การศึกษาปุ๋ยจากมูลไส้เดือนดิน


ปุ๋ยจากมูลไส้เดือนดินทำได้อย่างไร มีประโยชน์อย่างไร

บทที่ 1

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

      ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ตกต่ำลง ถือได้ว่าเป็นยุคข้าวยากหมากแพงสินค้าทั้งอุปโภคบริโภคมีราคาเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยมีสินค้าทางด้านการเกษตรส่งออกไปยังประเทศต่างๆก็มีต้นทุนการผลิตสูงมากขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ยที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตไม่ว่าจะเป็นเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีการขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด สมาชิกในกลุ่มจึงเกิดแนวคิดว่าไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินที่มีความชื้น กินซากพืชซากสัตว์ สารอินทรีย์วัตถุในดินเป็นอาหาร เมื่อขับถ่ายออกมามูลไส้เดือนที่ได้ก็น่าจะมีแร่ธาตุ อินทรียวัตถุต่างๆสามารถเป็นปุ๋ยที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ เพื่อจะได้ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง

 

 

 

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อศึกษาการทำปุ๋ยจากมูลไส้เดือนดิน

2.       เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนดินกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น

 

 

 

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

      ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินมีคุณภาพดีกว่าปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น

 

 

 

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรต้น          ปุ๋ยชนิดต่างๆได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน

ตัวแปรตาม         อัตราการเจริญเติบโตของพืช(ต้นพริก)

ตัวแปรควบคุม    ปริมาณแสง ปริมาณน้ำ ปริมาณปุ๋ย ระยะเวลาในการใส่ปุ๋ย ชนิดของต้นพืช

 

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1.       สถานที่

-          การทดลองบริเวณโรงเรียนวัดเสาธงกลาง เลขที่ 36 หมู่ 9 อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

-          สถานที่เลี้ยงไส้เดือนดิน เรือนเพาะชำโรงเรียนวัดเสาธงกลาง

2.       ไส้เดือนดิน

-          ใช้ไส้เดือนดินจากชุมนุมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนวัดเสาธงกลาง

3.       ปุ๋ยในการทดลอง

-          ปุ๋ยคอกได้มาจากชาวบ้านในละแวกโรงเรียนวัดเสาธงกลาง

-          ปุ๋ยหมักได้มาจากจากชุมนุมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนวัดเสาธงกลาง

-          ปุ๋ยพืชสดได้มาจากแปลงปลูกถั่วภายในบริเวณโรงเรียนวัดเสาธงกลาง

-          ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน โรงเรียนวัดเสาธงกลาง

4.       ต้นพืช

-          ต้นพริกซื้อเมล็ดพันธุ์มาจากตลาดใกล้โรงเรียนวัดเสาธงกลาง

5.       ระยะเวลา

- ทำการทดลอง 1 กันยายน 2551 – 20 ตุลาคม 2551

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ไส้เดือนดิน

           ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่มีไม่มีกระดูกสันหลัง กินซากพืชซากสัตว์ที่เน่าสลาย และจุลินทรีย์ขนาดเล็กเป็นอาหาร มีการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ ไส้เดือนดินมีสองเพศในตัวเดียวกัน จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มดำรงชีวิตและแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในระบบนิเวศที่แตกต่างกันออกไป มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความชื้น หรือคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีในดินได้ค่อนข้างต่ำ

          บทบาทด้านที่เป็นประโยชน์ของไส้เดือนดินมีดังนี้คือ ช่วยพลิกกลับด้านดินด้านล่างขึ้นมาด้านบนโดยการกินดินที่มีแร่ธาตุบริเวณด้านล่างแล้วถ่ายมูลบริเวณผิวด้านบน ช่วยให้เกิดการผสมคลุกเคล้าแร่ธาตุในดิน นำแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในชั้นใต้ดินขึ้นมาด้านบน ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน ซากพืช ซากสัตว์อินทรียวัตถุต่างๆทำให้ธาตุต่างๆอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไนโตรเจน ในรูปแอมโมเนียมและไนเตรท ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้และธาตุอาหารพืชอื่นๆอีกหลายชนิด รวมทั้งสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชและวิตามินจะถูกปลดปล่อยออกมา ช่วยเพิ่มและแพร่กระจายจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไรโซเบียม ไมคอร์ไรซา ในบริเวณรากพืชและการชอนไชของไส้เดือนดิน ทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทน้ำและอากาศดี ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เพิ่มช่องว่างในดินทำให้รากพืชชอนไชได้ดี

           จากผลการวิจัยไส้เดือนดินในด้านต่างๆในปัจจุบัน ทำให้มีการนำไส้เดือนดินไปใช้ประโยชน์ในแนวทางด้านต่างๆมากขึ้น ดังต่อไปนี้ คือ 1) ปรับปรุงโครงสร้างของดินและเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน 2) จัดการปัญหาขยะโดยนำไส้เดือนดินมาย่อยสลายขยะอินทรีย์ 3) นำผลผลิตของไส้เดือนดินที่ขยายมาได้ใช้เลี้ยงสัตว์เนื่องจากเนื้อเยื่อของไส้เดือนดินมีส่วนประกอบของโปรตีนที่สูงมาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าอาหารสัตว์ 4) ใช้เป็นอาหาร ยาบำบัดโรค หรือใช้เป็นวัตถุดิบในวงการเภสัชกรรมและเครื่องสำอาง 5) ใช้เป็นดัชนีทางสิ่งแวดล้อมในการตรวจสอบธาตุโลหะหนัก และการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในดิน

ปุ๋ยอินทรีย์

 

           เป็นรูปแบบของการเพิ่มแร่ธาตุอาหารพืชและอาหารสัตว์กลับคืนสู่ระบบนิเวศในดิน เป็นการนำเศษวัสดุอินทรีย์ต่างๆกลับมาใช้ใหม่ เป็นรูปแบบของการปรับปรุงดินให้มีสมบัติดีขึ้น โดยมีการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุกลับคืนสู่ดิน ทำให้ดินมีชีวิต เนื่องจากอินทรียวัตถุเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ สัตว์ขนาดเล็กในดิน และยังมีส่วนช่วยในการดูดซับธาตุอาหารพืชไม่ให้ถูกชะล้างไปจากดินได้โดยง่าย ปุ๋ยอินทรีย์มีอยู่หลายชนิดได้แก่ ปุ๋ยคอก ประกอบด้วยอุจจาระ ปัสสาวะของสัตว์ต่างๆเช่นโค กระบือ สุกร ม้า เป็ด ไก่ เป็นต้น ปุ๋ยพืชสด เกิดจากการกลบไถพืชที่ปลูกอยู่ในแปลงซึ่งส่วนมากจะเป็นพืชตระกูลถั่วในขณะที่พืชนั้นกำลังเจริญเติบโตและยังสดอยู่ในระยะเริ่มออกดอก เมื่อถูกไถกลบแล้วก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน และปลดปล่อยแร่ธาตุออกมา ปุ๋ยหมัก ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์เหลือใช้ต่างๆมาหมักรวมกันแล้วปรับสภาพให้เกิดกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จนกระทั่งได้วัสดุที่มีความคงตัวและคงทนต่อการย่อยสลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีสีน้ำตาลปนดำ และไม่มีกลิ่น

 

บทที่ 3

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา มีดังนี้

1.       ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน

2.       เมล็ดพันธุ์พริก

3.       ปุ๋ยคอก

4.       ปุ๋ยหมัก

5.       ปุ๋ยพืชสด

6.       น้ำ

7.       บีกเกอร์

8.       บัวรดน้ำ

9.       กะละมังเก่า

10.   กระถาง

11.   เครื่องชั่งน้ำหนัก

12.   ไม้บรรทัด

วิธีการทดลอง

วิธีดำเนินการศึกษาปุ๋ยไส้เดือนดิน มีขั้นตอนดังนี้

1. เพื่อศึกษาการทำปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน

1.1  เตรียมกะละมังเก่าเจาะรูขนาด 0.3 เซนติเมตรห่างกันรูละ 1.5 เซนติเมตร โดยภายในกะละมังใส่ปุ๋ยคอกให้มีความหนาขนาด 5 เซนติเมตร

1.2   ใส่ไส้เดือนดินลงไปในกระบะจำนวน 200 ตัว

1.3   ฝังเศษผัก เศษอาหารลงในกะละมังเพื่อเป็นอาหารไส้เดือนดิน

1.4   พรมน้ำให้ทั่วกะละมัง หลังจากฝังเศษอาหารแล้ว

1.5  ให้อาหารไส้เดือนดิน (1.3และ 1.4 )เป็นประจำทุกๆ 5 วัน

1.6   สังเกตและบันทึกผลการทดลอง

2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของต้นพริกเมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ

     2.1 เตรียมดินในการปลูกเมล็ดพันธุ์ของพริกลงในกระถาง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มโดยแต่ละกลุ่มใส่ดินและปุ๋ยลงไป 5 กระถาง ดังนี้

                     กลุ่มที่ 1 ใส่ดินและปุ๋ยคอกในอัตรา 70:30

                     กลุ่มที่ 2 ใส่ดินและปุ๋ยหมักในอัตรา 70:30

                     กลุ่มที่ 3 ใส่ดินและปุ๋ยพืชสดในอัตรา 70:30

                     กลุ่มที่ 4 ใส่ดินและปุ๋ยมูลไส้เดือนดินในอัตรา 70:30

                     เสร็จแล้วทิ้งไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์

 

2.2   ใส่เมล็ดพันธุ์พริกลงไป ในแต่ละกระถางๆละ 1 ต้น รดน้ำทุกๆวันในปริมาณที่เท่ากัน

2.3   นำแต่ละกระถางไปวางไว้ในบริเวณเดียวกันที่มีแสงแดดรำไร

2.4   ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆลงไปในกระถาง โดยในแต่ละสัปดาห์ใส่ปุ๋ยลงไป 1 ครั้งในปริมาณ 50กรัม ดังนี้   

 

                         กลุ่มที่ 1 ใส่ปุ๋ยคอกกระถางละ 50 กรัม

                         กลุ่มที่ 2 ใส่ปุ๋ยหมักกระถางละ 50 กรัม

                         กลุ่มที่ 3 ใส่ปุ๋ยพืชกระถางละ 50 กรัม

                         กลุ่มที่ 4 ใส่ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินกระถางละ50 กรัม

2.5   วัดอัตราการเจริญเติบโตของต้นพริกในทุกๆสัปดาห์

2.6   เปรียบเทียบน้ำหนักผลของพริกในแต่ละกลุ่มการทดลอง

2.7  บันทึกผลการทดลอง

 บทที่ 4

ผลการทดลองที่ 1

 ศึกษาการทำปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน

     จากการนำไส้เดือนมาเลี้ยง มีการให้อาหารด้วยเศษผัก เศษอาหารทุกๆ 5 วัน แล้วสังเกตผลปรากฏว่าไส้เดือนมีการกินอาหารแล้วขึ้นมาขับถ่ายมูลไว้ด้านบนผิวของกะละมังมีลักษณะเป็นก้อนวงรีเล็กๆ สีดำ ร่วนซุยไม่จับ ตัวกันเป็นก้อน ไม่มีกลิ่น

ผลการทดลองที่ 2

ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนดินกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น

1. จากผลการทดลองพบว่า อัตราการเจริญเติบโตทางด้านความสูงของต้นพริกเมื่อใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยมูลไส้เดือนดินไม่มีความแตกต่างกัน มีค่าความสูงใกล้เคียง จึงคิดว่าปุ๋ยไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสูงของต้นพริก

2. จากผลการทดลองพบว่า อัตราการเจริญเติบโตและลักษณะของใบและลำต้นของต้นพริก กลุ่มที่ใช้ปุ๋ยจากมูลไส้เดือนดินมีขนาดใหญ่ และใบมีขนาดใหญ่และหนามากกว่ากลุ่มที่ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด

3. จากผลการทดลองพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของผลพริก กลุ่มที่ใช้ปุ๋ยจากมูลไส้เดือนดินมีน้ำหนักมากที่สุดคือ 75.00 กรัมรองลงมาคือน้ำหนักของผลพริกจากการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดใกล้เคียงกันคือ 53.33,51.67และ51.67กรัม ตามลำดับ

บทที่ 5

อภิปรายผลการทดลอง

          จากผลการทดลอง พบว่าปุ๋ยมูลไส้เดือนดินทำให้อัตราการเจริญเติบโตของต้นพริกดีกว่าปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น ดังนั้นปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจึงเป็นปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพดีกว่าอินทรีย์ชนิดอื่น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ดังนี้

1.       มูลไส้เดือนดินที่ได้จากการขับถ่ายของไส้เดือนดินที่กินอาหารจำพวกอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายแล้วทำให้มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยให้ประโยชน์แก่พืชได้

2.       ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินมีความสามารถในการช่วยให้ต้นพริกสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสด ซึ่งสามารถวัดได้การทดลองวัดอัตราการเจริญเติบโตของลำต้น ลักษณะใบ และน้ำหนักของผลพริกซึ่งกลุ่มที่ใช้ปุ๋ยจากไส้เดือนดินมีน้ำหนักมากที่สุดคือ 75.00 กรัม รองลงมาคือน้ำหนักของผลพริกจากการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดใกล้เคียงกันคือ 53.33,51.67 และ51.67กรัมตามลำดับ

               

    ประโยชน์ของโครงงาน

1.       เป็นแนวในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพดีไว้ใช้ได้เองในครัวเรือน

2.       สามารถทำเป็นธุรกิจเพื่อหารายได้เสริมได้

3.       ปุ๋ยมูลไส้เดือนช่วยบำรุงและปรับสภาพโครงสร้างของดิน

4.       สามารถลดต้นทุนการผลิตในการเกษตร เนื่องจากหาได้เองตามธรรมชาติเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

 

     ข้อเสนอแนะ

1.    ควรทดลองมูลไส้เดือนดินไปทำอย่างอื่น เช่น ทำเป็นน้ำหมักชีวภาพกับพืชชนิดต่างๆ หรือทดลองปุ๋ยมูลไส้เดือนดินกับพืชที่กินใบ ลำต้น หัว เพื่อจะได้ทดสอบประโยชน์ของปุ๋ยได้เพิ่มขึ้น

2.       ควรศึกษาสายพันธุ์ของไส้เดือนดินแต่ละชนิดว่ามีประสิทธิภาพเหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 226507เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2008 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีครับอาจารย์  ที่ทำงานกำลังสนใจเรื่องปุ๋ยจากใส้เดือนอยู่พอดีขอบคุณสำหรับผลการศึกษา  อยากทราบว่ามูลของใส้เดือนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ได้นำใส้เดือนมาเลี้ยงแต่มันเกิดขึ้นเอง จะเหมือนกันหรือไม่  ขอบคุณครับ

ผมก็ใช้ไส้เดือนดินเหมือนกัน แต่มันย่อยช้าไปหน่อยล่ะครับ ไม่ได้ทำเป็นปุ๋ยเอาไว้แค่ย่อยสลายเศษหญ้าเท่านั้น แต่ตอนนี้ย่อยไม่ทันเลยต้องใช้วิธีเผาล่ะครับ

แต่เป็นการเริ่มต้นทดลองที่ถือว่าดีมากๆ ครับ ใช้วิธีธรรมชาติ

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมคะ สำหรับคำถามที่ถามว่า มูลไส้เดือนดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเหมือนกับไส้เดือนที่เลี้ยงหรือเปล่า ก็ขอตอบว่า มีประโยชน์เหมือนกันคะคือช่วยในการเจริญเติบโตของต้นพืชแต่แตกต่างกันที่การนำมาใช้ประโยชน์และอาหารที่ไส้เดือนนำมากินคือถ้าเป็นไส้เดือนที่เลี้ยงผู้เลี้ยงมักให้อาหารที่มีสารที่ให้ประโยชน์ ส่วนไส้เดือนตามธรรมชาติก็กินอาหารตามแหล่งที่อยู่อาศัยเท่านั้นคะ ถ้ามีปัญหาอะไรก็แวะเวียนมาถามได้นะคะ ยินดีตอบทุกคำถามเลยคะ

คนดีของสังคม (ผู้ก่อการดี<D+>

เก่ง

การทำ ปุ๋ยจากมูลไส้เดือนดิน สามารถทำให้เกษรกรมีรายได้โดยไม่ต้องใช้เงินชื้อ

ผมกำลังเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์อัฟริกันเป็นอาชีพเสริมเพื่อจะนำมูลไส้เดือนดินมาส่งให้กลับสวนไม้ดอกไม้ประดับ พอดีมาพบข้อมูลการทดลองของอาจาร์ยจึงยืนยันว่าปุ๋ยที่มาจากมูลไส้เดือนนั้นตรงกับการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตร ถ้าใครสนใจติดต่อมาได้ครับ 08 18688951

ขอเบอร์ติดต่อหน่อยครับ อยากทราบวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพครับ

ครูใบชาเอเอง ติณณภพ เดชบุญ อีเมลมาด้วย [email protected]

การทำปุ๋ยหมัก ที่ครูใบชาเคยสอนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ขอเมลด้วย

สวัสดีปีใหม่นะครูใบชา

สวัสดีปีใหม่จ๊ะ

หนูจะขึ้นม.1แล้วอยากลืมเรื่องเก่าๆไปให้หมด

อยากเลี้ยงใส้เดือนแต่ไม่กล้าจับ พยายามจะจับมันก็ยังจับไม่ได้

ครูครับขอต่อยอดโครงงานได้ไหมครับ

ครูครับ ขอต่อยอดโครงงานได้ไหมครับ

ถ้าครูอนุญาติกรุณาแสดงความคิดเห็นตอบกลับด้วยครับ

ครูไม่ได้เข้ามาดูเวปไซด์นี้ค่อนข้างนานทีเดียวแต่พอเห็นข้อความของทุกคนที่เข้ามาดูก็รู้สึกดีใจมาก และถ้าข้อมูลของครูมีประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้เลยไม่มีลิขสิทธิ์คะ

ครูจะนำไปบอกต่อนะคะตัวเอง

สวัสดีครูใบชา

ไม่ได้เข้ามานานครูใบชา

ตอนนี้อยู่ ม.3แล้วตรับ

เด็กโรงเรียนวัดกลาง

ครูใบชา ทั้งสวย ทั้งเก่งเด็กม.1ห้อง2ห้องครูอ้อมค่ะ

ครูใบชา ตัดผมให้ เอกพัน พกเพียรเท่มากเลยครูขา ปีหน้าหนูจะได้อยู่กับครูเเล้ว ไม่รู้ว่าครูจะอยู่หรือเปล่า อยากให้ครูอยู่กับพวกหนูไปนานๆนะคะ ไว้เจอกันวันจันทร์ ที่19กันยานะคะ บาย รักนะ

เออใช่คำว่า กวนตรีนs ช่วยบอกหนูที่ห้องม.1ห้อง2นะคะว่าเอามาจากไหน จุ๊บๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวยมากๆๆๆๆๆๆๆๆ

ขอบคุณครับ อาจารย์ ผมกำลังศึกษาวิจัยเรื่องนี้อยู่พอดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท