คาย : เครื่องบูชาอีสาน


คาย

             คาย  เป็นคำที่มีมากับชุมชนชาวภาคอีสานมาช้านาน  คำว่าคายมีอยู่ในทุกช่วงของการดำเนินชีวิตของชาวอีสานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน   แม้ว่ากาลเวลาผ่านไปหลายยุคสมัยแต่คายยังคงมีสืบต่อกันมา   เพียงแต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบ้างก็เพราะการเวลาและวัฒนธรรมสังคมมีการปรับเปลี่ยนผสมผสานอารยธรรมต่าง ๆ จนคายบางอย่างอาจแปลสภาพไปเลยก็มี

                คำว่า  คาย    สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า   คารวะ    เพราะจากใบลานเรื่องท้าวบุษบาปลาแดกปลาสมอ ( จารเมื่อ  พ.ศ.2455) มีข้อความตอนที่พระยาสุริยะวงศารบแพ้พระยาบุษบาแล้วจึงนำเอา  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย  แก้ว  คำ(ทองคำ)  

อย่างละหนึ่งร้อยมาเป็นของบรรณาการในฐานะที่เป็นผู้แพ้สงคราม ได้จารว่าเป็นของ   คายรวะสมมา  ซึ่งต่อมาเรียกว่า ค่าคาย

                คาย  หมายถึง  เครื่องบัตรพลีบูชาของชาวอีสานใช้บูชาแถน(เทวดา)  ผี   ครูบาอาจารย์และผู้ที่เคารพบูชาเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลหรือเพื่อเป็นการขอขมา    ดังนั้นเมื่อจะประกอบพิธีกรรมใด ๆ  จึงต้องมีการเตรียมเครื่องคายไว้เสมอเรียกว่า  การแต่งคาย  ซึ่งอีกนัยหนึ่งคายคือ  เครื่องประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของชาวอีสาน  ตัวอย่างเช่น  เมื่อจะทำการแสดงหมอลำ  จะต้องมีการบูชาครูบาอาจารย์เรียกว่า    ตั้งคาย    เพื่อทำการบูชา   คายหมอลำประกอบด้วย   เหล้าขาว  แป้งผัดหน้า   หวี  กระจก   เทียนขนาดเล็ก 5  คู่   ดอกไม้  5  คู่    ทั้งนี้เครื่องคายก็แล้วแต่ครูอาจารย์จะกำหนดอาจแตกต่างกันบ้าง  เป็นต้น

                  ของสำคัญที่จะขาดไม่ได้ในคายคือ  ขัน 5  ซึ่งหมายถึง  เครื่องบูชาอย่างละ 5  คู่ โดยมากมีดอกไม้ 5 คู่ เทียนเล็ก 5 คู่

ในบางท้องที่อาจมีหมากพลู  5 คู่  บุหรี่  5  มวน  เพิ่มอีกทั้งนี้แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องที่ ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าแม้ในยุคปัจจุบันคายก็ยังมีบทบาท ต่อพิธีกรรมมาก  เช่น เมื่อจะทำการสร้างพระอุโบสถ ต้องตั้งเครื่องคายบูชาเทวดาและต้องมีครบ

จะขาดเสียมิได้ ถ้าขาดถือว่า ไม่เป็นมงคล   ในชุมชนที่นับถือผีฟ้านั้นถือว่าคายเป็นของสำคัญที่จะขาดหรือเพิ่มไม่ได้ 

เพราะถ้าไม่ตรงตาม ตำราผีจะโกรธและทำให้เป็นปอบได้

             

               *       คาย  จึงเป็นเครื่องบูชาที่ประกอบด้วยความเชื่อ  ความศรัทธาของชาวอีสาน ซึ่งแม้มิติทางเวลาอาจเปลี่ยนแปลงวัสดุบางประการ  แต่มีอาจเปลี่ยนแปลงความเชื่อ คาย ได้เลย

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 230032เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2008 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้อ่าน รับรู้ ในสิ่งที่ยังไม่รู้ และรู้ไม่หมด ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท