การรับประทานอาหารของคนไข้ปลูกถ่ายไต


อาหารของผู้เปลี่ยนไต

การรับประทานอาหารของคนไข้ปลูกถ่ายไต  ก่อนปลูกถ่ายไต  คนไข้ส่วนใหญ่มีข้อจำกัดเรื่องการรับประทานอาหารทั้งจำกัดน้ำ  จำกัดอาหาร  จำกัดผลไม้ หลังปลูกถ่ายไตแล้วคนไข้เหล่านี้จะมีอิสระขึ้นในการรับประทานอาหาร  แต่ก็ต้องมีการดูแลระมัดระวังดังนี้

ระยะแรก (4-6 สัปดาห์หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต)  มีการใช้ยากดภูมิคุ้มกันสูงโดยเฉพาะ  สเตียรอยด์  ซึ่งมีผลข้างเคียงคือ  มีการย่อยสลายโปรตีนมาก  คนไข้จึงควรรับประทานอาหารโปรตีนให้เพียงพอคือ  ประมาณ  1.3-1.5  กรัม/กก/วัน    แคลอรี่  คือพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหาร  คนไข้ควรรับประทานอาหารให้ได้พลังงานเพียงพอสำหรับความต้องการของร่างกาย  คือ  ควรได้รับ  30-35  กิโลแคลอรี่/กก/วัน  และจะต้องเพิ่มขึ้นในกรณีที่มีไข้  ติดเชื้อหรือผ่าตัดซ้ำ  แต่ควรเลี่ยงอาหารที่หวานจัด  นอกจากนี้รับประทานให้เพียงพอแล้วยังต้องควบคุม  ไม่ควรให้มากกว่านี้ด้วย  เพราะโดยทั่วไปคนไข้หลังปลูกถ่ายไตจะมีความเจริญอาหาร  รับประทานอาหารมากเกินควร  ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนถึงอ้วนได้  โดยเฉพาะอาหารโคเลสเตอรอล  ควรมีการจำกัดดังต่อไปนี้

1.  หลีกเลี่ยงอาหารพวกไข่แดง  เครื่องในสัตว์  เนื้อสัตว์ติดมัน  หอยนางรม  ปลาหมึก  กุ้ง

2.  หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน  อาหารทอด  เจียว  ถ้าจำเป็นควรใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันสัตว์

3.  ควรเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง  เช่น  กะทิ  น้ำมันมะพร้าว

4.  ควรดื่มนมพร่องมันเนย  แทนนมที่ใช้ไขมันเต็มส่วน

5.  พยายามปรุงอาหารโดย  นึ่ง  ต้ม  ย่าง  อบ  แทนการทอดหรือผัด

6.  ควรเพิ่มอาหารพวกผัก  ใบต่าง  ๆ   และผลไม้บางชนิดที่มีกากใยซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมันได้น้อยลง     7.   ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

8.  ออกกำลังการสม่ำเสมอ  สัปดาห์ละ  2-3  ครั้ง    9.  งดสูบบุหรี่  10.  งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          สมพงษ์/พิมพ์/เผยแพร่

หมายเลขบันทึก: 227501เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2008 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท