เรื่องเล่า จากครูผู้สอน รายวิชาท้องถิ่น ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคเหนือ


รายวิชาท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพคนให้เป็นคนมีคุณภาพ

           งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ภาคเหนือ ที่จัด ณ จังหวัดลำปาง วันที่ 7-9 ธันวาคม 2551 นี้ จัดได้อย่างยิ่งใหญ่ ครู นักเรียน และผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมกิจกรรมล้มหลาม การแข่งขันในกิจกรรมนักเรียน การจัดนิทรรศการ ยิ่งใหญ่มาก ๆ

              แต่ในส่วนหนึ่งของงาน ครูที่สนใจในเรื่องเดียวกัน สอนแบบเดียวกัน คือ มีรายวิชาท้องถิ่นเป็นวิชาที่ตนเองชอบ ถนัดในการสอน และทุกคนตระหนักในการที่ใช้รายวิชานี้ ขับเคลื่อนสิ่งที่ดี ๆ ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน กับท้องถิ่น และพัฒนานักเรียนให้รักถิ่น มีความพอเพียง และเตรียมสู่ชีวิตในสังคมท้องถิ่นอย่างมีความสุข
              ส่วนนี้ จัด ณ สพท.ลำปาง 1 โดย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ของ สพฐ. ได้เป็นแม่งาน เชิญชวนครูที่สอนรายวิชาท้องถิ่น มาจัดนิทรรศการและนำเรื่องราวการสอนที่ตนเองได้จัดทำพร้อมนวัตกรรมดี ๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน และ กัน.....
              ครูเก่า ได้มีโอกาส เป็นคุณอำนวย พร้อมกับคณะชุด KM เดิม ๆ ของ สพฐ. นำทีมโดย ครูดาว และ มีครูจันเพ็ญ เชียงราย ครูนิด แพร่ และ ครูรัช พิจิตร นำคุณครูมาร่วมกันจัดนิทรรศการตั้งแต่เช้าตรู่ และเริ่มงานสนทนาเมื่อเวลา ประมาณ 09.30 น มีครูร่วมกิจกรรมเรื่องเล่า เร้าพลัง การสอนรายวิชาท้องถิ่น จำนวน 19 ท่าน ใช้เวลาเล่าเรื่องราวประมาณท่านละ 10 นาที เล่าไป ถามกันไป แล้วมีชั่วโมงแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มที่มีความสนใจในงานที่ตนสนใจ เข้าดูนิทรรศการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม นำข้อคิดมาพัฒนางานตนเอง คุณอำนวยทั้งหลายก็คอยเติมเต็ม ให้ครูได้คิด และนำเอาสิ่งดี ๆไปปรับงานตนเอง
              ท้ายของวัน มีการเติมเต็มหลักสูตรแกนกลางที่มีข้อเกี่ยวเนื่องกับรายวิชาท้องถิ่น โดย ศน.จันทร์เพ็ญ ได้นำเสนอ และให้แนวทางการดำเนินการจัดทำหลักสูตรของโรงเรียน และเพื่อนครูได้ให้สัญญากันว่า จะนำผลงานกับไปพัฒนา และจัดส่งเผยแพร่ผ่านระบบของ สพฐ. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับชาติ โดยมีกระดานข่าว สามารถโต้ตอบ การให้คะแนนในรายวิชาที่โดนใจ และจะมีการให้รางวัล ในรายวิชาที่ได้รับคะแนนสูงสุด แต่ ทั้งนี้ต้องให้จัดครบทั้ง สี่ภูมิภาคก่อน และดำเนินการในแนวเดียวกัน โดยที่ตั้งเป้าหมายว่า จะมีครูที่นำผลงานรายวิชาท้องถิ่นทั่วประเทศ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนระบบอินเตอร์เน็ตกันเป็นจำนวนมาก
               ในครั้งนี้ มีเรื่องดี ๆ จากคุณครูมากมาย มีทั้งเรื่องศิลปหัตกรรมของท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมชุมชน อาชีพต่างๆในท้องถิ่น ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อได้ฟังแล้ว มองเห็นภาพกิจกรรมที่คุณครูสอนเด็กนักเรียน นับว่าเป็นโชคดีของนักเรียนที่ได้ครูดีที่สรรหานวัตกรรมดี ๆ มาผสมผสานเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่สิ่งที่ครูเน้นย้ำกันทุกคนคือคุณธรรม จริยธรรม กับการรักท้องถิ่นของนักเรียน หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นความรู้ที่ฝังแน่น แบบถาวร จะทำให้เด็กเหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความพอเพียง และคุณธรรมในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ....ผมว่ารายวิชาท้องถิ่นนี้แหละที่จะแก้ปัญหาสังคมไทยได้อย่างดี ( หากครูสอนได้ดี) จริง ๆครับ จะบอกให้


คำสำคัญ (Tags): #kmc-obec
หมายเลขบันทึก: 228494เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

พี่ชาย..แวะมาดูเผื่อจะได้เตรียมตัวที่โคราชจ้า

ขอบคุณกับข้อมูลนะคะ..สรุปจะเยือนโคราชอีกสักครั้งไหมนี่..

ยืนยันด้วยค่ะ

  • อยากมีความรู้ในเรื่องรายวิชาท้องถิ่น ให้มากขึ้น และอยากมีโอกาสเป็นผู้ร่วมแสดงนิทรรศการบ้างจังค่ะ
  • ได้แต่หวังไว้สักวัน

ดีจ้า

ดูก่อนครับ ถ้าหลับฝันดี มีเงินซื้อตั๋วรถ ก็จะไป

อยากไปครับ แต่.....(ดูก่อน)

สมัครไป ในจุดแลกเปลี่ยน ที่โคราช นะครับ

สมัครที่ ครู Add ครับผม งานอย่างนี้ ดี จริง ๆ ครับ

คุณครูที่สนใจนำผลงานการทำรายวิชาท้องถิ่นไปแลกเปลี่ยนกับคณะ...งานนี้จะมีในวันที่สองของงานศิลปหัตถกรรมในทุกภูมิภาคค่ะ สนใจดาวโหลดใบสมัครที่ http://teacher.obec.go.th แล้วรีบสมัครด่วนเลยนะคะ เพราะรับจำนวนจำกัด ไม่เกิน 40 ท่าน

ขอบคุณท่าน อ.ประจักษ์ ระยะนี้มีเวลาเต็มตัวที่จะช่วยเหลือสังคมนะครับ

ขอบคุณครูดาว อย่างที่ครูดาวว่าแหละครับ จำนวนจำกัด ถ้าพลาดจะเสียใจ ครูของผมหลายท่านบ่นเสียดาย แต่คิดว่าโครงการดี ๆ อย่างนี้ สพฐ.สนับสนุนตลอดไปแน่ ๆ อยากให้ทุก สพท.เห็นคุณค่าเหลือเกิน ลงทุนไม่มากแต่ครูได้แสดงออก มีเวที และมีนวัตกรรม คุ้มครับ คุ้มจริง ๆ

สวัสดีค่ะครูเก่า งานหัตถกรรมที่ลำปางครูนิดก็ไปค่ะ ไปร่วมจัดนิทรรศการถนนคุณธรรมและนำนักเรียนเข้าร่วมประกวดวงดนตรีลูกทุ่งด้วยค่ะ แต่ผลการแข่งขันยังไม่ออกเลยค่ะ

เสียดาย ไม่ได้เจอครูนิด ถ้ามีอะไรดี ๆ แจ้งมาทางครูลำพูนบ้างเน้อ

อาจารย์คะ หนูเรียนถามว่าวิชาภาษาและนวัตกรรมที่อาจารย์กำหนดให้ส่งภายในวันที่20/12/2551 นี้ให้ส่งใส่แผน CD เลยใช้ไหมคะ จะได้เตรียมส่งคะ..

เสียดายที่วันที่ 6-7 ต้องไปเรียน ไม่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมงานนี้
โชคดีที่อาจารย์นำมาเล่าสู่กันฟัง

สวัสดี จุ๊กกะดุ๋ย

ส่งเป็นแผ่น ซีดี ได้เลยครับ เขียนชื่อสมาชิกให้ครบนะครับ

ยังสนุกเหมือนเดิมนะครับ อ่านแล้วบรรยากาศอบอุ่นครับหมือนอยู่ร่วมในเหตุการณ์

ข้อเสนอแนะจากงานหัตกรรม

1.จุดตัดสินกับจุดแข่งขันควรแยกกัน

2.กรรมการควรตรวจความละเอียดของผู่เข้าแข่งขัน เช่น งานบางชิ้นผู้เข้าแข่งขันนำมาจากบ้าน

3.สถานที่คับแคบค่ะ

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากครับ ขอบคุณครับ

สถานที่จัดงานกว้างมากค่ะ

แต่คนก็เยาะมากเหมือนกัน

จนเนดูงานไม่ได้เลยค่ะ

หน้าจะจัดหลายๆ วันหนอย

จะได้ดูงานให้ทั่วถึง

คนดูงานก็จะได้ทยอยกันมาดูค่ะ

ขอบคุณค่ะ..ที่นำเรื่องดีๆมาเล่าสู่กันฟัง

ข้อมูลมีประโยชน์มากค่ะ

ข้อมูลมีสาระมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลข่าวสารดี ๆ ค่ะคุณครู(มจร.51)

เรียนคอมฯ แล้วทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับ IT เพิ่มมากขึ้นเลยครับ

ความหมายนวัตกรรม

นวัตกรรม – นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา

นวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า

“นว” หมายถึง ใหม่

“กรรม” หมายถึง การกระทำ

เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ ซึ่งในที่นี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้

ทอมัส ฮิวช์ (Thomasl Hughes, 1971 อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้ความหมายของ คำว่า นวกรรมว่า “เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวกรรม (Innovation)”

มอตัน (Morton, J.A. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้นิยามของนวกรรมไว้ในหนังสือ Organising for Innovation ของเขาว่านวกรรม หมายถึงการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้กล่าวไว้ว่า นวกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

วสันต์ อติศัพท์ (2523 : 15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวกรรมทางการแพทย์ หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา

โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา

นายณัฐรัชต์ เสียงใส เลขที่ 10

ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=329110

วันที่ 20 ธ.ค. 51

แวะมาบอกว่าส่งหัวใจแห่งความสุขมาให้นะคะ

ขอบคุณ น้องADD มากๆ ครับ

ขอให้เป็นคนน่ารัก และสวยไม่สว่าง เอ้ย ไม่ส่าง ตลอดไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท