บทบาทคุณเอื้อ


ที่เล่ามาทั้งหมดคือแนวทางการทำหน้าที่เป็นคุณเอื้อ โดยพยายามสื่อสารให้บุคคลากรภายในและภายนอกหน่วยงานให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายทางเลือก เช่น การสื่อสาร F2F management by walking around โดยลงมือนำทีมกรรมการในการส่งเสริมงานดังกล่าวด้วยตนเอง เพื่อจะได้รู้แจ้งเห็นจริง มีประสบการณ์ตรงเข้าทำนอง สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือทำเอง

ขอบคุณอาจารย์วิจารณ์ และ พี่เม้ย มากนะคะ วันนี้เป็นวันแรกที่ได้มีโอกาสเข้าสู้ gotoknow.org

อย่างเป็นทางการ หลังจากกล้าๆกลัวๆกับการเข้าสู้ระบบนี้ อาจารย์วิจารณ์เป็นบุคคลแรกที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นดีใจว่าใครหนอสนใจบันทึกของเรา  ทั้งที่เราเริ่มทำเอง คนที่ 2 คือ พี่เม้ย ทำให้มีกำลังใจในการเรียนรู้เรื่องนี้มากขึ้น ต้องขอขอบคุณอาจารย์ปารมีที่เป็นผู้จุดประกาย และช่วยเหลือทันทีโดยไม่ต้องขอช่วย นับว่าอาจารย์มีความเหมาะสมในการเป็นคุณเอื้ออย่างแท้จริง

             ขอขอบคุณอาจารย์วิจารณ์มากนะคะที่เปิดประเด็นให้ตัวเองได้มีโอกาสเล่ากลเม็ดในการทำหน้าที่เป็นคุณเอื้อ และขอขอบคุณอาจารย์สุเมธที่มอบหมายให้รับผิดชอบผลักดัน ส่งเสริม

การทำ discharge planning ในรพ. จนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลเม็ดที่ตัวเองได้ทำหน้าที่เป็นคุณเอื้อ คือ

             1. การสังเกตพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม ว่ามีความเข้าใจชัดเจนหรือไม่ หากมีทีท่าไม่แน่ใจให้ความช่วยเหลือทันที โดยการหาเอกสารให้ การประชุมกลุ่มย่อย การนำตัวอย่างจากหน่วยงานที่ทำได้ดีมาแลกเปลี่ยน เป็นต้น

             2. การประเมินหัวหน้าภาคฯ หรือประธาน PCT ว่าภาคไหนมีทีท่าให้ความร่วมมือ ขอพบท่านก่อน เพื่อขอท่านเป็นแนวร่วม และนำผลสำเร็จของท่านเป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานอื่น ในที่นี้ขอขอบคุณอาจารย์กันยิกา  อาจารย์สงวนสิน อาจารย์ชิต อาจารย์โกวิทย์ และท่านอื่นๆที่เป็นสมาชิก

             3.การข่วนขวายหาความรู้จากที่ต่างๆ โดยเฉพาะ การศึกษา / ปรึกษาจากผู้รู้ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ตัวเอง และมีเทคนิคในการให้คำปรึกษา

             4.การ Round ward เพื่อศึกษาปัญหา / แนวปฎิบัติ ของแต่ละหน่วยงานที่มีบริบทแตกต่าง กัน เพื่อจะได้ให้ คำแนะนำ ช่วยเหลือ  แก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง

             5.การฝึกตัวเองเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยโสติฯ พร้อมลงทุนซื้ออุปกรณ์เอง  เพื่อสามารถเก็บภาพ เก็บเสียง มาถ่ายทอดแก่ผู้อื่น  เป็นตัวเปรียบเทียบ วัดผลการทำงาน ก่อน - หลัง   ฯลฯ     

             6.การเยี่ยมตรวจผู้ป่วย เพื่อติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทำให้ได้ ความรู้ฝังลึกจากผู้ป่วยมาถ่ายทอดต่อ หรือ นำวิกฤตเป็นโอกาส

             7.การเป็นนักฉวยโอกาสอยู่ในสายเลือด คือต้องสามารถเรียนรู้ ถ่ายทอด ได้ตลอดเวลาในทุกสถานที่ ทุกโอกาสที่สามารถทำได้ ทุกสถานการณ์

             8.การเป็นผู้ประสานงาน เพื่อสร้าง เครือข่าย discharge planningโดยเริ่มจากหน่วยงานในพื้นที่ก่อน

             9.การเป็นนักเล่าที่มีลีลา แต่ไม่ลวดลายเพ้อเจ้อ กลับแฝงด้วยข้อมูลความเป็นจริง

            10.การเป็นนักฝัน ( มีความคิดสร้างสรรค์ ) เพื่อพร้อมจะเป็นผู้จุดประกายให้ผู้ฟังคิด หรือเป็นแนวทาง

             11.การประสานงานกับคณะพยาบาล เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง นักวิชาการ และ นักปฏิบัติ โดยทางทีมกรรมการ discharge planning จะนำ กิจกรรมต่างๆใน รพ. มาเล่าสู้ให้ฟัง เช่น  แนวทางการป้องกัน incident report  การจัด KM ในหอผู้ป่วย

             12.การตั้งกลุ่มแกนนำประจำหอผู้ป่วย เพื่อช่วยกันส่งเสริม ผลักดัน ให้มีการนำ discharge planning ลงสู้การปฏิบัติจริง โดยกลุ่มแกนนำจะได้รับการพัฒนามากกว่าผู้อื่น

             13.การ Audit chart เพื่อศึกษาปัญหา  การทำงานเป็นทีม  การแก้ปัญหา  ความมีวิชาการ ฯลฯ เพื่อช่วยกันพัฒนาการทำ discharge planning  อย่างจริงจัง และยั่งยืน ของ  รพ.

             ที่เล่ามาทั้งหมดคือแนวทางการทำหน้าที่เป็นคุณเอื้อ โดยพยายามสื่อสารให้บุคคลากรภายในและภายนอกหน่วยงานให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายทางเลือก เช่น การสื่อสาร F2F management by walking around  โดยลงมือนำทีมกรรมการในการส่งเสริมงานดังกล่าวด้วยตนเอง เพื่อจะได้รู้แจ้งเห็นจริง มีประสบการณ์ตรงเข้าทำนอง สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือทำเอง 

คำสำคัญ (Tags): #คุณเอื้อ
หมายเลขบันทึก: 22729เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2006 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือทำเอง..สิบลงมือทำเอง ก็ยังไม่เท่าสิบสามกลเม็ดเคล็ดลับการเป็นคุณเอื้อของพี่จุดนะคะ...
ส่วนท่านCKOของพี่เม่ย (อ.ปารมี) เธอเป็นทั้งคุณเอื้อแถมอำนวยอีกต่างหาก จนพี่เม่ยมอบตำแหน่งใหม่ให้แล้วว่า "คุณเอื้ออำนวย" ค่ะ

ขออีกเรื่องได้ไหมครับ

เล่าเฉพาะกรณี ว่า discharge planning ของผู้ป่วยคนไหน (หรือ ward ไหน) ที่เกิดผลดีจนพี่จุดภูมิใจที่สุด   เพราะอะไร   ทำไมจึงเกิดผลดีเช่นนั้นได้

วิจารณ์ พานิช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท