อาจารย์ทวีศักดิ์
อาจารย์ อาจารย์ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ

รู้จักคำว่านันทนจิต


รู้จักคำว่านันทนจิต Leisure

คำว่านันทนจิตได้มาจากคำในภาษาลาติน licer ซึ่งหมายถึง การยอมหรืออนุญาต (permit or allow) Licer เป็นคำรากศัพท์ที่มาจากภาษาลาตินอันหมายถึง การอนุญาต (permission) ด้วย นี่คือ หลักฐานชิ้นสำคัญ และให้ความหมายนันทนจิตในฐานะการอนุญาต การยินยอมที่จะทำสิ่งใดตามความพอใจของแต่ละคน มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เขาเลือกและปล่อยอารมณ์ไปตามกิจกรรมที่เขาตั้งใจ ประสบการณ์นันทนจิตมี 3 องค์ประกอบหลักคือ

1.   อิสรภาพ ทำประสบการณ์นั้นด้วยความตั้งใจ เช่น การมีอิสรภาพที่จะขับรถไปชายหาดในวันอาทิตย์และอยู่ที่นั่นตราบเท่าที่ต้องการ แล้วก็กลับเมื่อรู้สึกเหนื่อย ถ้าทำงานเราจะไม่มีอิสระอย่างแท้จริงในการที่จะเลือกกิจกรรมนี้ระหว่างที่ทำงาน

2.   กิจกรรมไม่มีผลประโยชน์ คือ มิได้มาจากปัจจัยภายนอก เช่น นักฟุตบอลสมัครเล่นที่มิได้ทำเพื่อการแข่งขันหรือว่าเงิน

3.   ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ การทำกิจกรรมใด ๆ ที่ทำแล้วได้ประโยชน์ เช่น เราอาจไปออกกำลังกายที่ยิมเพื่อลดน้ำหนัก เพิ่มความแข็งแรง หรือเพื่อส่งเสริมความทนทาน

เพื่อให้เกิดความเข้าใจความหมายของประสบการณ์นันทนจิตที่ชัดแจ้งมากขึ้น จึงใคร่เสนอแนวคิดไปที่ 3 ประเด็นสำคัญต่อไปนี้

นันทนจิตในฐานะเวลาที่เหลืออยู่

นักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ พาร์คเกอร์ (Parker) ได้ระบุนันทนจิตในฐานะเวลาที่เหลืออยู่โดยถูกคิดคำนวณตามนี้ เริ่มต้นด้วย 24 ชั่วโมงๆต่อไปนี้ที่ไม่ถือว่าเป็นนันทนจิต การทำงาน การนอนหลับ การรับประทาน และความตั้งใจเพื่อความต้องการทางกาย เวลาที่เหลืออยู่หมายถึง เวลาที่นอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าว ในกรณีของนันทนจิต เวลาเพื่อการดำรงชีพ (existence) และเพื่อชีวิต (subsistence) เช่น การรับประทานอาหาร ภาพที่ 1.4 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลาเพื่อการดำรงชีพ เวลาเพื่อชีวิตและเวลาอิสระ อย่างที่เห็นว่ามีบางส่วนที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่าง 3 ประเภทนี้ เวลานั้นง่ายที่เราจะเข้าใจในฐานะโมงยาม วัน และสัปดาห์ ด้วยเหตุผลนี้นันทนจิตในบางครั้งจึงให้ความหมายในด้านเวลา

นันทนจิตในฐานะกิจกรรม

เป็นกิจกรรมที่มนุษย์เลือกทำในเวลาว่างของเขาจากความต้องการ ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายที่ไม่สุดสิ้นในกิจกรรมมนุษย์ แต่ก็มีลักษณะที่แน่นอนและทำเพื่อให้สดชื่น สนุกสนานขึ้น ในศตวรรษที่ 1960 ชิบูทานิ (Shibutani) นักจิตวิทยาสังคมเชื้อสายญี่ปุ่น-อเมริกัน ได้กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่สามารถวิเคราะห์มนุษย์ได้คือสิ่งที่เขาทำในเวลาว่าง

นันทนจิตในฐานภาวะทางจิต

นักวิชาการหลายท่านได้พิจารณาเกี่ยวกับความสำคัญด้านสภาวะทางจิตของมนุษย์ที่ให้กับประสบการณ์นันทนจิต นักวิชาการท่านหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่ตรงกันข้ามกับนันนทนจิต คือ หน้าที่ ดังนั้นในการที่จะเป็นนันทนจิตได้ต้องเป็นอิสระจากแรงบีบที่เป็นปัจจัยภายนอกในการที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเลือก นักวิชาการหลายท่านยังคงให้ความสำคัญกับการรับรู้ด้านอิสรภาพของมนุษย์ด้านแรงจูงใจ เงื่อนไข และทัศนคติต่อนันทนจิตมันเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะเข้าใจว่า สิ่งตรงข้ามนันทนจิตมิใช่งานแต่ คือ ภาระหน้าที่ หลายๆ ประสบการณ์ที่มิใช่งานหรือว่าเกี่ยวกับงานและซึ่งอาจจะเป็นความคิดในฐานะนันทนจิต นั่นมิใช่ประสบการณ์นันทนจิตอย่างแท้จริง เช่น นักฟุตบอลอาชีพมิได้อยู่ในสถานะนันทนจิต เมื่อเขาเข้าไปมีส่วนร่วมในเกมเพื่อรางวัลหรือการตอบแทนทางการเงิน บุคคลผู้ซึ่งถูกบีบบังคับให้ตัดหญ้าในสนามมิใช่เป็นงานแต่แน่นอนมันมิใช่นันทนจิต คำว่านันทนจิตจึงไม่สามาถใช้การได้ใน 2 กรณีนี้เหตุเพราะนันทนจิตต้องเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเวลาอิสระ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ ปรัชญาเกี่ยวกับการมีชีวิตและเหนือยิ่งกว่าอื่นใด คือสภาวะทางจิต 

อ้างอิง

ภูฟ้า  เสวกพันธ์.การพัฒนารูปแบบโปรแกรมนันทนจิตศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2549.

คำสำคัญ (Tags): #นันทนจิต
หมายเลขบันทึก: 226094เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • อะ..ตัวเล็กจัง...มองไม่ค่อยเห็น (แก่แล้ว)
  • แวะมาทักทายค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีดี

สวัสดีค่ะ 你好;

กำลังเรียน การจัดการท่องเที่ยวที่ไต้หวันค่ะ แต่ก็ยังมีหลายเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ

ใครบอกว่าเรียนท่องเที่ยวแล้วง่าย ไม่ง่ายเลยจริงๆๆ

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆ ที่บอกต่อค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท