ต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ ที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป...

วิธีการสอนงานนั้น ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเทคนิคของผู้สอนแต่ละคน ขึ้นกับลักษณะของผู้เรียนรู้ และ ขึ้นกับงานที่จะให้พนักงานทำ

งานที่ทำนั้นเป็นงานที่มีหลักการทื่แน่นอน ย่อมง่ายต่อการสร้างให้พนักงานนั้น มีหลักการแบบเดียวกัน อาจจะใช้วิธีการ อบรม หรือ ยกตัวอย่าง เพื่อมาอธิบาย หลักการต่างๆ ให้พนักงานเข้าใจ

งานที่อาศัยความจำของพนักงาน ก็ต้องสร้างหลักการจำให้กับพนักงานเพื่อใช้สังเกตุ หรือ สร้างระบบช่วยค้นหาเพื่อลดความจดจำของพนักงาน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้มาก ส่วนใหญ่มักแก้ไขโดยการสร้างฐานข้อมูล

งานที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมพิเศษ ต่างๆนั้น ก็ต้องแบ่งการอบรมออกเป็น ขั้นพื้นฐาน คือ การให้ความรู้ในการใช้งานโปรแกรม ขั้นมาตรฐาน คือ การให้ความรู้ในขั้นการประมวลผล หรือ เข้าใจขั้นตอนต่างๆมากขึ้น ขั้นสูง คือ ขั้นที่พนักงานสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆพื้นฐานได้ หรือ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นนอกเหนือความสามารถของโปรแกรมที่จะสามารถทำได้...

งานที่ต้องการความละเอียดอ่อน และ ปราณีตของการทำงาน ส่วนใหญ่ ต้องสร้างความชำนาญให้กับพนักงาน ดังนั้น จึงต้องฝีกอบรมพนักงานอย่างมากเพื่อสร้างให้เกิดความชำนาญ พร้อมทั้ง สร้างนิสัยความละเอียดอ่อนในการทำงาน ไปพร้อมๆกัน

งานที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตน จะสามารถฝีกได้ โดยการสร้างให้พนักงาน ได้ใช้ความสามารถเฉพาะตนเหล่านั้น ในการประยุกต์ใช้ หรือ ใช้กับเหตุการณ์สมมุติ หรือ เหตุการณ์ จริงก็ตาม เมื่อพนักงานรู้ว่า เหตุการณืเหล่านี้ ต้องใช้หรือต้องแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ ก็จะสามารถจดจำ และ นำไปประยุกต์ใช้กับงานจริงได้ต่อไป

งานที่ต้องการให้ออกมาในรูปแบบเดียวกัน ก็จะต้องฝีกอบรมให้กับพนักงานโดยมีรูปแบบการผีกอย่างเดียวกันด้วย มีหลักการณ์ และวิธีการที่แน่นอน เมื่อผ่านการฝีกอบรมไป ก็ต้องมีการทดสอบ หรือ ตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้พนักงานทำออกนอกลู่นอกทาง เมื่อพบว่า พนักงาน ไม่ปฎิบัติอย่างที่ต้องการ ก็ต้องเรียกเข้ารับการอบรมใหม่

งานที่มีลักษณะใดๆ ก็ต้องฝีกอบรมพนักงานในหลักการนั้นๆ ต่างกันออกไป ซึ่งก็แล้วแต่งานครับ.. อันนี้บอกกล่าวในนี้คงไม่หมด...

ผู้เรียนรู้ กับ วิธีการสอน ก็ต้องประสานให้กลมกลืนกัน



อย่างเช่น ผู้เรียนรู้นั้น เป็นกลุ่มบุคคลที่สมาธิสั้น หรือ ตั้งใจเรียนในช่วงสั้นๆ หรือ มีการศีกษาที่ไม่สูงมากนัก ต้องใช้วิธีการยกตัวอย่าง หรือ ให้ผู้เรียนรู้นั้น ได้ปฏิบัติงานจริง เป็นต้น

ซึ่งต้องแยกแยะผู้เรียน ความรู้ความสามรถของผู้เรียนรู้แต่ละท่าน ให้ออกว่า เขาเหล่านี้มีพื้นฐานอย่างไร อาจจะแบ่งเป็นกลุ่มๆ เพื่อง่ายต่อการให้ความรู้ในแต่ละคนด้วย...

การสอนงานที่ดีนั้น ควรจะยกตัวอย่างประกอบ ให้ผู้เรียนรู้มีส่วนร่วม มีกิจกรรมร่วมกัน และที่สำคัญ ต้องละลายพฤติกรรมของผู้เรียนรู้ก่อนทุกครั้ง เพื่อลดกำแพงทางใจของผู้เรียนรู้ลง...

บางครั้งการสอนงาน ไม่จำเป็นต้องอธิบายกันให้ละเอียด แต่สามารถสอนได้ โดยการเอาความคิดเห็น หรือ ข้อมูลของผู้เข้ารับการอบรม มารวบรวมเป็นความคิดรวม แล้วค่อยอธิบายอีกทีหนึ่ง ทำให้ผู้เรียนรู้รู้สึกว่า นี่เป็นความคิดของเขาเอง ไม่ใช่สิ่งที่ผู้อบรมยัดเยียดให้...

การอบรมนั้น เป็นงานบริการ ดังนั้น ผมจะย้ำเสมอว่า งานบริการ ต้องสร้างให้เกิดเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา...

การอบรมจึงควรจะมี การสอบเพื่อตรวจวัดความรู้ รวมทั้ง การให้ใบประกาศ ในการผ่านการอบรม ยิ่งมีผลสอบ หรือ ระดับความสามารถที่ผู้รับการอบรมได้ด้วยแล้ว จะทำให้เกิดความเอาใจใส่ต่อการอบรมมากขึ้น หรือบางที่ จะมีใบแจ้งผลสอบของพนักงานแต่ละคนที่ส่งเขามารับการอบรม ว่ามีความสามารถหลังจากผ่านการอบรมมากเพียงใด เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็มี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่แจ้งให้กับ ผู้เรียนรู้ และ หัวหน้างานที่ส่งเข้าอบรมรับทราบ รวมทั้งสร้างงานบริการที่ไม่มีตัวตน กลับมาเป็นสิ่งที่มีตัวตน จับต้องได้ และ ให้คุณค่าทางด้านจิตใจได้อีกด้วย...

การตรวจวัดที่ต่อเนื่องหลังจบการอบรมไปนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำเช่นกัน เพราะจะทำให้พนักงานเกิดความกระตือรือล้นตลอดเวลา

งานบางงานสามารถตรวจสอบได้ บางงานก็ต้องให้คนอื่นปลอมตัวไปรับบริการ หรือ บางงานก็ต้องหา ผู้ตรวจสอบ เข้าไปตรวจสอบกันตรงๆ ก็มี...

ทั้งนี้ เมื่อพบว่า คุณภาพของสินค้า หรือ บริการไม่ได้มาตรฐาน ก็ต้องให้มีการอบรมเพิ่มเติม หรือ ให้ทบทวนการทำงานบ่อยๆ จะสร้างให้คุณภาพของงานเหล่านี้ คงที่ได้บ้าง...

ไม่มีใครที่สามารถจดจำ หรือ ทำได้ถูกต้องทั้งหมดจากการอบรมเพียงครั้งเดียว

และ คนเราถ้าจะให้จำอะไรได้นั้น อย่างน้อยต้องตอกย้ำถึง 3 ครั้ง ติดๆ กัน จึงจะได้ผล การสร้างให้เกิดการทบทวนบ่อยๆ ก็เพื่อ วัตถุประสงค์เหล่านี้...

การอบรมที่ดี ไม่ใช่การบ่นหรือ อภิปรายแต่ทฤษฎีให้กับผู้รับการอบรมฟัง...

การมีแต่ ตัวเลข หรือ ข้อมูลมากมายนั้น ไม่ได้ช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจในสิ่งที่จะสื่อ ดังนั้น ต้องให้หลักการณ์ของการบูรณาการ เพื่อสร้างให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างถ่องแท้

การอบรมเป็นสิ่งที่ต้องใช้เงินทอง และ การวางแผนอย่างมาก บางองค์กรไม่วางแผนการอบรมจะทำให้การอบรมไม่ต่อเนื่อง และ ทำให้องค์กรเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

ผู้ให้การอบรม ควรจะมีความรู้ความสามารถ หรือทำงานทางด้านนั้นๆ มิฉะนั้น จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรม หลงทางได้ หรือเข้าใจผิดๆ ไปกระทำกันต่อไป...

หัวหน้างาน ควรเข้ารับการอบรมพร้อมลูกน้องด้วย เพื่อมีมุมมองทางด้านการทำงานในทิศทางเดียวกัน หรือหาก ผู้ให้เข้ารับการอบรมเป็นหัวหน้างานเองแล้ว จะทำให้ผู้รับการอบรม ได้ข้อมุลที่ตรงกับความต้องการของหัวหน้างาน และ หัวหน้างานเอง ก็จะได้รับการกระทำตามที่ต้องการเช่นกัน

คนเราแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เหมือน บัว 3 กอ
ดังนั้น ต้องทำใจบ้าง หากเจอกับบัวที่อยู่ใต้น้ำ ที่สอนอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง หรือ บางกลุ่มก็สอนมากๆถึงจะเข้าใจ แต่บางกลุ่มก็เพียงแต่บอกหัวข้อ ก็เข้าใจว่า สิ่งที่จะสื่อนั้นเป็นเช่นใด ดัง้นั้น การอบรมอย่าหวังว่าทุกคน จะได้รับผลอย่างเดียวกัน มีความสามารถหลังการอบรมเท่ากัน สิ่งที่ได้จากการอบรมในแต่ละครั้ง อาจจะต้องใช้เวลาพิสูตร ยาวนานกว่าจะเห็นผลก็มี .. ทั้งนี้ ก็อย่าคาดหวังกับการฝีกอบรมมากนัก ควรจะเผื่อใจกับผลที่จะออกมาบ้าง...

 

 

หมายเลขบันทึก: 230355เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2008 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นบทความที่มีประโยชน์ค่ะ ก็ขออนุญาต นำเทคนิคการสอนงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิผลไปใช้เป็นแนวทางในการทำงานบ้างนะจ๊ะ

คนเราแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เหมือน บัว 3 กอ อันนี้เรื่องจริงเลยนู๋ส้มโอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท