การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพสารเสพติดโดยใช้แนวคิดมนุษย์ปรัชญา


พื้นฐานของการเยียวยาช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติด คือการช่วยเหลือทางด้านสภาพแวดล้อม รวมถึงการมีนักบำบัดที่เข้าใจดวงจิตที่แท้จริงของเขา เวลาการทำงานกับผู้ป่วยบางครั้งหากพูดๆเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ แต่ต้องทำความเข้าใจกับตัวผู้ป่วยและเลือกใช้เครื่องมืออื่นในการบำบัดฟื้นฟู.....

ตามแนวคิดมนุษย์ปรัชญากล่าวว่าในการทำความเข้าใจมนุษย์จะต้องมองดูที่บริบทของบุคคล รวมถึงดูพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย เรียกว่า  Soul development  คือการพัฒนาดวงจิตซึ่งมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ทางด้านสังคม  ครอบครัว  โรงเรียน วัฒนธรรม ฯลฯ  ของแต่ละบุคคลด้วย  ซึ่งหากพัฒนาการเป็นไปอย่างไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดการถดถอย หรือเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาอื่นๆ เช่น การเสพยาเสพติด เป็นต้น  ยกตัวอย่างเช่น  ช่วงวัยเด็กอายุประมาณ 7 ขวบ เด็กจะยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้มาก   จึงต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก ( คนในครอบครัว )  ส่งผลให้ครอบครัวเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อเด็กในช่วงวัยนี้เป็นอย่างมาก  แต่หากครอบครัวไม่เข้าใจพัฒนาการของเด็ก เช่น ให้ความรู้กับเด็กมากๆและเร็วเกินไป   จะส่งผลต่อการพัฒนาดวงจิตที่ไม่ถูกต้อง  สิ่งที่เด็กวัยนี้ต้องการ คือ การเคลื่อนไหว การเล่น ........การยัดเหยียดความรู้ให้เด็กจึงเปรียบเสมือนการให้เด็กอยู่ในโลงแก้ว( สถานที่แคบๆ )เด็กจะอึดอัด เมื่ออึดอัดก็อยากแสดงออกอยากหลุดพ้น เช่นการใช้สุรา หรือยาเสพติด  เป็นต้น ดังนั้นการทำความเข้าใจผู้ป่วยยาเสพติดจะต้องกลับไปดูถึงอดีตและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยด้วย               

                  พื้นฐานของการเยียวยาช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติด คือการช่วยเหลือทางด้านสภาพแวดล้อม  รวมถึงการมีนักบำบัดที่เข้าใจดวงจิตที่แท้จริงของเขา  เวลาการทำงานกับผู้ป่วยบางครั้งหากพูดๆเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ แต่ต้องทำความเข้าใจกับตัวผู้ป่วยว่า เวลาที่เขารู้สึกไม่ดี รู้สึกอึดอัด รู้สึกอยากใช้ยาเสพติด เพื่อให้เกิดภาพหลอน   การใช้ยาเสพติดอาจทำให้ความรู้สึกดีขึ้นในช่วงแรกที่ใช้ยา เพราะสมองติดยา เห็นแต่ข้อดีของยา ยังไม่เห็นผลเสียของการใช้ยาอย่างชัดเจน  จึงไม่สนใจเรื่องการรักษา  แต่เมื่อใช้ยาต่อเนื่องหลายๆ ปี จะมีผลต่อสมองส่วนคิด ทำให้คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลลดลง  มีผลต่อความจำ สมาธิสั้นลง ( ส่งผลต่อสมองส่วนบน ) ส่งผลต่อการรับรู้ ให้มีประสิทธิภาพลดลงด้วย นอกจากนี้นักบำบัดก็ต้องทำความเข้าใจว่า    ตามธรรมชาติในดวงจิตของมนุษย์มักมีความปรารถนาลึกๆอะไรสักอย่าง ซึ่งในบางครั้งก็อาจมีอุปสรรคหรือสิ่งมาขัดขวาง  แต่ก็อยากทำให้สำเร็จ นักบำบัดจึงต้องค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นถึงทำให้ดวงจิตหยุดชะงัก โดยดูชีวประวัติและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย

              ในการพัฒนาของดวงจิต บางครั้งลักษณะภายนอกกับดวงจิตอาจไม่ตรงกัน เช่น ผู้ป่วยบางรายอายุอาจมากแต่ดวงจิตยังเป็นเด็กอยู่ เรียกว่า “ ความถดถอย ” เราจึงต้องสร้างความตื่นเต้นความท้าทายในดวงจิตให้ผู้ป่วยไม่ใช่ถอยตัวเองออกมาจากความเป็นจริง  ซึ่งในยุโรปมีโครงการต้านยาเสพติดให้เด็กโดยการให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม ไม่ได้ยัดเหยียดกิจกรรมให้เด็ก ฝึกทำกิจกรรมโดยสร้างตนเองจากภายในให้มีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก 

ในการบำบัดรักษายาเสพติดก็เช่นกัน นักบำบัดจึงต้องพิจารณาถึงสิ่งแวดล้อม ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยหายจากความรู้สึกอึดอัด ( หลุดจากโลงแก้ว )  หากพบว่าผู้ป่วยมีอุปสรรคในการพัฒนาดวงจิต นักบำบัดจะต้องพยายามทำให้ผู้ป่วยก้าวผ่านไปให้ได้โดยฝึกให้เกิดการพัฒนาจากภายในของผู้ป่วยเอง ในด้านความคิด ( ฝึกคิด   มีการเลียนแบบ )   ความรู้สึก ( ความรัก ) และเจตจำนง ( ความคิดซึ่งนำสู่การกระทำ )  ซึ่งในผู้ป่วยวัยรุ่นจำเป็นต้องให้เขารู้สึกสนใจผู้อื่น สนใจสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากสนใจตนเอง  ยาเสพติดจึงส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย  จิตใจและสังคมของผู้ที่เสพยา ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย  ส่งผลต่อระบบประสาทสัมผัส ทำให้การรับรู้  การเอาใจใส่ตนเองและสิ่งแวดล้อมลดลง  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดในทุกๆด้าน ในลักษณะองค์รวมคือ  ดูแลทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ และสังคม   ซึ่งการเลือกใช้เครื่องมือในการบำบัดรักษานั้นก็ต้องเลือกอย่างเหมาะสม  เช่น กลุ่มผู้ป่วยที่หยุดการใช้สารเสพติดได้ระยะเวลาหนึ่ง  อาจใช้กลุ่มบำบัดที่เป็นลักษณะ  Cognitive Behavior Group เพื่อช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และป้องกันการกลับไปใช้ยาได้ แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ระบบการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลยังไม่ดี หรือมีข้อจำกัดทางพยาธิสภาพ   เช่น มีอาการขาดยา Withdrawal มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว เราอาจเลือกใช้เครื่องมืออื่นในการบำบัดฟื้นฟู   เช่น การฟื้นฟูประสาทสัมผัส หรือการฟื้นฟูสภาพร่างกาย เพื่อฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเบื้องต้นก่อน.....

 

 

หมายเลขบันทึก: 229839เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2008 06:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อย่างเห็นกรณีตัวอย่าง ที่นำความรู้นี้ไป ประยุกต์ใช้ครับ เล่าให้ฟังหน่อย

ในสถาบันธัญญารักษ์ ใช้แนวคิดนี้ในการทำกิจกรรมกลุ่มทักษะทางสังคมกับผู้ป่วยในระยะบำบัดด้วยยา ( ทำกิจกรรมแต่ละตึก 1 ครั้งต่อสัปดาห์)....เนื่องจากผู้ป่วยที่ยังมีอาการทางยาเสพติดหรืออาการแทรกซ้อนทางกาย/จิต รวมทั้งอาการwithdrawal เช่น ผู้ป่วยสุรา,ผู้ป่วยสารระเหย ในตึกบำบัดยาจะมีปัญหาทางด้าน

สมาธิ ความจำ และการควบคุมร่างกาย...อาทิ มือสั่น,แขนขาอ่อนแรง , การทำงานของสมอง เช่น การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล,การคิดอย่างเป็นระบบ จะมีปัญหาค่อนข้างมาก...การฟื้นฟูระบบต่างๆของร่างกายรวมทั้งการรับรู้ การฟื้นฟูประสาทสัมผัส ...

นักสังคมสงเคราะห์ใช้กิจกรรมการฟื้นฟูประสาทสัมผัสด้วยศิลปะไปใช้ในการบำบัดและฟื้นฟูผู้ป่วย กิจกรรมมีความหลากหลายเนื่องจากเป็นการฟื้นฟูแต่ละระบบ ยกตังอย่างเช่น...การฟื้นฟูในเรื่องการสั่งการของสมอง ความจำ และสมาธิ จะใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ/คำสั่ง/เสียง (ประยุกต์จากยูริสมี่ ) โดยการใช้อุปกรณ์คือแจกลูกบอลให้ผู้ป่วยคนละหนึ่งลูก กำหนดคำสั่ง เช่น คำสั่งซ้าย คือให้ผู้ป่วยส่งบอลให้กับตัวเอง...เปลี่ยนจากมือหนึ่งไปอยู่อีกมือ แต่ถ้าเป็นคำสั่งยาว ผู้ป่วยต้องส่งบอลให้เพื่อนที่อยู่ด้านข้าง หากก่อนส่งบอลอยู่มือซ้ายให้ส่งให้เพื่อนด้านซ้าย แต่หากบอลอยู่ขวาต้องส่งให้เพื่อนที่อยู่ด้านขวา เป็นต้น กิจกรรมนี้จะช่วยในเรื่องการฟื้นฟูการทำงานของสมอง การสร้างสมาธิ การฟัง ความจำ คะ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท