เส้นทางเมี่ยง-ชา "ศรีนาป่าน-ตาแวน" ตอนที่ ๔


“ข้าวเสี้ยง เมี่ยงป่ง” เป็นคำพูดที่สืบทอดต่อกันมานับแต่บรรพบุรุษ ความหมายคือ เมื่อข้าวที่ปลูกไว้กินหมดแล้ว จะเป็นช่วงเวลาของเมี่ยงออกยอดเก็บขายแลกเงิน

เมี่ยงกับเศรษฐกิจชุมชน

                ข้าวเสี้ยง เมี่ยงป่ง เป็นคำพูดที่สืบทอดต่อกันมานับแต่บรรพบุรุษ ความหมายคือ เมื่อข้าวที่ปลูกไว้กินหมดแล้ว จะเป็นช่วงเวลาของเมี่ยงออกยอดเก็บขายแลกเงิน  นั่นหมายถึงความสำคัญของเมี่ยงนั้นไม่ได้น้อยไปกว่าข้าวเลย คนในอดีตจะปลูกข้าวไว้กิน ส่วนเมี่ยงปลูกไว้ขายเพื่อมีเงินทองใช้ในครอบครัว

                เมี่ยงจากศรีนาป่าน-ตาแวน เคยเป็นเครื่องบรรณาการเจ้าผู้ครองนครน่านติดต่อกันมานานหลายร้อยปีกระทั่งในทุกวันนี้ พ่อค้าแม่ค้าเมี่ยงเจ้าใหญ่ ๆ ในตลาดเมืองน่านก็ล้วนเป็นคนจากหมู่บ้านศรีนาป่าน-ตาแวน นอกจากนั้นหมู่บ้านนี้ยังเป็นแหล่งผลิตใบเมี่ยงป้อนตลาดเมืองแพร่ด้วย
การเก็บเกี่ยวเมี่ยง

                สามารถเก็บได้ ๔ รุ่นต่อปี คือ

                รุ่นที่ ๑  เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤษภาคม ต้นเดือนมิถุนายน

                รุ่นที่ ๒ เก็บเกี่ยวเดือนกรกฎาคม

                รุ่นที่ ๓ เก็บเกี่ยวปลายเดือนสิงหาคม ต้นเดือนกันยายน

                รุ่นที่ ๔ เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายน (เมี่ยงเหมย คือ ถ้ามีความชื้นในอากาศก็จะให้ผลผลิตในช่วงนี้)

ตลาดเมี่ยง

                ในการค้าขายเมี่ยงจะมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ในหมู่บ้าน และตลาดนอกหมู่บ้าน

ราคาเมี่ยง

. เมี่ยงนึ่ง (เมี่ยงที่ยังไม่ผ่านการหมัก) ในหมู่บ้านราคากำละ ๓.๒๐ บาท

. เมี่ยงหมัก (พร้อมที่จะนำมาทำเมี่ยงอมแล้ว) ในหมู่บ้านราคากำละ ๔ บาท ส่วนตลาดในเมือง ราคากำละ ๕ บาท

ขอขอบพระคุณ

แกนนำศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลเรือง ทุกท่าน ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

หมายเลขบันทึก: 228767เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2008 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ดีจงเลยครับ
  • ได้ความรู้มากๆๆ
  • แต่อยากเห้นภาพด้วยครับ
  • รอดูนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท