จากการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย ของบุคลากรภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา ได้ขุมความรู้เป็นยุทธวิธีสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายทางด้านการวิจัยจำนวน 109 ขุมความรู้ ซึ่งขุมความรู้เหล่านั้นสามารถจำแนกออกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ 6 ประเด็น ด้วยกันได้แก่ ประเด็นคุณลักษณะของนักวิจัย 33 ขุมความรู้ ประเด็นลักษณะของโจทย์วิจัย 31 ขุมความรู้ ประเด็นการสร้างโอกาสในการได้รับทุน 16 ขุมความรู้ ประเด็นเครื่องมือสนับสนุนการวิจัย 14 ขุมความรู้ ประเด็นระบบที่ปรึกษางานวิจัย 9 ขุมความรู้ และประเด็นเครือข่ายความร่วมมือ 6 ขุมความรู้ ซึ่งขุมความรู้ที่ได้ในแต่ละประเด็นสรุปได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 คุณลักษณะของนักวิจัย
1. สนใจข้อมูลข่าวสาร สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ ร่วมนำเสนอผลงานการวิจัย พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
2. คบเพื่อนต่างศาสตร์ ต่างสถาบัน ต่างถิ่น
3. ทำงานตามขอบเขต
4. วางแผน ปฏิบัติงานตามแผน และมีความยืดหยุ่นเพื่อให้ได้ผลงานออกมาดีที่สุด
5. มีความสามารถในการประสานงานได้ดี เป็นได้ทั้งคุณเอื้อ คุณอำนวย และคุณกิจ
6. สามารถใช้คนให้สอดคล้องกับงาน
7. มีความพยายามทำงานอย่างต่อเนื่อง แข่งขันกับตนเอง
8. มีความเป็นมิตร สามารถทำงานเป็นทีม
9. สนใจพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักวิจัยบ่อย ๆ
10. มีความรู้พื้นฐานทางเศรษฐกิจพอเพียง
11. เป็นนักบริหารจัดการตนเอง มีความชัดเจน รู้จักตนเอง และมีเป้าหมายตนเองที่แน่วแน่
12. มีความสัมพันธ์ส่วนตัวในการทำวิจัยเป็นชุดโครงการ
13. ทำในสิ่งที่ถนัดและสนใจ
14. ไม่เห็นแก่เงิน มีวินัย ซื่อสัตย์ และตรงต่อเวลา
15. รู้จักสังเกต และตั้งคำถาม

ประเด็นที่ 2 ลักษณะของโจทย์วิจัย
1. ได้จากความต้องการของชุมชน และควรจะระบุพื้นที่บริการให้ชัดเจน
2. ได้จากการทบทวนวรรณกรรม หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. เป็นความสนใจและความถนัดของนักวิจัย
4. เป็นโจทย์วิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และมีความคุ้มค่าคุ้มทุน
5. เน้นเฉพาะทาง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์หาคำตอบ
6. อาจจะเป็นงานวิจัยที่ต่อยอดงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว

ประเด็นที่ 3. การสร้างโอกาสในการได้รับทุน
1. ศึกษา ติดตาม และเข้าร่วมรับฟังคำชี้แจง นโยบาย และ TOR ของแหล่งทุน
2. เรียนรู้รายละเอียดระเบียบการใช้งบประมาณของแต่ละแหล่งทุน
3. ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับต่าง
4. เลือกแหล่งทุนที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
5. สร้างความสัมพันธ์กับแหล่งทุน
6. ทำเป็นชุดโครงการวิจัย
7. ชี้แจงงบประมาณให้สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินงานและสอดคล้องกับระเบียบการเบิกจ่ายของแหล่งทุน
8. เนื้อหาสาระส่วนหนึ่งในโครงการวิจัย ควรมีกิจกรรมหรือขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่
9. กรณีเป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ควรแนบแผนที่และภาพกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป้าหมาย
10. ควรจะมีโครงการวิจัยเพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณที่เร่งด่วน
11. สามารถนำผลการวิจัยไปขอสนับสนุนทุนภายหลังได้

ประเด็นที่ 4 เครื่องมือสนับสนุนการวิจัย
1. มีการนำอุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาใช้
2. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนพัฒนางานวิจัย
3. ออกแบบ ผลิต และทดสอบเครื่องมือก่อนนำไปใช้งาน
4. ใช้ซอฟต์แวร์ทางสถิติมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล
5. พัฒนาผู้ช่วยนักวิจัย

ประเด็นที่ 5 ระบบที่ปรึกษางานวิจัย
1. มีผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการวิจัย
2. ผู้ทรงคุณวุฒิมาจากศาสตร์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย
3. ผู้ทรงคุณวุฒิมีบทบาทสำคัญในการพิจารณาทุนและกำหนดนโยบายของแหล่งทุนเป้าหมาย
4. ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ที่เป็นบุคคลที่ได้รับการเชื่อถือยอมรับจากประชาคมและมวลชน
5. มีระบบที่ปรึกษางานวิจัยภายในคณะ
6. พัฒนานักวิจัยรุ่นพี่ไปสู่ที่ปรึกษา
7. จัดให้มีการปรึกษา หรือพัฒนาโจทย์ร่วมกันระหว่างกลุ่มนักวิจัยที่ทำงานในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน
8. มีกลไกที่เกี่ยวกับประชาคมหรือมวลชน
9. มีวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม และเป็นกัลยาณมิตร

ประเด็นที่ 6 เครือข่ายความร่วมมือ
1. มีเครือข่าย
2. มีเครือข่ายกลุ่มนักวิจัย
3. มีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
4. มีเครือข่ายกับชุมชนเป้าหมาย
5. มีเครือข่ายกับแหล่งทุน
6. มีการเชื่อมโยงการทำงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
7. มีระบบสร้างแรงจูงใจระหว่างเครือข่าย
8. มีกระบวนการขยายเครือข่าย