ระบบการบริหารความรู้ (Knowledge Management System : KMS)


      ‘ความรู้ใหม่ๆ มักจะเริ่มต้นที่แต่ละบุคคล นักค้นคว้าที่ฉลาดเฉลียวมีความสามารถที่จะมองและเข้าใจ

 

อย่างทะลุปรุโปร่ง ซึ่งจะนำไปสู่การการจดสิทธิบัตรใหม่ๆ สัญชาติญาณความรู้สึกเกี่ยวกับแนวโน้มทาง

 

การตลาดของผู้จัดการระดับกลาง กลายเป็นสิ่งเร่งเร้าไปสู่แนวคิดการผลิตสินค้าใหม่ๆที่สำคัญ คนงานสามารถดึงเอาประสบการณ์หลายปีของเขาขึ้นมาเป็นกระบวนการที่คิดค้นขึ้นใหม่ ความรู้ส่วนตัวของแต่ละบุคคลถูกส่งถ่ายไปเป็นความรู้ขององค์กร และมีคุณค่าต่อบริษัทโดยรวม

 

      ดังนั้น การบริหารความรู้ จึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์เชิงกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ บริษัทหลายแห่งกำลังสร้างระบบการบริหารความรู้ เพื่อใช้เรียนรู้การบริหารองค์กรและเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจ เป้าหมายของระบบบริหาร คือ ช่วยให้พนักงานที่มีความรู้ (Knowledge Workers) ได้สร้าง จัดระบบ และกระจายความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับธุรกิจ

       เพราะฉะนั้น ระบบการบริหารความรู้ ก็คือ ระบบข้อมูลที่ช่วยในการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์กรและสร้างสรรค์ความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมารวบรวมและแก้ไขปรับเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเข้าถึงคุณค่าของข้อมูล และแพร่กระจายข้อมูลภายในองค์กร ข้อมูลนั้นถูกนำไปประยุกต์เป็นระบบบริหารความรู้เพื่อการดำเนินธุรกิจ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า ระบบการเรียนรู้แบบประยุกต์ ( Adaptive Learning Systems ) หรือวงจรการเรียนรู้ (Learning Loops ) ขององค์กร ซึ่งการสร้างสรรค์ การกระจายความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ ทำให้เกิดขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้ใช้ได้ดีกับระบบการเรียนรู้แบบประยุกต์ของบริษัท
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2263เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2005 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท