เรื่องเล่าเกี่ยวกับปี่สก๊อต


ปี่สก๊อตดังโหยหวนที่วชิราวุธวิทยาลัย

            เสียงปี่สก๊อตดังกังวาลไปทั่วบริเวณใต้หอประชุมของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ที่นี่คือสถานที่ที่วงปี่สก๊อตที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยใช้ซ้อมเพื่อออกงานต่างๆ ซึ่งมีนักเป่า "ปี่ถุง" มากกว่า 50 ชีวิต

            ในช่วง 5 6 ปีที่ผ่านมา วงปี่ฯ มีการพัฒนาก้าวหน้าไปไกลมาก จากการที่ได้ Mr. Keith Walker มาเป็นครูผู้สอน ตลอดจนซ่อมแซมปี่ที่ชำรุด หรือแม้แต่สร้างปี่สก๊อตขึ้นใช้เอง ทั้งนี้ Mr. Walker เป็นครูสอนปี่สก๊อตที่มีชื่อเสียง (Keith นะครับ ไม่ใช่ Johnnie) และเคยได้เป็นรองแชมป์โลกในการเป่าปี่สก๊อตมาแล้ว  ครั้งหนึ่งได้รับเชิญให้เดินทางมาแสดงที่โรงเรียนฯ ต่อมาหลังจากเกษียนอายุจากงานที่ประเทศอังกฤษแล้ว ก็ได้ย้ายมาอยู่ประเทศไทยเป็นการถาวร และเข้าเป็นครูพิเศษสอนวงปี่สก๊อต

Mr. Keith Walker กับวงปี่สก๊อตของวชิราวุธวิทยาลัย

            Mr. Walker เล่าให้ผมฟังว่าเขาหลงไหลในเครื่องดนตรีชนิดนี้มาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ซึ่งอาจเป็นเพราะความที่มีเชื้อสายเป็นชาวสก๊อต แต่ความจริงเกิดและโตที่ประเทศโรดีเซีย ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศซิมบับเว อยู่ทางตอนใต้ของทวีปอัฟริกา เสียงของมันดังโหยหวนและเรียกร้องให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมอย่างมาก จนครั้งหนึ่งกองทัพสหราชอาณาจักรสั่งห้ามเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้โดยเด็ดขาด เนื่องจากทำให้ทหารชาวสก๊อตที่อยู่ในกองทัพเกิดอาการคิดถึงบ้านและยังโกรธแค้นกับคนเชื้อสายอังกฤษที่อยู่ในกองทัพเดียวกัน เพราะความที่ในอดีตอังกฤษไปยึดครองแคว้นสกอตแลนด์และผนวกเข้ามาอยู่ในสหราชอาณาจักร ซึ่งความโกรธแค้นนี้ก็ยังฝังลึกอยู่ในสายเลือดชาวสก๊อตทุกคน แต่จะปรากฎรุนแรงขึ้นถ้าได้ยินเสียงปี่สก๊อตที่เป็นเสมือนเสียงร้องจากบ้านเกิดเมืองนอนที่ถูกยึดครอง และในสมัยโบราณยังเป็นเสียงเรียกร้องให้ชาวสก๊อตจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับจักรวรรดิอังกฤษอีกด้วย

            โดยมากเพลงที่ใช้เล่นเป็นทำนองเพลงเก่าแก่ของสก๊อตแลนด์ เช่น เพลง Auld Lang Syne  เพลง Mull of Kintyre และเพลง Flower of Scotland เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้นำเพลงจากประเทศอื่นๆ มาเล่นด้วยปี่สก๊อตด้วย ซึ่งถ้าถามผมว่ารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็จะต้องตอบว่าไม่ค่อยชอบนัก เพราะฟังแล้วไม่ค่อยได้อารมณ์เหมือนกับฟังเพลงเช่น Auld Lang Syne

อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ Mr.Walker ได้นำเสนอเพลงจากภาพยนต์เรื่อง Ballad of the Green Berets นำแสดงโดย John Wayne ร้องโดย Staff Sgt. Barry Sadler ซึ่งเป็นทหารจากหน่วย Green Beret จริงๆ ที่ใช้เวลาในการพักฟื้นจากการบาดเจ็บในสงครามเวียดนามในการแต่งและร้องเพลงนี้  ซึ่งเป็นเพลงที่เกี่ยวกับความกล้าหาญและความเสียสละของหน่วยรบพิเศษ Green Beret ของสหรัฐ ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความเก่งกาจสามารถมากที่สุด และมักได้รับให้ทำภาระกิจที่ยากและอันตรายที่สุดเสมอ ผู้ที่จะเป็นนักรบหน่วยนี้ได้นั้น จะต้องผ่านการคัดเลือกที่สุดหฤโหดจนมีเพียง 3 ใน 100 เท่านั้น ที่จะผ่านการทดสอบและได้ติดเครื่องหมายปีกสีเงินซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของหน่วนรบนี้

Ballad of the Green Berets

By Staff Sgt. Barry Sadler แปลโดย Mr Todd

Fighting soldiers from the sky,
Fearless men, Who jump and die.
Men who mean, Just what they say.
The brave men, Of the Green Beret

Silver wings upon their chest,
These are men, America's best.
One Hundred men Will test today,
But only three, Win the Green Beret.

Trained to live off nature's land,
Trained in combat, hand to hand.
Men who fight by night and day,
Courage pique, From the Green Beret.

Silver wings Upon their chest,
These are men, America's best.
One hundred men will test today,
But only three win the green beret

Back at home a young wife waits,
Her Green Beret has met his fate.
he has died for those oppressed,
Leaving her his last request

Put silver wings On my son's chest,
Make him one of America's best.
He'll be a man they'll test one day.
Have him win, the Green Beret.

นักรบจากฟากฟ้า ชายชาติทหารที่ปราศจากความกลัวแม้จะกระโดดลงไปพบกับความตาย ชายที่พูดจริงทำจริง นี่แหละนักรบผู้กล้าจากหน่วย Green Beret
เข็มติดปีกสีเงินบนหน้าอก ยอดนักรบหาญกล้าอเมริกัน       100 คนจะทดสอบกันวันนี้  แต่ 3 คนเท่านั้นที่จะเป็น Green Beret
ฝึกฝนให้เอาตัวรอดในป่า ฝึกฝนในการรบทุกรูปแบบ แม้มือเปล่า พร้อมรบทั้งกลางคืนและกลางวัน  Green Beret เปี่ยมล้นด้วยความกล้า
เข็มติดปีกสีเงินบนหน้าอก ยอดนักรบหาญกล้าอเมริกัน       100 คนจะทดสอบกันวันนี้  แต่ 3 คนเท่านั้นที่จะเป็น Green Beret
ณ ที่บ้าน ภรรยาสาวคอยวันกลับของสามีนักรบ หากแต่ Green Beret ของเธอไปแล้วอย่างไม่กลับ เขาพลีชีพเพื่อรักษาอธิปไตยและประชาชนที่โดนกดขี่ คงเหลือเพียงคำขอสุดท้ายก่อนตาย
ให้ลูกชายของผมได้ติดปีกสีเงิน ทำให้เขากลายเป็นชายชาติทหารที่เป็นสุดยอดนักรบอเมริกัน วันหนึ่งเขาจะเป็นชายที่เข้าทดสอบ ขอให้ลูกมีชัยเป็นหนึ่งในยอดนักรบ Green Beret

 

            ผมฟังเพลงนี้ที่เล่นโดยปี่สก๊อตอันแสนจะโหยหวน พลางก็อดนึกถึงความกล้าหาญของนักรบและความสูญเสียผู้ที่ยังคงรอคอยอยู่ที่บ้านไม่ได้ เรียกว่าได้ยินเพลงนี้ทีไรก็รู้สึกวังเวงอย่างไรไม่ทราบ ผมเลยถาม Mr.Walker ที่ยืนอยู่ข้างๆ ว่าคุณรู้สึกอย่างไรเวลาได้ยินเพลงนี้ เขามองหน้าผมแล้วก็บอกว่า

“It’s a simple tune, but very effective”!  - ทำนองมันง่ายมากนะ แต่ฟังแล้วได้การทุกทีเลย  

“Huh? How?” – ยังไงนะครับ ที่ว่าได้การนะ

“It’s the hair on the back of my neck, rises every time I hear it!”- ก้อฟังทีไรขนหัวลุกนะซิ

เออ... ฝรั่งก็ขนลุกเป็นเหมือนกัน!

หมายเลขบันทึก: 228653เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2008 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ

บังเอิญ นามสกุล วอล์กเกอร์เสียด้วย

ปี่สก็อตหาฟังยาก ไม่ค่อยเห็นเลยครับ

ในเมืองไทยหาฟังยากครับ เท่าที่ทราบมีเพียง 3 วง คือวงของวชิราวุธวิทยาลัย วงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และวงของ Keith Walker ซึ่งรวมศิษย์เก่าวชิราวุธและนักดนตรีชาวต่างชาติ โดยปกติแล้วของโรงเรียนฯ จะใช้ในการเดินแถวไปถวายบังคม ณ บรมรูปทรงม้าในวันที่ 23 ต.ค. และ ณ สวนลุมพินี ในวันที่ 25 พ.ย. งานลูกเสือแห่งชาติ 1 ก.ค. ตลอดจนงานอื่นๆ ที่ได้รับเชิญครับ

ลูกชาย เคยเล่าให้ฟังคล้าย ๆ กับคำพูดของอาจารย์้ ค่ะ

“It’s a simple tune, but very effective”!

 

ขอบคุณค่ะสำหรับบันทึกดี ๆ

 

Scotland The Brave อีกเพลง ที่สมัยเราเรียกว่าเพลง 2 ไง

โทษทีตะกี้ลืมใส่ชื่อ มัวนึกถึงความหลัง แม้จะไม่ได้อยู่วงปี่สก็อต แต่อยู่วงโยธวาฑิตก็ตาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท