ตลาดเปิดท้าย กับสุขภาพ


เวลา กับสุขภาพ

มันเป็นบรรยากาศที่ไม่แตกต่างไปกับบรรยากาศ ตลาดเปิดท้ายที่เรา มักพบเจอ ในที่ชุมชนต่างๆ 

หากแต่ผู้จับจ่ายใช้สอยในตลาดแห่งนี้ เป็นผู้ป่วย 

 ....เปลนอน  6  เตียง พร้อมผู้ป่วยที่นอนขดตัวอยู่บนเตียง   และญาติที่ยื่น หน้าบอกบุญไม่รับ 

บ่นขมุมขมิม อย่างท้อแท้ กับการรอคอย สินค้าที่ยังเดินทางมาไม่ถึง  เสียงเรียกชื่อของพยาบาล 

ดังสลับกัน กับเสียงผู้ช่วยเหลือคนไข้ เพื่อเรียกผู้ป่วย มาซักประวัติ และจัดคิวรอตรวจ 

( ก็คงต้องรอไปอีกนานพอสมควร )  เสียงตะโกนขอทาง ของญาติผู้ป่วย ซึ่งกำลังเข็นรถนั่งเพื่อ

นำผู้ป่วยไปซักปะวัติ ตามเสี่ยงเรียกของพยาบาล  เนื่องจากบริเวณที่สัญจรไปมา ..มีรถเข็นนั่งที่มีผู้ป่วยนั่ง

รออยู่แล้ว 4  คัน  ความวุ่นวาย ที่ดูเหมือนว่าเป็นความเคยชิน  ...เสียงตะโกนขอทาง จึงไม่ได้ทำให้

เส้นทางสัญจร ที่จะเข็นรถนั่งผ่านไปได้ง่ายอย่างที่คิด

ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกับสีหน้าที่เรียบเฉยของญาติ และแววตา ที่บ่งบอกถึงความชาชินกับ

โชติชะตาที่ไม่มีโอกาสได้เลือก   ช่างเป็นภาพที่น่าสลดใจกับบริการสุขภาพ ของภาครัฐ เสียเหลือเกิน

วันนี้ เราไม่ได้มาเป็นเจ้าหน้าที่  แต่เรามาเป็นญาติ   ซึ่งเป้นญาติที่ไม่กล้าวัดใจที่จะพาผู้ป่วย วัย  85 ปี

มาแย่งอากาศ  อันไม่บริสุทธิ์ ในบริเวณนี้  หน้าบริเวณรอตรวจ มี 8 ห้อง เป็นจุดบริการตรวจ ศัลยกรรม

อายุรกรรม เด็ก  ฯลฯ และแถมด้วย คลินิกวัณโรค อีก 1 จุดบริการ  เก้าอี้  ไม่ตำกว่า  100 แถว 

แต่ละแถวมีที่นั่ง 4 ตัว  ถูกผู้คนจับจองนั่ง  จนไม่มีช่องว่างให้เห็นว่าเก้าอี้ เป็นสีอะไร

เรามีโอกาสไปตลาดเปิดท้ายสุขภาพที่โรงพยาบาลศูนย์กับน้องสาว  ซึ่งเป็นพยาบาลที่โรงพยาบาล

ปัตตานี  เราคงไม่คิดที่จะไปหาที่นั่งเพราะไม่อยากให้คนอื่นไม่มีที่นั่ง ( คิดแบบประชด ประชัน )  

มีเพื่อนๆ อีกจำนวนไม่ตำกว่า หลัก  100 ที่ยื่นเหมือนเรา และน้อง

เรา และน้องยืนอยู่ที่...มุมที่ไม่น่ายืนนัก  เพราะห้องตรวจที่เรามารับยาแทนคุณแม่ อยู่ติดกับคลินิก วัณโรค

ไม่รู้ว่า ทำไม่ต้องเป็นเช่นั้น  เราคงไม่โอกาสได้ไปคิดเรื่องการจัดการสถานที่ และโครงสร้างให้ใคร

หรอกนะ เพราะถ้าคิดได้ ทำได้  โรงพยาบาลศูนย์ แห่งนี้ คงคิดทำไปแล้วล๊ะ  

...เสียงนาฬิกา บอกเวลา  12.40 น  เสี่ยงตะโกนโวกเวก ยังคงเกิดอย่างต่อ เนื่อง

ไม่มีวี่แววความลงตัวของตลาดนัดแห่งนี้  เสี่ยงเปาะจิ ( แปลว่าลุง )   อายุไม่น่าจะตำกว่า  60

คนหนึ่งเดินเข้าไปที่โต๊ะพยาบาล ด้วยสีหน้า และแววตาที่บ่งบอกถึงความกังวล  

.. เปาะจิ หิวข้าว เพราะมาตั้งแต่ ตี 6

( หมายถึง 6โมงเช้า )  คิวเปาะจิอีกยาวไหม เปาะจิไปกินข้าวก่อนได้ไปไหม เปาะจิหิวข้าวจริงๆ 

.. ไปเถอะเปาะจิ เพราะคิวเปาะจิ อาจไปถึง บ่ายโมง เศษ ๆ หรือเกือบ บ่าย  2  ... 

เมาะจิ ที่อายุไม่แตกต่างไปจากเปาะจิมากนัก  เดินมาจูงเปาะจิ กึ่งลาก กึงจูง 

เดินหายลับตาไปทางมุมตึก เพื่อเดินไปหาจุดหมายทาง คืออาหารแสนอร่อย ของ มือวันนั้น ...

คำสำคัญ (Tags): #เวลากับสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 228595เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2008 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2014 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท