สถิติที่ใช้ในการวิจัย ตอนที่1


สถิติที่ใช้ในการวิจัย

 

การวิจัยต้องใช้สถิติหลายกลุ่ม  ได้แก่

กลุ่มที่  1  สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ทั้งรายข้อ  และทั้งฉบับ  ที่เรียนมาในวิชาการประเมินผลการเรียน   หรือวัดผลประเมินผล   เช่น  กรณี

                -  แบบทดสอบ     การหาคุณภาพรายข้อ  เช่น  ค่าความยากง่าย (p)  และค่าอำนาจจำแนก  (r)

                                               การหาคุณภาพทั้งฉบับ  ได้แก่  การหาค่าความเที่ยง  เช่น  KR-20   และการหาค่าความตรง  ใช้  ดัชนี  IOC  (ความสอดคล้อง)

                -  แบบสอบถามลักษณะที่เป็นแบบประมาณค่า     การหาคุณภาพรายข้อใช่ค่า

ที  (T- value)   การหาค่าความเที่ยงใช้สูตร  Alpha   Coefficient (a )  ของ  Cronbach    และในการหาค่าความตรงของแบบสอบถามก็ใช้การหาดัชนี  IOC

                สำหรับเครื่องมือแบบอื่น  เช่น  แบบสัมภาษณ์   แบบสังเกต   ฯลฯ  มีวิธีการหาคุณภาพ           

ของเครื่องมือเช่นกัน    ศึกษาได้จากตำราการวัดผลประเมินผลทั่วไป

                สรุปว่า   ผู้ที่จะทำวิจัยต้องมีทักษะพื้นฐานด้านการวัดผลประเมินผล  และการหาคุณภาพของเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยมาก่อน (ซึ่งมีสถิติมากมายหลายตัว)  และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณค่าสถิติได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

 


                กลุ่มที่  2  สถิติบรรยาย  (Descriptive  Statistics)  เช่น  ค่าเฉลี่ย  (X)  ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ความถี่   ร้อยละ  สถิติวัดความสัมพันธ์  เป็นสถิติพื้นฐานที่ต้องใช้กับการวิจัยเกือบทุกเรื่อง

 

                กลุ่มที่  3  สถิติอ้างอิง  (Inferential  Statistics) หรือสถิติอนุมาน 

สถิติอ้างอิง เป็นสถิติที่ใช้สรุปค่าสถิติไปยังค่าพารามิเตอร์  ใช้ในกรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง  โดยมากจะใช้ในการทดสอบสมมุติฐานที่นักวิจัยตั้งไว้ (Hypothesis  Testing) หรือ  การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ  (Test  of  Significance)

หลักการเลือกสถิติให้เหมาะสม

1.    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ   บรรยายข้อมูล (กรณีทำกับประชากรทั้งหมด ใช้สถิติบรรยาย)  หรือสรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปยังค่าประชากร  (กรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง  ต้องใช้สถิติบรรยายและสถิติอ้างอิง)

2.       จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีกี่กลุ่ม

-          1  กลุ่ม

-          2  กลุ่ม

-          มากกว่า  2  กลุ่ม

3.       ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอยู่ในระดับใด  หรือมาตราใด

-          นามบัญญัติ

-          จัดอันดับ

-          อันตรภาค

-          อัตราส่วน

4.       ตัวแปรที่ใช้มีกี่ตัว

-          1  ตัวแปร

-          2  ตัวแปร

-          มากกว่า  2  ตัวแปร

เมื่อได้พิจารณาลักษณะสำคัญของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้แล้วก็ต้องเลือกสถิติอ้างอิง

ให้เหมาะกับลักษณะของข้อมูล  และข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติแต่และตัว (ศึกษาได้จากตาราง) 
ซึ่งสถิติที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลมี  2  ประเภท  คือ

สถิติแบบพาราเมตริก  (Parametric)  ใช้สำหรับข้อมูลอันตรภาค และอัตราส่วน  และแบบนอนพาราเมตริก (Nonparametric)  ใช้สำหรับข้อมูลที่อยู่ในระดับนามบัญญัติ  และจัดอันดับ

 

คำสำคัญ (Tags): #ed km
หมายเลขบันทึก: 227087เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2008 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท