KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 627. ใช้ KM สร้างวิธีการทำประชาเสวนา


KM คือเครื่องมือสร้างสรรค์   ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบ   รูปแบบหนึ่งที่ผมเพิ่งได้ยินเมื่อวันที่ ๒๑ พ.ย. ๕๑ คือ ใช้สร้างวิธีการที่เรียกว่า ประชาเสวนา (citizen dialogue) ขึ้นใช้ในสังคมไทย   หน่วยงานที่สร้างขึ้นคือ สช. (www.nationalhealth.or.th)   โดยมี ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และ ศ. นพ. วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ   โดย ดร. เจิมศักดิ์ไปเห็นมาจากแคนาดา   และมีหนังสือด้วย  แต่ตนเองไม่เคยทำ หรือทำไม่เป็น   แต่แนะให้ สช. ลองนำมาใช้ในการรับฟังความเห็นของชาวบ้าน เกี่ยวกับระบบสุขภาพ   

 

นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างวิธีการทำประชาเสวนาขึ้นในสังคมไทย   ในรูปแบบที่เหมาะสมและใช้การได้ดีในบริบทไทย   โดยที่ไม่ได้สร้างขึ้นโดย technology transfer   แต่สร้างขึ้นจากการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (action learning หรือ KM นั่นเอง)

 

ผมบอกทีมงานของ สช. ว่า นี่เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่มาก   เป็นการประยุกต์ใช้ KM อย่างไม่รู้ตัว    เพราะทีม สช. และภาคีที่ไปร่วมทดลองทำประชาเสวนาเล่าว่าใช้ BAR และ AAR ก่อนและหลังการทำเวทีประชาเสวนาทุกครั้ง รวม ๘ ครั้ง   โดยที่เมื่อมาเข้า KM workshop กับ สคส. ก็รู้ว่า BAR และ AAR ที่ใช้ตอนนั้นยังไม่ใช่ชนิดเต็มรูปแบบ ยังทรงพลังถึงเพียงนั้น 

 

สช. สร้างวิธีการประชาเสวนาจากการเรียนรู้โดยลงมือทำ    เหมือนกับที่ สคส. สร้างวิธีการ KM จากการเรียนรู้โดยลงมือทำ

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ พ.ย. ๕๑

 

หมายเลขบันทึก: 228061เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2008 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท